พิจิตรคู่รักบัณฑิตจบปริญญาโทหันหลังให้เมืองหลวงเดินตามรอยพ่อใช้ชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

นายสนั่น คุยสี อายุ 46 ปี และ นางสมพิศ คุยสี อายุ 44 ปี สองสามีภรรยาที่ปัจจุบันนี้ประกอบอาชีพเกษตรกรรรม อยู่ที่บ้านเลขที่ 55 หมู่ 10 บ้านหนองกรด ต.สากเหล็ก อ.สากเหล็ก จ.พิจิตร เล่าถึงชีวิตที่ผกผันจากมนุษย์เงินเดือนเมืองกรุงที่ต้องเปลี่ยนชีวิตมาเป็นเกษตรกร ว่า ก่อนหน้านั้น นายสนั่นผู้เป็นสามี เรียนจบปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีไฟฟ้าอุตสาหกรรม ล่าสุดก่อนจะมาเป็นเกษตรกรเป็นผู้จัดการคอนโดมิเนียมในกรุงเทพ ได้เงินเดือน 2,2000 บาท ส่วน นางสมพิศ ( ภรรยา ) เรียนจบปริญญาตรี สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ จบปริญญาโทสาขาMBA การจัดการธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ล่าสุดก่อนจะมาเป็นเกษตรกรเป็น พนักงานราชการของมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งหนึ่งได้เงินเดือน 36,000 บาท คู่รักบัณฑิตเล่าต่อว่า การใช้ชีวิตในเมืองกรุงมองผิวเผินอาจจะดูสนุกและท้าทายมีรายได้ดีแต่เบื้องหลัง คือความเครียดและการแข่งขันในชีวิตประจำวัน ทุกคนมุ่งแต่การทำงานที่ต้องการจะได้เงินเยอะๆ แต่ลืมดูแลเรื่องอาหารการกินและสุขภาพจนในที่สุด นางสมพิศ (ภรรยา ) ก็ป่วยเป็นโรคเส้นเลือดดำอุดตันในสมอง มีอาการเหมือนคนเป็นอัมพฤกษ์ครึ่งซีก เงินทองที่ได้มากลับไร้คุณค่าเมื่อต้องแลกกับสุขภาพวิ่งเข้า-ออก โรงพยาบาลเกือบแทบทุกวัน จนในที่สุดก็ตัดสินใจว่าจะต้องค้นหาความสุขมากว่าค้นหาเงินทอง พ.ศ.2555 นายสนั่น ( สามี ) จึงตัดสินใจลาออกจากงานเดินทางกลับบ้านเกิดที่จังหวัดพิจิตร ซึ่งมีที่ดินเป็นมรดกตกทอดจากพ่อแม่จำนวน 14 ไร่ ซึ่งเป็นทุ่งนา จากนั้นก็ลงมือปรับพื้นที่ใช้เวลา 3 ปี เปลี่ยนจากทุ่งนาเป็นป่าไผ่ ป่าไม้เบญจพรรณ ไม้ผลยืนต้น ปลูกกล้วยและพืชผักสวนครัวพืชสมุนไพร และอื่นๆอีกมากมาย แต่ด้วยความที่เคยชินกับชีวิตเมืองกรุงที่จิตใต้สำนึกในช่วงนั้นมุ่งจะหาแต่เงินจนลืมคิดไปว่าการทำการเกษตรไม่ได้มีเส้นชัยที่จะเดินไปถึงได้ง่ายๆ เพราะมีขวากหนามและอุปสรรค มีผลผลิตก็ไม่มีตลาด มีตลาดสินค้าที่เรามีก็ราคาตกต่ำ ออกจากเมืองกรุงมุ่งสู่ท้องนา ขายบ้าน ขายคอนโด มีเงินสดมานับล้านบาทก็หมดสิ้น ลองผิดลองถูกขาดทุนแต่ก็ถือว่าเป็นค่าลงทะเบียนในการเรียนรู้ จนในที่สุดก็ตกผลึกความคิด ว่า “ในความไม่มีเราทำอะไรได้บ้าง” จากนั้นก็เริ่มต้นดำเนินการแบบใหม่ ซึ่งทุกวันนี้ได้ก้าวเข้าสู่ความมั่นคงทางด้านอาชีพการเกษตรแล้ว นายสนั่น ( สามี ) เล่าต่ออีกว่า ตนเองเป็นแนวหน้าใช้ชีวิตเกษตรกรเพื่อปรับตัวและทดลองใช้ชีวิตจริงในไร่นา นำหน้าภรรยาไปก่อน 3 - 4 ปี จากนั้นมั่นใจว่าการเดินตามรอยเท้าพ่อตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงด้วยการทำไร่นาสวนผสมก่อให้เกิดรายได้ พอกิน พออยู่ พอใช้ แต่ได้อากาศที่บริสุทธิ์ ได้สุขภาพ ได้ความสุขที่แท้จริง จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2560 นางสมพิศ ( ภรรยา ) จึงตัดสินใจลาออกจากการเป็นพนักงานราชการหันหลังให้เมืองกรุงมาใช้ชีวิตเป็นเกษตรกรจึงทำให้สุขภาพดีและแข็งแรงขึ้น นายสนั่น และ นางสมพิศ คู่รักบัณฑิตปริญญาโท ทุกวันพฤหัสบดีก็จะนำผลผลิตมานั่งขายที่ตลาดเกษตรกร ที่บริเวณหน้าสำนักงานเกษตรจังหวัดพิจิตร มีผลิตภัณฑ์ชิ้นหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ “ผงกล้วยน้ำว้าดิบ” ที่เกิดจากการฉุกคิดเรื่องของภูมิปัญญาชาวบ้านแต่โบราณรวมถึงแนวความคิดในการแก้ปัญหาผลผลิตล้นตลาดที่ตนเองปลูกกล้วยน้ำว้าไว้บนที่ดินประมาณ 400-500 ต้น พอถึงเวลามีผลผลิตมากๆ ก็ราคาตก จึงตัดสินใจนำมาแปรรูปเป็นผงกล้วยดิบบรรจุซองขาย กรรมวิธีการทำก็ไม่ได้ยุ่งยากแต่ก็มีเคล็ดลับนิดหน่อยที่บอกกันไม่ได้ เริ่มต้นจากคัดหากล้วยน้ำว้าดิบที่แก่จัดประมาณ 80% จากนั้นนำมาล้างยางกล้วยออกแล้วนำมาปอกเปลือกหั่นเป็นชิ้นๆนำเข้าเตาอบพลังงานแสงอาทิตย์จนแห้ง จากนั้นก็นำมาเข้าเครื่องบดยาสมุนไพรที่เป็นเครื่องปั่นด้วยระบบไฟฟ้าปั่นจนเป็นผงละเอียดแล้วนำใส่ตะแกรงร่อนจนได้ผงกล้วยที่ละเอียด ก็นำมาบรรจุซองขายปลีกในราคาซองละ 50 บาท ปริมาณ 150 กรัม แล้วนำไปชงในน้ำอุ่นดื่มกินจะได้ปริมาณ 10 แก้ว ผู้บริโภคที่รักสุขภาพที่ซื้อไปรับประทานเป็นอาหารเช้าแบบซีเรียล ( อาหารเช้าที่ทำจากธัญพืช ) นอกจากนี้ผงกล้วยดิบยังมีสรรพคุณ รักษาแผลในกระเพาะอาหารและรักษาอาการของโรคกรดไหลย้อน รวมถึงลดอาการท้องเสียตามแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน ได้อีกด้วย นอกจากนี้ผู้บริโภคก็ยังนำไปกินเป็นอาหารลดความอ้วน หรือนำไปเป็นส่วนผสมของเบเกอรี่เพื่อยืดอายุในการถนอมอาหาร สำหรับการนำ “ผงกล้วยน้ำว้าดิบ” ชงกับน้ำอุ่นก็สามารถเพิ่มรสชาติหรือปรุงแต่งให้อร่อยถูกปากได้ในหลายวิธี แต่วิธีที่ง่ายที่สุดคือเติมความหวานด้วย “ไซรัปกล้วย” ที่ นายสนั่น และ นางสมพิศ คู่รักบัณฑิตปริญญาโท ได้ทำขึ้นเอง โดยใช้กล้วยน้ำว้าที่แก่จัดๆจนเปลือกกล้วยมีสีดำคล้ำ นำมาหมักผสมกับน้ำตาลทรายแดงใช้ระยะเวลา 6 เดือน จากนั้นนำไปเคี่ยวบนเตาไฟ 4 ชั่วโมง จนได้เป็น “ไซรัปกล้วย” ก็จะทำให้รสชาติอร่อย จากชีวิต คู่รักบัณฑิตปริญญาโท ที่หันหลังให้เมืองกรุงและชีวิตมนุษย์เงินเดือนที่แสนจะสับสนวุ่นวายมีแต่ความเครียดเมื่อมาใช้ชีวิตเกษตรกรเดินตามรอยพ่อตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก มีมากเหลือกินก็แจกจ่ายเพื่อนบ้าน มีเหลือก็นำออกขายเป็นรายได้ ความรู้ที่มีก็แบ่งปันจึงเป็นการค้นพบความสำเร็จและความสุขที่ยิ่งใหญ่นั่นเอง นอกจากทำไร่นาสวนผสมปลูกผัก เลี้ยงปลา ทำนาข้าวแล้ว “คู่รักบัณฑิตปริญญาโท” ยังได้ทำกระท่อมหลังเล็กๆเพื่อให้เป็นที่พักของผู้ที่อยากสัมผัสชีวิตติดดินใกล้ชิดธรรมชาติในรูปแบบฟาร์มเมอร์สเตย์ อีกด้วย สนใจผลิตภัณฑ์ “ผงกล้วยน้ำว้าดิบ” หรือ อยากมาสัมผัสชีวิตเกษตรกรรมสามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ เฟสบุ๊ค สวนพลิกใจ โทร 085-8468787

ข่าวทั่วไป

  • nppct
  • 6 เม.ย. 2567
  • 407

โรงไฟฟ้าซุปเปอร์เอิร์ธเอนเนอร์ยี6ใส่ใจสิ่งแวดล้อมเป็นมิตรกับชุมชน

โรงไฟฟ้า ซุปเปอร์เอิร์ธ เอนเนอร์ยี 6 ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือตอนล่างจังหวัดพิจิตร ได้เปิดเผยถึงการทำกิจกรรม CSR ในพื้นที่ ตำบลหนองหลุม อำเภอวชิรบารมี ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงงานในช่วงเดือ

อ่านต่อ...
กรมชลประทานโชว์ผลงานงบ515ล้านก่อสร้างปตร.ท่านางงามส่งผลนาข้าว5หมื่นไร่ลุ่มน้ำยมอุดมสมบูรณ์ (20 ก.ค. 2566) กรมชลประทานชี้แจงเร่งแก้ปัญหางานก่อสร้างปตร.วังจิกในแม่น้ำยม (19 มิ.ย. 2566) รองอธิบดีกรมชลประทานลงพื้นที่พิจิตรเร่งงานโครงการก่อสร้างประตูระบายน้ำคลองมาบขานาง (11 พ.ค. 2566) พิจิตรพาณิชย์จังหวัดจัดโปรโมชั่นนำสินค้าลดราคาค่าครองชีพเปิดขายให้ชาวบางมูลนากเลือกช้อป (25 เม.ย. 2566) แขวงทางหลวงพิจิตรยืนยันความพร้อมเดินทางกลับบ้านปีใหม่เส้นทางขึ้นสู่ภาคเหนือการจราจรคับคั่งแต่ยังเคลื่อนตัวได้ดี (29 ธ.ค. 2565) แขวงทางหลวงพิจิตรติวเข้มผู้รับเหมานายช่างคุมงามเร่งสร้างถนนปลอดภัยรับเทศกาลปีใหม่ (24 พ.ย. 2565) ปวีณาบุกสภ.เมืองพิจิตรพาเด็ก13ปีแจ้งความปู่ข่มขืนมาราธอนนาน7ปี (30 ต.ค. 2565) กรมชลประทานโชว์ผลงานสร้างประตูระบายน้ำ4แห่งในแม่น้ำยมงบ1,826 ล้าน คาดปี67แล้วเสร็จประโยชน์มหาศาล (29 ก.ค. 2565) โรงไฟฟ้านิคมอุตสาหกรรมพิจิตรทุ่มงบ2ล้านหนุนโรงเรียนส่งเสริมกีฬางานนี้ทำเพื่อเยาวชน (23 ก.ค. 2565) ศาลจังหวัดพิจิตรจัดอบรมเพิ่มความรู้สอนเทคนิคการไกล่เกลี่ยขยายเครือข่ายผู้นำชุมชน (21 ก.ค. 2565)