แม่น้ำพิจิตรมองเห็นอนาคตแล้วกองทัพบก-มูลนิธิไทยอาสาป้องกันชาติลงพื้นที่เร่งช่วยฟื้นฟู

พลโท เดชอุดม นิชรัตน์ หัวหน้าสำนักงาน รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าการฟื้นฟูแม่น้ำพิจิตรที่ปากแม่น้ำอยู่ติดกับแม่น้ำน่าน ส่วนปลายแม่น้ำอยู่ติดกับแม่น้ำยม ระยะทางของแม่น้ำพิจิตร 127 กิโลเมตร โดยมี นายวรพันธุ์ สุวัณณุสส์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร และ พ.อ.วีรวัฒน์ วิวัฒน์วานิช รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดพิจิตร ให้การต้อนรับและอธิบายถึงแม่น้ำพิจิตร ว่า ในอดีตแม่น้ำพิจิตร น่าจะมีความกว้างเกือบ 100 เมตร ซึ่งมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์บันทึกเอาไว้ว่า เมื่อปี พ.ศ.2409 รัชกาลที่ 4 ทรงเสด็จด้วยเรืออรรคราชวรเดช” ซึ่งเป็น เรือพระที่นั่ง เรือลำนี้เป็นเรือกลไฟจักร 2 ปล่อง ใช้ในการเสด็จประพาสทางน้ำเพื่อไปนมัสการพระพุทธชินราชที่จังหวัดพิษณุโลก และ ได้จอดเรือกลไฟพักค้างแรมที่บริเวณแม่น้ำพิจิตรที่บริเวณหน้าวัดหลวงพ่อเงินบางคลาน แต่ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2410 แม่น้ำพิจิตรเกิดเปลี่ยนทางเดินที่เป็นแม่น้ำน่านในปัจจุบันจนทุกวันนี้ จึงส่งผลให้แม่น้ำพิจิตรถูกทิ้งร้างและเต็มไปด้วยวัชพืชจนตื้นเขิน จากนั้นในช่วง 50-60 ปีที่ผ่านมา ชาวบ้านก็เริ่มบุกรุกสร้างบ้านเรือนอยู่ริมแม่น้ำพิจิตร และรุกล้ำเข้าไปในแม่น้ำ จนทำให้แม่น้ำพิจิตร จากที่เคยมีสภาพอุดมสมบูรณ์กลับกลายเป็นแม่น้ำที่ไม่สามารถทำหน้าที่ของแม่น้ำได้ จนกระทั่งเมื่อ 1 ปีเศษที่ผ่านมา ชาวบ้านและพระสงฆ์ที่นำโดย พระเมธีธรรมประนาท “ท่านเจ้าคุณปรีชา” ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดท่าหลวง และเป็นเจ้าคณะอำเภอเมืองพิจิตร ได้รวมตัวกันตั้งเป็นกลุ่มขุนศึกลูกพ่อปู่กอบกู้แม่น้ำพิจิตร ขึ้นในการระดมทุนของภาคประชาชนแบบพลังประชารัฐ เพื่อฟื้นคืนชีพแม่น้ำพิจิตร โดยการเติมน้ำจากแม่น้ำน่านและคลองชลประทานเข้าสู่แม่น้ำพิจิตรได้สำเร็จ แต่ปรากฏว่าเกิดอุปสรรค คือ มีวัชพืชและสภาพแม่น้ำพิจิตรตื้นเขิน กอ.รมน.พิจิตร จึงประสานขอความช่วยเหลือไปยังกองทัพภาคที่ 3 กองทัพบก ก็ได้ส่งเครื่องจักรและกำลังพลจากกองพันทหารช่างที่ 8 และกรมโยธาธิการเข้าดำเนินการ กำจัดวัชพืชและขุดลอกแม่น้ำพิจิตรจนกลับคืนมามีสภาพเป็นแม่น้ำได้อีกครั้ง ซึ่งสามารถทำให้พื้นที่การเกษตรมากกว่า 5 หมื่นไร่ที่แม่น้ำพิจิตรไหลผ่าน ได้เกิดความอุดมสมบูรณ์ด้านแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร แต่ปรากฏว่าอุปสรรคของการเติมน้ำเข้าแม่น้ำพิจิตรพบว่ามีบ้านเรือนราษฎร 5 หลังคาเรือนไปสร้างที่อยู่อาศัยรุกล้ำอยู่ในแม่น้ำพิจิตร จึงมีการเจรจาขอให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างให้พ้นทางน้ำ แต่เนื่องด้วยราษฎรกลุ่มดังกล่าวมีฐานะยากจนไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง จึงไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ล่าสุดคณะกรรมการของมูลนิธิไทยอาสาป้องกันชาติได้รับทราบถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้เดินทางลงพื้นที่และมอบเงินจำนวนหนึ่งให้กับราษฎรเพื่อทำการสร้างบ้านหลังใหม่ แต่ให้ขยับขึ้นมาอยู่บนฝั่งทั้งนี้เพื่อ กอ.รมน.พิจิตร จะได้เดินหน้าพัฒนาแม่น้ำพิจิตรให้เป็นแก้มลิง โดยมุ่งหวังว่าในช่วงฤดูน้ำหลากที่จะมาถึงในอีก 4 - 5 เดือนข้างหน้า แม่น้ำพิจิตรจะเป็นส่วนหนึ่งในการทำหน้าที่เป็นแก้มลิงและกระจายน้ำไปยังคลองสาขาหรือ ห้วย หนอง คลอง บึง เพื่อเป็นการหน่วงน้ำไม่ให้ไหลบ่าเข้าท่วมกรุงเทพ ได้อีกด้วย ###หมายเหตุ: ขอขอบคุณภาพเ เรืออรรคราชวรเดช” ซึ่งเป็น เรือพระที่นั่ง จาก เฟสบุ๊ค welovekingmongkut

ข่าวทั่วไป

  • nppct
  • 6 เม.ย. 2567
  • 421

โรงไฟฟ้าซุปเปอร์เอิร์ธเอนเนอร์ยี6ใส่ใจสิ่งแวดล้อมเป็นมิตรกับชุมชน

โรงไฟฟ้า ซุปเปอร์เอิร์ธ เอนเนอร์ยี 6 ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือตอนล่างจังหวัดพิจิตร ได้เปิดเผยถึงการทำกิจกรรม CSR ในพื้นที่ ตำบลหนองหลุม อำเภอวชิรบารมี ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงงานในช่วงเดือ

อ่านต่อ...
กรมชลประทานโชว์ผลงานงบ515ล้านก่อสร้างปตร.ท่านางงามส่งผลนาข้าว5หมื่นไร่ลุ่มน้ำยมอุดมสมบูรณ์ (20 ก.ค. 2566) กรมชลประทานชี้แจงเร่งแก้ปัญหางานก่อสร้างปตร.วังจิกในแม่น้ำยม (19 มิ.ย. 2566) รองอธิบดีกรมชลประทานลงพื้นที่พิจิตรเร่งงานโครงการก่อสร้างประตูระบายน้ำคลองมาบขานาง (11 พ.ค. 2566) พิจิตรพาณิชย์จังหวัดจัดโปรโมชั่นนำสินค้าลดราคาค่าครองชีพเปิดขายให้ชาวบางมูลนากเลือกช้อป (25 เม.ย. 2566) แขวงทางหลวงพิจิตรยืนยันความพร้อมเดินทางกลับบ้านปีใหม่เส้นทางขึ้นสู่ภาคเหนือการจราจรคับคั่งแต่ยังเคลื่อนตัวได้ดี (29 ธ.ค. 2565) แขวงทางหลวงพิจิตรติวเข้มผู้รับเหมานายช่างคุมงามเร่งสร้างถนนปลอดภัยรับเทศกาลปีใหม่ (24 พ.ย. 2565) ปวีณาบุกสภ.เมืองพิจิตรพาเด็ก13ปีแจ้งความปู่ข่มขืนมาราธอนนาน7ปี (30 ต.ค. 2565) กรมชลประทานโชว์ผลงานสร้างประตูระบายน้ำ4แห่งในแม่น้ำยมงบ1,826 ล้าน คาดปี67แล้วเสร็จประโยชน์มหาศาล (29 ก.ค. 2565) โรงไฟฟ้านิคมอุตสาหกรรมพิจิตรทุ่มงบ2ล้านหนุนโรงเรียนส่งเสริมกีฬางานนี้ทำเพื่อเยาวชน (23 ก.ค. 2565) ศาลจังหวัดพิจิตรจัดอบรมเพิ่มความรู้สอนเทคนิคการไกล่เกลี่ยขยายเครือข่ายผู้นำชุมชน (21 ก.ค. 2565)