ผู้ตรวจกระทรวงพลังงานชี้นักลงทุนทุ่มเงิน2,500ล้านสร้างโรงไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงแปรรูปRDFในนิคมอุตสาหกรรมพิจิตร

27 ก.พ. 62 นายทวารัฐ สูตะบุตร ผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงาน เขต 18 ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าของการส่งเสริมเรื่องพลังงานทดแทน ซึ่งกำลังเป็นนโยบายของรัฐบาล โดยได้เดินทางไปที่นิคมอุตสาหกรรมพิจิตรภาคเหนือตอนล่าง โดยมี นายยงยศ วุฑฒิโกวิทย์ พลังงานจังหวัดพิจิตร, นายวิโรจน์ เรืองเลิศศิลป์ ผอ.สนง.นิคมอุตสาหกรรมพิจิตรภาคเหนือตอนล่าง และผู้ประกอบการร่วมให้การต้อนรับและบรรยายสรุปให้รับทราบว่านิคมอุตสาหกรรมจังหวัดพิจิตรมีพื้นที่ 2,088 ไร่ ซึ่งเมื่อก่อนหน้านี้มีผู้ประกอบการอยู่ในพื้นที่แค่ 10 ราย จากนั้นช่วงปี 2560 จนถึงวันนี้มีผู้ประกอบการสนใจมาลงทุนเพิ่มขึ้นรวมแล้วเป็น 18 ราย ซึ่งประกอบด้วยโรงงานไฟฟ้า 5 ราย , บริษัทผลิตเครื่องสำอาง 1 ราย , บริษัทผลิตถังพลาสติก 1 ราย , บริษัทผลิตเครื่องประดับ 1 ราย รวมเป็นเงินลงทุนหลายพันล้านบาท ซึ่งหลังจากเสร็จสิ้นการประชุมได้เดินทางลงดูพื้นที่การก่อสร้างโรงงานผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงแปรรูป RDF ( Refuse-Derived Fuel ) ที่กำลังก่อสร้างอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมพิจิตร ซึ่งประกอบด้วย บริษัท ซุปเปอร์ เอิร์ธ เอ็นเนอร์ยี 6 จำกัด , บริษัท ศแบงยั่งยืน พิจิตร จำกัด , บริษัท เอวา แกรนด์ เอ็นเนอร์ยี จำกัด ซึ่งทั้ง 3 โรงไฟฟ้านี้ กำลังดำเนินการก่อสร้างไปแล้วกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ ใช้เงินในการลงทุนประมาณ 2,500 ล้านบาท ซึ่ง นายทวารัฐ สูตะบุตร ผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงาน เขต 18 ได้ให้สัมภาษณ์เปิดเผยว่า “การจัดการขยะถือเป็นวาระแห่งชาติ และเป็นส่วนสนับสนุนระบบเศรษฐกิจใหม่ ที่เรียกว่า เศรษฐกิจชีวภาพหมุนเวียน หรือ Bio Circular Economy ที่เป็นนโยบายของรัฐบาลในการกำจัดขยะ ซึ่งเป็นการเอาสิ่งที่ไม่ใช้แล้วกลับมาให้มีมูลค่ามากขึ้น ส่วนหนึ่งที่กระทรวงพลังงานจะสนับสนุนเรื่องนี้ได้ ก็คือการส่งเสริมโรงไฟฟ้าที่สามารถกำจัดขยะเหล่านั้นได้ ซึ่งมีทั้งโรงไฟฟ้าขยะชุมชน และ โรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรม ซึ่งการนิคมอุตสาหกรรมพิจิตรแห่งนี้ถือได้ว่าเป็นโมเดลหรือต้นแบบแห่งแรกที่มีโรงไฟฟ้าทั้ง 2 รูปแบบ ซึ่งเป็นการใช้เทคโนโลยีใหม่ที่เป็นกลยุทธ์ ที่ตั้งใจอยากจะให้มีการกำจัดขยะในรูปแบบนี้ทั่วประเทศ ก็คือ การแยกจัดทำขยะเป็นก้อนหรือที่เรียกว่า RDF ที่ย่อมาจาก Refuse-Derived Fuel คือการนำขยะมาจัดการให้เป็นเชื้อเพลิงโดยทำออกมาเป็นก้อนหรือขยะที่พร้อมใช้ทำเป็นเชื้อเพลิงไฟฟ้าได้ การจัดการขยะรูปแบบนี้สามารถทำได้หลายรูปแบบ โดยสามารถทำเป็นยุ้งฉางแล้วแยกเอาส่วนที่เน่าเสียที่เป็นขยะอินทรีย์ออกต่างหาก ขยะที่เหลือจากขยะอินทรีย์ก็คือ วัสดุเหลือใช้ เหลือทิ้ง เช่น เศษกระดาษ,เศษไม้ , เศษผ้า , เศษพลาสติก ,เศษหนัง , เศษยาง ( ยกเว้นเศษยางรถยนต์ ) ซึ่งสามารถนำมาเป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าได้ ซึ่งในนิคมอุตสาหกรรมพิจิตร มีโรงไฟฟ้าลงมือก่อสร้างแล้ว 3 โรง การลงมาติดตามก็เพื่อให้โรงไฟฟ้าที่ก่อสร้างเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกระทรวงพลังงานและกระทรวงอุตสาหกรรม โดยเฉพาะการดูแลสภาพแวดล้อม , การก่อสร้างให้เป็นไปตามข้อกำหนดและระเบียบต่างๆ ซึ่งท้ายที่สุด นายทวารัฐ สูตะบุตร ผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงาน เขต 18 กล่าวทิ้งท้ายว่าทิศทางเรื่องพลังงานประเทศไทยกำลังแยกไลน์เป็นโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนที่มีมากขึ้นและมีหลายขนาด ซึ่งนิคมอุตสาหกรรมพิจิตร ถือเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ ที่กำลังเนื้อหอมเป็นที่จับตามองของนักลงทุนที่จะมาลงทุนสร้างธุรกิจเกี่ยวกับเรื่องพลังงานดังกล่าวนี้อีกด้วย ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า...สำหรับการก่อสร้างโรงไฟฟ้า RDF ( Refuse-Derived Fuel ) ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมพิจิตรปัจจุบันนี้กลับได้รับการสนับสนุนจากประชาชนและผู้นำชุมชนที่อยู่รอบข้าง เนื่องจากมีการทำความเข้าใจแล้วว่าโรงไฟฟ้าไม่มีการปล่อยของเสียทั้งน้ำและอากาศ อีกทั้งขยะที่หลายๆคนหวาดกลัวว่าจะเป็นของเน่าของเสีย แท้ที่จริงแล้วคือ เศษวัสดุ 6 อย่างจากโรงงานที่อัดมาเป็นก้อนใส่รถบรรทุกมาจากที่อื่นเพื่อนำมาเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้า ไม่ใช่เอารถบรรทุกขยะหรือการนำเอาขยะมาเทอัดเป็นก้อนอย่างที่หลายๆคนต่างเข้าใจผิด และออกมาต่อต้าน แต่เมื่อได้ไปเรียนรู้ดูงานก็เข้าใจถึงผลประโยชน์ที่ชุมชนจะได้รับทั้งทางตรงและทางอ้อม จึงเป็นเหตุให้การนิคมอุตสาหกรรมพิจิตรกลายเป็นพื้นที่ Safety Sone น่าสนใจและน่าลงทุนในเรื่องดังกล่าว

ข่าวทั่วไป

  • nppct
  • 11 เม.ย. 2568
  • 172

กอ.รมน.- ตำรวจ.-ปกครองพิจิตร ตรวจสถานบันเทิงยามราตรีต้อนรับเทศกาล สงกรานต์ท่องเที่ยวปลอดภัย

เมื่อคืนที่ผ่านมา พ.อ.สัมฤทธิ์ ฉัตรวัฒนาสกุล รอง ผอ.รมน.จังหวัด พ.จ.(ท.) มอบหมายให้ พ.ต.รณชัย ประจันสี หน.ชุด ชรต.307 กอ.รมน.จังหวัด พ.จ. พร้อมด้วยกำลังพล กอ.รมน.จังหวัด พ.จ. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยว

อ่านต่อ...
กอ.รมน.พิจิตรชื่นชมเกณฑ์ทหารหนุ่มเมืองชาละวัน2อำเภอ35คนสมัครใจรับใช้ชาติ (5 เม.ย. 2568) เหตุแผ่นดินไหวจระเข้นับร้อยตัวที่พิจิตรยังอยู่ดีไม่ต้องห่วง บ่อเลี้ยงยังมั่นคงและปลอดภัยไม่ได้รับผลกระทบใดๆ (30 มี.ค. 2568) กู้ภัยชาละวันช่วยชีวิตหนุ่มจดมิเตอร์ไฟตกบ่อน้ำบาดาลหนำซ้ำเจองูเห่าที่ก้นบ่อรอดชีวิตหวุดหวิด (23 มี.ค. 2568) ผู้ว่าฯ พิจิตร สั่งพาณิชย์จังหวัดแจ้งความดำเนินคดีท่าข้าวโกงชาวนา (21 มี.ค. 2568) พิจิตรอัยการสคช.ใช้กฎหมายเจรจาทวงหนี้ช่วยชาวนาขายข้าวแล้วไม่ได้เงินไกล่เกลี่ยลงตัวยอมผ่อนจ่าย (9 ก.พ. 2568) โรงไฟฟ้าซุปเปอร์เอิร์ธเอนเนอร์ยี6ที่ตั้งอยู่ภาพในนิคมอุตสาหกรรมพิจิตรใส่ใจสิ่งแวดล้อมเป็นมิตรกับชุมชน (26 ม.ค. 2568) โรงไฟฟ้าซุปเปอร์เอิร์ธเอนเนอร์ยี6ใส่ใจสิ่งแวดล้อมเป็นมิตรกับชุมชน (6 เม.ย. 2567) กรมชลประทานโชว์ผลงานงบ515ล้านก่อสร้างปตร.ท่านางงามส่งผลนาข้าว5หมื่นไร่ลุ่มน้ำยมอุดมสมบูรณ์ (20 ก.ค. 2566) กรมชลประทานชี้แจงเร่งแก้ปัญหางานก่อสร้างปตร.วังจิกในแม่น้ำยม (19 มิ.ย. 2566) รองอธิบดีกรมชลประทานลงพื้นที่พิจิตรเร่งงานโครงการก่อสร้างประตูระบายน้ำคลองมาบขานาง (11 พ.ค. 2566)