พิจิตรประกาศพื้นที่ภัยพิบัติภาวะฝนแล้งส่วนชาวนาเร่งเจาะบ่อน้ำบาดาลช่วยเหลือนาข้าวหวังได้เก็บเกี่ยว

วันที่ 19 ส.ค. 2562 นายวรพันธุ์ สุวัณณุสส์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร ลงนามประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินในพื้นที่จังหวัดพิจิตร โดยลงนามประกาศเหตุภัยพิบัติฉุกเฉินภาวะฝนแล้งในพื้นที่อำเภอดงเจริญ รวม 53 หมู่บ้าน ได้แก่ตำบลวังงิ้ว , ตำบลวังงิ้วใต้ , ตำบลห้วยร่วม , ตำบลห้วยพุก , ตำบลสำนักขุนเณร , อำเภอทับคล้อรวม 56 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลทับคล้อ , ตำบลเขาทราย , ตำบลเขาเจ็ดลูก , ตำบลท้ายทุ่ง เหตุผลของการประกาศภัยพิบัติฉุกเฉินเนื่องจากในเขตพื้นที่ดังกล่าว ฝนไม่ตกติดต่อกันเป็นเวลานาน ส่งผลทำให้เกิดความแห้งแล้งขึ้นในพื้นที่ทางบการเกษตรของราษฎร ซึ่งการประกาศจะส่งผลให้ส่วนราชการและส่วนท้องถิ่น รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถใช้เงินงบปแระมาณของทางราชการดำเนินการช่วยเหลือราษฎรในพื้นที่ดังกล่าวได้ นับจากวันประกาศต้องไม่เกิน 3 เดือน ซึ่งการประกาศในครั้งนี้ลงเมื่อ 16 สิงหาคม สิ้นสุดการให้ความช่วยเหลือวันที่ 3 ต.ค. 2562 นายสุทธิโชติ จิตการุณ อายุ 35 ปี ซึ่งเป็นชาวนาอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลดงเสือเหลือง อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร เปิดเผยว่า ตนเองและครอบครัวทำนาเกือบ 100 ไร่ ปลูกข้าวหอมมะลิ 105 จำนวน 30 ไร่ , ปลูกข้าวพันธุ์พิษณุโลก 2 จำนวน 70 ไร่ เนื่องจากปีนี้ฤดูฝนมาช้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล แปลงนาของตนจึงเพิ่งเริ่มไถหว่านข้าวอายุได้แค่ 20-30 วัน ซึ่งเป็นช่วงที่ต้นข้าวกำลังต้องการน้ำอย่างมากฝนไม่ตกและอยู่นอกเขตชลประทาน จึงต้องอาศัยน้ำในบ่อ ซึ่งก็สูบน้ำใส่นาข้าวจนน้ำเกือบแห้งบ่อแล้ว ดูท่าทีแล้วจึงตัดสินใจว่าจ้างทีมงานของ ช่างปามเจาะบ่อบาดาล อยู่ที่ตำบลเมืองเก่า มาดำเนินการ โดยมีข้อตกลงว่าถ้าไม่เจอน้ำไม่ต้องจ่ายเงิน ซึ่งได้ทำการเจาะบ่อบาดาลลึกลงไป 40 วา หรือ 80 เมตร ก็เจอน้ำสมปรารถนา ซึ่งต้องลงทุนรวมเบ็ดเสร็จแล้วประมาณ 150,000 บาท โดยใช้พลังงานโซล่าเซลล์ในการสูบน้ำครั้งนี้ ซึ่งเป็นการลงทุนครั้งแรกที่ค่อนข้างสูง แต่อนาคตระยะยาวน่าจะคุ้มค่า ในส่วนของ นายจักรกฤษ ประเทสัง อายุ 25 ปี หรือ “ช่างปามเจาะบ่อน้ำบาดาลเมืองเก่าพิจิตร” อยู่หมู่ 8 ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร กล่าวว่า ตนเองทำอาชีพเจาะบ่อน้ำบาดาลมาเกือบ 10 ปี แล้ว แต่ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมารับรู้ได้เลยว่าสถานการณ์ภัยแล้งเริ่มคุกคามเกษตรกรมากขึ้น การเจาะหาน้ำบาดาลตนเองคิดราคาตามความลึกของการเจาะ คือ คิดค่าแรงและอุปกรณ์ วาละ 1,300-1,500 บาท ( 1 วาเท่ากับ 2 เมตร ) เฉพาะท่อพีวีซีที่อยู่ใต้ดิน รวมถึงขึ้นอยู่ที่ความยากง่ายและระยะทางใกล้ไกล ถ้าเป็นในส่วนของจังหวัดพิจิตร ถ้าพื้นที่อยู่ห่างแม่น้ำน่าน – แม่น้ำยม – แม่น้ำพิจิตร เจาะลึกลงไป 20-30 วา หรือประมาณ 70-80 เมตร ก็จะเจอน้ำบาดาลได้ไม่ยากนักแต่ถ้าเป็นพื้นที่ฝั่งตะวันตกที่อยู่ติดเขตจังหวัดกำแพงเพชรรวมถึงพื้นที่ฝั่งตะวันออกที่อยู่ติดแถบจังหวัดเพชรบูรณ์และพิษณุโลก ก็อาจต้องเจาะลึกลงไปถึง 100 เมตร จึงจะเจอน้ำบาดาล ซึ่งมีข้อตกลงว่า ถ้าเจาะแล้วไม่เจอน้ำบาดาลหรือสูบไม่ขึ้นก็จะไม่คิดค่าใช้จ่ายแม้แต่บาทเดียว จึงทำให้ช่วงนี้มีเกษตรกรติดต่อว่าจ้างมาไม่ขาดสาย สำหรับเกษตรกรท่านใดมีปัญหาเรื่องแหล่งน้ำสามารถโทรปรึกษาได้ที่ “ช่างปามเจาะบ่อบาดาล” โทร 081-8878889 , 062- 9658298

ข่าวทั่วไป

  • nppct
  • 11 เม.ย. 2568
  • 175

กอ.รมน.- ตำรวจ.-ปกครองพิจิตร ตรวจสถานบันเทิงยามราตรีต้อนรับเทศกาล สงกรานต์ท่องเที่ยวปลอดภัย

เมื่อคืนที่ผ่านมา พ.อ.สัมฤทธิ์ ฉัตรวัฒนาสกุล รอง ผอ.รมน.จังหวัด พ.จ.(ท.) มอบหมายให้ พ.ต.รณชัย ประจันสี หน.ชุด ชรต.307 กอ.รมน.จังหวัด พ.จ. พร้อมด้วยกำลังพล กอ.รมน.จังหวัด พ.จ. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยว

อ่านต่อ...
Happy Birthday นราพัฒน์ แก้วทอง มอบของขวัญวันเกิดให้ตัวเองด้วยการให้ (2 ส.ค. 2564) ด้วยความห่วงใย !ไพฑูรย์-นราพัฒน์ แก้วทองและกลุ่มเพื่อน วธอ.4 New Tokyo มอบเตียงสร้าง รพ.สนาม วชิรบารมี (30 ก.ค. 2564) แทนคุณแผ่นดินบ้านเกิด ไพฑูรย์ -นราพัฒน์ แก้วทอง ตระเวนมอบเงินช่วย รพ.สนาม ในพิจิตร (26 ก.ค. 2564) ชลประทานพิจิตรเตรียมสูบน้ำจากแม่น้ำยมส่งเข้าคลองบ้านไร่หลวงพ่อขวัญสามง่ามเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศ (22 ก.ค. 2564) พิจิตรเหตุฝนทิ้งช่วงนาข้าวหอมมะลิอำเภอทับคล้อนับหมื่นไร่จ่อแห้งตาย (11 มิ.ย. 2564) ชาวนาพิจิตรเปิดศึกแย่งน้ำชลประทานจับมือฝ่ายปกครองตั้งโต๊ะเจรจาจัดรอบเวรสลับกันสูบน้ำ (10 มิ.ย. 2564) พิจิตรนาข้าว 5 ตำบล 2 หมื่นไร่ วิกฤต ฝนทิ้งช่วงชลประทานจับมือ อบจ.เปิดทางส่งน้ำเร่งช่วย (3 มิ.ย. 2564) กอ.รมน.พิจิตรร่วมรณรงค์ฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อโควิดล่าสุด6วันแล้วเมืองชาละวันไม่พบผู้ติดเชื้อ (3 มิ.ย. 2564) รพ.พิจิตร ส่งผู้ติดเชื้อโควิดรักษาหายแล้วกลับบ้าน (2 มิ.ย. 2564) กรมชลประทานทุ่ม350ล้านสร้างประตูระบายน้ำท่าแหในแม่น้ำยมนาข้าว 8 หมื่นไร่รับประโยชน์ (18 พ.ค. 2564)