ชาวนาพิจิตรทำพิธีรับขวัญท้องข้าวหอมมะลิพระราชทานสมเด็จพระเทพฯ

26 ต.ค. 61 นายธีทัต พิมพา วัฒนธรรมจังหวัดพิจิตร ได้เป็นประธานในพิธีรับขวัญท้องข้าวหอมมะลิ 105 พระราชทานที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีได้ทรงพระราชทานให้กับกองทัพภาคที่ 3 ได้นำมาให้ชาวนาจังหวัดพิจิตรจำนวน 359 คน เพื่อให้ทำการเพาะปลูกแบบเกษตรอินทรีย์ ในพื้นที่ 3,500 ไร่ ตามโครงการเดินตามรอยเท้าพ่อเกษตรอินทรีย์ ซึ่งชาวนาพิจิตรได้น้อมสนองพระราชดำริในการปลูกข้าวเกษตรอินทรีย์ ดังนั้นในวันนี้กลุ่มเกษตรกรในเครือข่ายสมาชิกสมาคมชาวนาตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงจังหวัดพิจิตร พร้อมด้วยส่วนราชการ ซึ่งประกอบด้วย นายธรรมนูญ แจ่มศรี เกษตรและสหกรณ์จังหวัดพิจิตร นายกิตติชาติ ชาติยานนท์ เกษตรจังหวัดพิจิตร , ผู้แทนนายอำเภอวชิรบารมี , ผู้แทน กอ.รนม.พิจิตร พร้อมด้วย พระเมธีธรรมประนาท “ท่านเจ้าคุณปรีชา” เจ้าคณะอำเภอเมืองพิจิตรและเกษตรกรรวมกว่า 100 คน จึงได้ร่วมกันจัดกิจกรรมรับขวัญท้องข้าวขึ้นที่บริเวณแปลงนาของเกษตรกรที่ ต.บ้านนา อ.วชิรบารมี จ.พิจิตร ทั้งนี้เพื่อปลุกจิตสำนึกให้ชาวนามีขวัญและกำลังใจในการปลูกข้าวแบบเกษตรอินทรีย์เพื่อให้ได้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ดีมีคุณภาพเพื่อการขยายพันธุ์ข้าวหอมมะลิ 105 พระราชทาน ไปสู่เกษตรกรรุ่นต่อๆไป อีกทั้งจะได้นำผลผลิตข้าวหอมมะลิ 105 พระราชทาน ที่เป็นข้าวเกษตรอินทรีย์นำไปสีแปรรูปเพื่อการจำหน่ายให้กับผู้บริโภคที่รักสุขภาพต่อไป สำหรับพิธีกรรม การรับขวัญท้องข้าว เป็นประเพณีโบราณที่เกือบจะสูญหายไป แต่ด้วยเกษตรกรกลุ่มนี้ต้องการปลุกฟื้นวิถีชีวิตชาวนาไทยแต่โบราณที่ผูกพันกันระหว่างศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ และการกตัญญูรู้คุณธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ล้วนเกื้อกูลกันเป็นเกษตรวิถีพุทธ โดยในพิธีกรรมเริ่มต้นจากพระสงฆ์แสดงธรรมเทศนาให้แง่คิดถึงความซื่อสัตย์ในการทำนาปลูกข้าว ถ้าทำแบบเกษตรอินทรีย์ก็จะเป็นการ ลด ละ เลิก การใช้สารเคมี ซึ่งเป็นเหมือนซื้อสารพิษมาฆ่าแมลง ฆ่าปลา ปู ในแหล่งน้ำ รวมถึง ฆ่าตัวเองและผู้บริโภค ที่ต้องบริโภคข้าวและพืชผักที่มีสารพิษ ซึ่ง พระเมธีธรรมประนาท “ท่านเจ้าคุณปรีชา” เจ้าคณะอำเภอเมืองพิจิตร กล่าวว่า ที่วัดท่าหลวงพระอารามหลวงเผาศพผู้เสียชีวิต 80% สาเหตุการตายเกิดจากโรคมะเร็ง ซึ่งก็มาจากอาหารการกินนั่นเอง หลังจากเสร็จพิธีกรรมทางศาสนา ชาวนาก็เข้าสู่พิธีกรรมรับขวัญท้องข้าวที่มีการแห่แหนขบวนสิ่งของที่ใช้ในการบูชาพระแม่โพสพ หรือ รับขวัญท้องข้าว จากนั้นพราหมณ์ในพิธีก็จะกล่าวเรียกขวัญแม่โพสพ ซึ่งเปรียบเสมือนสตรีที่กำลังตั้งครรภ์ ซึ่งก็มีอารมณ์แปรปรวนเช่นเดียวกับมนุษย์ ดังนั้นถ้าเกษตรกรไม่ใส่ใจผลผลิตที่ได้ก็จะไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย ดังนั้นการรับขวัญท้องข้าวจึงเป็นกุศโลบายมาตั้งแต่โบราณเพื่อให้ชาวนาได้ดูแลใส่ใจต้นข้าวที่ปลูกดังกล่าว สำหรับเครื่องบวงสรวงที่ใช้ในการรับขวัญท้องข้าวก็จะเป็นอาหารคาวหวานหรือผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวรวมถึงผ้าแพร ผ้าสไบ แป้ง น้ำหอม กระจก หวีและลิปสติก รวมถึงหวีที่ใช้ในการทำพิธีหวีใบข้าวเหมือนกับผู้หญิงที่รักสวยรักงามต้องหวีผม และสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ คือ ชาวบ้านต้องหาสร้อยทองคำมาทำเป็นสร้อยคล้องคอหรือคล้องที่ต้นข้าวเพื่อให้แม่โพสพมีความชื่นชอบจะได้ตั้งท้องออกรวงข้าวให้ชาวนาได้เก็บเกี่ยวผลผลิตเป็นกอบเป็นกำตามความเชื่อมาแต่โบราณดังกล่าว

ท่องเที่ยวและประเพณี

  • nppct
  • 12 ส.ค. 2566
  • 128

พิจิตรแถลงข่าวการจัดงานแข่งขันเรือยาวชิงถ้วยพระราชทานฯ

วันที่ 11 สิงหาคม 2566 ที่โรงเรียนหลวงพ่อเพชรวิทยา อ.เมืองพิจิตร นายพยนต์ อัศวพิชยนต์ ผู้ว่าฯพิจิตร พร้อมด้วยพระเมธีธรรมประนาท ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดท่าหลวง พระอารามหลวง เจ้าคณะอำเภอเมืองพิจิตร , นางสาวส

อ่านต่อ...
ททท.คลายร้อนให้ชาวพิจิตรจัดสงกรานต์สุดมันส์ ในงาน “Amazing Songkran Festival Phichit 2023” ณ บึงสีไฟ (14 เม.ย. 2566) ผู้ว่าฯพิจิตร แถลงจำใจต้องเลื่อนการจัดงานนมัสการหลวงพ่อเพชรเหตุโควิดระบาด (11 ม.ค. 2565) พาเที่ยวพิจิตรชมทายาทพญาชาละวันนอนอาบแดดอวดโฉมต้อนรับนักท่องเที่ยว (6 ธ.ค. 2564) วัดหลวงพ่อเงินบางคลานเชิญชวนนักสะสมพระเครื่องร่วมเวทีเสวนาส่องพระจริงหรือปลอมดูอย่างไร (5 พ.ย. 2563) วัดหลวงพ่อเงินบางคลานนักท่องเที่ยวคึกคักแห่ทำบุญไหว้พระขอพร (4 ต.ค. 2563) วัดหิรัญญารามประกาศเลื่อนการจัดงานประจำปีปิดทองไหว้พระหลวงพ่อเงินบางคลาน (23 ก.ย. 2563) พิจิตรไฟไหม้อาคารร้านค้าหลังคามุงแฝกตลาดน้ำคลองข้าวตอกดงกลาง (20 ส.ค. 2563) ท่องเที่ยวหน้าฝนชมดอกกระเจียวบานที่บ้านเขาโล้นเมืองชาละวัน (15 ส.ค. 2563) พิจิตรจัดงานมาตุ้มโฮมไทดำสืบสานวัฒนธรรมประเพณี (25 ก.พ. 2563) อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์หลวงพ่อเหลือวัดหงษ์ วันเพ็ญเดือน 4 ศิษยานุศิษย์นับหมื่นพร้อมใจจัดงานแก้บน (18 ก.พ. 2563)