พิจิตรเกษตรกรหัวก้าวหน้าบอกลาการทำนาใช้พื้นที่2ไร่ปลูกเมล่อนยืนยันทุก20วันมีรายได้1แสนบาท

นายสมศักดิ์ บางแดง อายุ 60 ปี อยู่บ้านเลขที่ 33 หมู่ 7 บ้านมาบแฟบ ต.เนินปอ อ.สามง่าม จ.พิจิตร ซึ่งเป็นเกษตรกรหัวก้าวหน้ารายแรกของหมู่บ้านที่กล้าเปลี่ยนแปลงจากการทำนาหันมาปลูกเมล่อนในโรงเรือน เล่าให้ฟังว่า ชีวิตเติบโตมากับท้องไร่ท้องนาที่บ้านมีนา 20 ไร่ ใช้ชีวิตเป็นชาวนาที่ใครๆก็สรรเสริญว่า เป็นกระดูกสันหลังของชาติ แต่ทุกคนจะรู้บ้างไหมว่า การเป็นชาวนานั้นมันสุดแสนจะลำบากชีวิตมีแต่หนี้สินราคาข้าวก็ตกต่ำเคยคิดหลายสิบครั้งว่าจะเลิกทำนาแต่ด้วยความที่ไม่มีความรู้จึงไม่รู้ว่า ถ้าเลิกทำนาแล้วจะไปทำมาหากินอะไร จนกระทั่งเมื่อปี 2558 ลูกเขยและลูกสาวที่ทำงานอยู่ในกรุงเทพมีความรู้เรื่องการค้าพืชผักและผลไม้มาให้คำแนะนำว่า อยากให้พ่อเลิกทำนาแล้วหันมาปลูกเมล่อน “ลุงสมศักดิ์” ซึ่งใช้ชีวิตอยู่กลางท้องนามาเกือบตลอดชีวิต “เมล่อน” มีรูปร่างหน้าตาหรือรสชาติอย่างไร?ก็ไม่เคยรู้จัก ลูกสาวและลูกเขยก็ซื้อ “เมล่อน” จากกรุงเทพมาให้ลองชิม ซึ่งรสชาติทั้งหวาน กรอบ อร่อย ลูกๆบอกว่าผลไม้ชนิดนี้ในกรุงเทพขายอยู่ลูกละเกือบ 200-300 บาท ถ้าเราปลูกได้มีตลาดรับซื้อแน่นอนเพราะเป็นผลไม้ของผู้รักสุขภาพ “ลุงสมศักดิ์” จึงใช้เวลาศึกษาหาความรู้ โดยมีลูกสาวและลูกเขยเป็นติวเตอร์จากนั้นก็ลงมือปลูกเมล่อนในพื้นที่ 2 งาน ซึ่งก็เป็นพื้นที่ที่เคยเป็นทุ่งนานั่นแหล่ะ ซึ่งก็ลองผิดลองถูก ผลปรากฏว่าประสบความสำเร็จ มีรายได้หลายหมื่นบาท ถ้าเปรียบเทียบแล้วก็ดีกว่าทำนา 10 ไร่ เมื่อได้ความรู้เช่นนั้นก็เริ่มทำการต่อยอดสร้างโรงเรือนหลังแรกเพื่อ ปลูกเมล่อนในโรงเรือนขนาดกว้าง 6 X 36 เมตร ลงทุน 120,000 บาท ปลูกเมล่อนได้ 750 ต้นใช้เวลา 90วัน ก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตขายได้ในราคากิโลกรัมละ 70 บาท ใช้แรงงานคนในครอบครัวเพียงแค่ 3-4 คนเท่านั้น การปลูกเมล่อนในโรงเรือน 1 หลัง การลงทุนค่าเมล็ดพันธุ์เมล่อนบวกกับค่าปุ๋ย ค่ายา ก็ประมาณ 5,000 บาท ถ้าคิดค่าแรงของคนในครอบครัวใส่เข้าไปด้วยอีก 10,000 บาท ก็คิดเสียว่าลงทุนประมาณ 15,000 บาท เมล่อนในโรงเรือน 90 วันตัดขาย 1 ครั้ง ได้ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 700 ผล แต่ละผลน้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 2 กิโลกรัม ราคาขายส่งกิโลกรัมละ 70 บาท ( 700x2x70 = 98,000 บาท ) มีรายได้เกือบ 100,000 บาท ชัวร์ๆ “ลุงสมศักดิ์” เล่าต่ออีกว่า หลังจากมีประสบการณ์และมองเห็นช่องทางรายได้และตลาดที่มั่นคง จึงตัดสินใจเลิกทำนาอย่างเด็ดขาด นาที่มีก็ให้คนอื่นเค้าเช่าเหลือพื้นที่ไว้แค่เพียง 2 ไร่ กับบ่อน้ำขนาด 2 งาน อีก 1 บ่อเท่านั้น จากนั้นก็หาแหล่งเงินทุนแล้วสร้างขยายโรงเรือน ซึ่งทุกกวันนี้ปลูกเมล่อนในโรงเรือนรวมแล้ว 8 โรงเรือน ซึ่งทำให้สามารถสลับสับเปลี่ยนในการเก็บผลผลิตป้อนสู่ตลาดได้ทุกๆ 20 วัน ซึ่งในการเก็บผลผลิตขายแต่ละคราวก็จะได้เงินเกือบแสนบาท สำหรับตลาดที่ขายผลผลิตนั้นมี 3 ช่องทาง คือ ช่องทางที่ 1 ลูกสาวและลูกเขยที่อยู่ในกรุงเทพ ประสานงานติดต่อขายผ่านบริษัทตัวแทนที่รับซื้อผลผลิตป้อนเข้าห้างสรรพสินค้าดังๆหลายแห่งในกรุงเทพ ซึ่งมีการรับซื้ออย่างต่อเนื่องตลอด 3 ปีที่ผ่านมา การเงินมั่นคง แต่ผลผลิตต้องได้มาตรฐานตามที่ผู้ซื้อกำหนด การตลาดช่องทางที่ 2 นำผลผลิตมาขายด้วยตนเองที่บริเวณตลาดนัดเกษตรกรหน้าสำนักงานเกษตรจังหวัดพิจิตร ในทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี การตลาดช่องทางที่ 3 คือนำไปจำหน่ายที่ห้างท็อปส์พลาซ่าพิจิตร “ลุงสมศักดิ์”กล่าวทิ้งท้ายว่า ในอดีตทำนามีแต่หนี้สินทุกวันนี้ลืมตาอ้าปากได้ก็เพราะเลิกทำนาแล้วหันมาปลูกเมล่อน ดังนั้นจึงอยากเชิญชวนพี่น้องชาวนาพิจิตรและชาวนาไทยควรคิดวิธีการดำเนินชีวิตที่นอกเหนือจากการทำนา ซึ่งการปลูกเมล่อนก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่น่าสนใจ ซึ่งถ้าหากท่านใดต้องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ดูงานหรืออยากมาฝึกใช้ชีวิตจริงในการปลูกเมล่อน “ลุงสมศักดิ์” ยืนยันว่า ไม่หลวงวิชา สามารถมาเรียนรู้ด้วยกันได้ สนใจต้องการซื้อเมล่อนหรือจะมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้สามารถติดต่อได้ที่ “ลุงสมศักดิ์” 089-6415176 , คุณรามลูกเขย 081-2794242

อื่นๆ

  • nppct
  • 15 ต.ค. 2566
  • 128

วินัย ส.ส.พิจิตรเขต2นำทีมแจกถุงยังชีพผู้ประสบภัย10อำเภอ3,084ชุด

วันเสาร์ที่ 14 ตุลาคม 2566 นายวินัย ภัทรประสิทธิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพิจิตร เขต 2 นายสิงหราช วงษ์เสงี่ยม รองผู้ว่าฯ พิจิตร รักษาราชการแทน ผู้ว่าฯ พิจิตร และ ปภ.พิจิตร , ส่วนราชการ ได้ร่วมกันนำถุงยังช

อ่านต่อ...
กรมชลประทานโชว์ผลงานงบ515ล้านก่อสร้างปตร.ท่านางงามเชื่อมั่นปี67นาข้าวกว่า5หมื่นไร่ลุ่มน้ำยมมีน้ำอุดมสมบูรณ์ (16 มิ.ย. 2566) อธิบดีกรมการค้าภายในบุกเมืองชาละวันเปิดงานมหกรรมสินค้าราคาประหยัดลดสูงสุดถึง 70% (27 ม.ค. 2566) สสจ.พิจิตรสั่งลุยกำจัดลูกน้ำยุงลายหลังน้ำลดเหตุเกิดไข้เลือดออกตาย1ป่วย111ราย (31 ต.ค. 2565) โรงไฟฟ้านิคมอุตสาหกรรมพิจิตรหนุนงบจ้างครูช่วยโรงเรียนรอบโรงงาน (2 ก.ค. 2565) ผู้ว่าฯพิจิตร นำจิตอาสาพัฒนาแหล่งน้ำเฉลิมพระเกียรติพระราชินี (3 มิ.ย. 2565) แม่น้ำยมพิจิตรอนาคตแจ่มใสกรมชลฯทุ่มงบ580ล้านบาทสร้างประตูระบายน้ำแบบขั้นบันได (24 พ.ค. 2565) ป.ป.ท.เขต 6 ตรวจเข้มงบ649ล้านกรมทางหลวงสร้างถนนพิจิตร-สากเหล็ก (22 พ.ค. 2565) กรมชลประทานสั่งเร่งสร้างประตูระบายน้ำท่าแหแม่น้ำยมกักเก็บน้ำเพื่อเกษตรกร2จังหวัด (12 พ.ค. 2565) โรงไฟฟ้านิคมอุตสาหกรรมพิจิตรกิจกรรมCSRมอบถุงปันสุขช่วยชาวบ้านสู้วิกฤตโควิด (12 พ.ค. 2565) ผู้ว่าฯเดี่ยว คนเก่ง แห่งเมืองชาละวัน นายไพบูลย์ ณะบุตรจอม เข้ารับรางวัลศิษย์เก่าดีเด่น มจพ. ประจำปี 2564 (7 พ.ค. 2565)