แม่น้ำพิจิตรมองเห็นอนาคตแล้วกองทัพบก-มูลนิธิไทยอาสาป้องกันชาติลงพื้นที่เร่งช่วยฟื้นฟู

พลโท เดชอุดม นิชรัตน์ หัวหน้าสำนักงาน รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าการฟื้นฟูแม่น้ำพิจิตรที่ปากแม่น้ำอยู่ติดกับแม่น้ำน่าน ส่วนปลายแม่น้ำอยู่ติดกับแม่น้ำยม ระยะทางของแม่น้ำพิจิตร 127 กิโลเมตร โดยมี นายวรพันธุ์ สุวัณณุสส์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร และ พ.อ.วีรวัฒน์ วิวัฒน์วานิช รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดพิจิตร ให้การต้อนรับและอธิบายถึงแม่น้ำพิจิตร ว่า ในอดีตแม่น้ำพิจิตร น่าจะมีความกว้างเกือบ 100 เมตร ซึ่งมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์บันทึกเอาไว้ว่า เมื่อปี พ.ศ.2409 รัชกาลที่ 4 ทรงเสด็จด้วยเรืออรรคราชวรเดช” ซึ่งเป็น เรือพระที่นั่ง เรือลำนี้เป็นเรือกลไฟจักร 2 ปล่อง ใช้ในการเสด็จประพาสทางน้ำเพื่อไปนมัสการพระพุทธชินราชที่จังหวัดพิษณุโลก และ ได้จอดเรือกลไฟพักค้างแรมที่บริเวณแม่น้ำพิจิตรที่บริเวณหน้าวัดหลวงพ่อเงินบางคลาน แต่ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2410 แม่น้ำพิจิตรเกิดเปลี่ยนทางเดินที่เป็นแม่น้ำน่านในปัจจุบันจนทุกวันนี้ จึงส่งผลให้แม่น้ำพิจิตรถูกทิ้งร้างและเต็มไปด้วยวัชพืชจนตื้นเขิน จากนั้นในช่วง 50-60 ปีที่ผ่านมา ชาวบ้านก็เริ่มบุกรุกสร้างบ้านเรือนอยู่ริมแม่น้ำพิจิตร และรุกล้ำเข้าไปในแม่น้ำ จนทำให้แม่น้ำพิจิตร จากที่เคยมีสภาพอุดมสมบูรณ์กลับกลายเป็นแม่น้ำที่ไม่สามารถทำหน้าที่ของแม่น้ำได้ จนกระทั่งเมื่อ 1 ปีเศษที่ผ่านมา ชาวบ้านและพระสงฆ์ที่นำโดย พระเมธีธรรมประนาท “ท่านเจ้าคุณปรีชา” ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดท่าหลวง และเป็นเจ้าคณะอำเภอเมืองพิจิตร ได้รวมตัวกันตั้งเป็นกลุ่มขุนศึกลูกพ่อปู่กอบกู้แม่น้ำพิจิตร ขึ้นในการระดมทุนของภาคประชาชนแบบพลังประชารัฐ เพื่อฟื้นคืนชีพแม่น้ำพิจิตร โดยการเติมน้ำจากแม่น้ำน่านและคลองชลประทานเข้าสู่แม่น้ำพิจิตรได้สำเร็จ แต่ปรากฏว่าเกิดอุปสรรค คือ มีวัชพืชและสภาพแม่น้ำพิจิตรตื้นเขิน กอ.รมน.พิจิตร จึงประสานขอความช่วยเหลือไปยังกองทัพภาคที่ 3 กองทัพบก ก็ได้ส่งเครื่องจักรและกำลังพลจากกองพันทหารช่างที่ 8 และกรมโยธาธิการเข้าดำเนินการ กำจัดวัชพืชและขุดลอกแม่น้ำพิจิตรจนกลับคืนมามีสภาพเป็นแม่น้ำได้อีกครั้ง ซึ่งสามารถทำให้พื้นที่การเกษตรมากกว่า 5 หมื่นไร่ที่แม่น้ำพิจิตรไหลผ่าน ได้เกิดความอุดมสมบูรณ์ด้านแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร แต่ปรากฏว่าอุปสรรคของการเติมน้ำเข้าแม่น้ำพิจิตรพบว่ามีบ้านเรือนราษฎร 5 หลังคาเรือนไปสร้างที่อยู่อาศัยรุกล้ำอยู่ในแม่น้ำพิจิตร จึงมีการเจรจาขอให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างให้พ้นทางน้ำ แต่เนื่องด้วยราษฎรกลุ่มดังกล่าวมีฐานะยากจนไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง จึงไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ล่าสุดคณะกรรมการของมูลนิธิไทยอาสาป้องกันชาติได้รับทราบถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้เดินทางลงพื้นที่และมอบเงินจำนวนหนึ่งให้กับราษฎรเพื่อทำการสร้างบ้านหลังใหม่ แต่ให้ขยับขึ้นมาอยู่บนฝั่งทั้งนี้เพื่อ กอ.รมน.พิจิตร จะได้เดินหน้าพัฒนาแม่น้ำพิจิตรให้เป็นแก้มลิง โดยมุ่งหวังว่าในช่วงฤดูน้ำหลากที่จะมาถึงในอีก 4 - 5 เดือนข้างหน้า แม่น้ำพิจิตรจะเป็นส่วนหนึ่งในการทำหน้าที่เป็นแก้มลิงและกระจายน้ำไปยังคลองสาขาหรือ ห้วย หนอง คลอง บึง เพื่อเป็นการหน่วงน้ำไม่ให้ไหลบ่าเข้าท่วมกรุงเทพ ได้อีกด้วย ###หมายเหตุ: ขอขอบคุณภาพเ เรืออรรคราชวรเดช” ซึ่งเป็น เรือพระที่นั่ง จาก เฟสบุ๊ค welovekingmongkut

ข่าวทั่วไป

  • nppct
  • 11 เม.ย. 2568
  • 174

กอ.รมน.- ตำรวจ.-ปกครองพิจิตร ตรวจสถานบันเทิงยามราตรีต้อนรับเทศกาล สงกรานต์ท่องเที่ยวปลอดภัย

เมื่อคืนที่ผ่านมา พ.อ.สัมฤทธิ์ ฉัตรวัฒนาสกุล รอง ผอ.รมน.จังหวัด พ.จ.(ท.) มอบหมายให้ พ.ต.รณชัย ประจันสี หน.ชุด ชรต.307 กอ.รมน.จังหวัด พ.จ. พร้อมด้วยกำลังพล กอ.รมน.จังหวัด พ.จ. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยว

อ่านต่อ...
Happy Birthday นราพัฒน์ แก้วทอง มอบของขวัญวันเกิดให้ตัวเองด้วยการให้ (2 ส.ค. 2564) ด้วยความห่วงใย !ไพฑูรย์-นราพัฒน์ แก้วทองและกลุ่มเพื่อน วธอ.4 New Tokyo มอบเตียงสร้าง รพ.สนาม วชิรบารมี (30 ก.ค. 2564) แทนคุณแผ่นดินบ้านเกิด ไพฑูรย์ -นราพัฒน์ แก้วทอง ตระเวนมอบเงินช่วย รพ.สนาม ในพิจิตร (26 ก.ค. 2564) ชลประทานพิจิตรเตรียมสูบน้ำจากแม่น้ำยมส่งเข้าคลองบ้านไร่หลวงพ่อขวัญสามง่ามเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศ (22 ก.ค. 2564) พิจิตรเหตุฝนทิ้งช่วงนาข้าวหอมมะลิอำเภอทับคล้อนับหมื่นไร่จ่อแห้งตาย (11 มิ.ย. 2564) ชาวนาพิจิตรเปิดศึกแย่งน้ำชลประทานจับมือฝ่ายปกครองตั้งโต๊ะเจรจาจัดรอบเวรสลับกันสูบน้ำ (10 มิ.ย. 2564) พิจิตรนาข้าว 5 ตำบล 2 หมื่นไร่ วิกฤต ฝนทิ้งช่วงชลประทานจับมือ อบจ.เปิดทางส่งน้ำเร่งช่วย (3 มิ.ย. 2564) กอ.รมน.พิจิตรร่วมรณรงค์ฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อโควิดล่าสุด6วันแล้วเมืองชาละวันไม่พบผู้ติดเชื้อ (3 มิ.ย. 2564) รพ.พิจิตร ส่งผู้ติดเชื้อโควิดรักษาหายแล้วกลับบ้าน (2 มิ.ย. 2564) กรมชลประทานทุ่ม350ล้านสร้างประตูระบายน้ำท่าแหในแม่น้ำยมนาข้าว 8 หมื่นไร่รับประโยชน์ (18 พ.ค. 2564)