ผู้ว่าฯเมืองชาละวันสั่งเร่งช่วยแก้วิกฤตแม่น้ำพิจิตรเริ่มแห้งขอดหวั่นเกษตรกรเดือดร้อน

พิจิตรเมืองงามนามสามแคว ที่มีแม่น้ำยม-แม่น้ำน่าน-แม่น้ำพิจิตร หล่อเลี้ยงพื้นที่ทำการเกษตร ขณะนี้พบว่าแม่น้ำยม-แม่น้ำน่าน ระดับน้ำเริ่มลดลง แต่ที่วิกฤตคือแม่น้ำพิจิตร กลับมีสภาพเริ่มแห้งขอด ทั้งๆที่รัฐบาลจัดสรรงบประมาณ 8.4 ล้านบาท ซ่อมแซมประตูระบายน้ำดงเศรษฐี แต่เก็บน้ำไม่อยู่ เดือดร้อนถึงผู้ว่าฯพิจิตร ลงพื้นที่สั่งลุยแก้ปัญหาพร้อมทั้งเร่งประสานกรมชลประทานเติมน้ำลงสู่แม่น้ำพิจิตร หวังช่วยเกษตรกรแก้วิกฤตภัยแล้งที่กำลังเริ่มคุกคามอย่างหนัก วันที่ 4 ต.ค. 2562 นายสิริรัฐ ชุมอุปการ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร และ พ.อ.วีรวัฒน์ วิวัฒน์วานิช รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดพิจิตร พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ของสำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 9 พิษณุโลก และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องของจังหวัดพิจิตร ได้ร่วมกันเดินทางไปดูและหาแนวทางแก้ปัญหาแม่น้ำพิจิตร ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหนึ่งที่สำคัญของเกษตรกร เนื่องจากแม่น้ำพิจิตรไหลผ่านใน 4 อำเภอ คือ อ. เมืองพิจิตร อ. ตะพานหิน อ.โพธิ์ประทับช้าง อ. โพทะเล ครอบคลุมพื้นที่ 13 ตำบล ที่ประกอบด้วย ต.ไผ่ขวาง ต. ย่านยาว ต.โพธิ์ประทับช้าง ต.บ้านน้อย ต.ทุ่งน้อย ต.วัดขวาง ต.บางคลาน ต.ท่าบัว ต.คลองคะเชนทร์ ต.โรงช้าง ต.เมืองเก่า ต.สำโรง ต.ทับหมัน เกษตรกรได้รับประโยชน์จากแม่น้ำพิจิตรครอบคลุมพื้นที่ 4.5 หมื่นไร่ สำหรับปากแม่น้ำพิจิตรอยู่ติดกับแม่น้ำน่าน ปลายแม่น้ำพิจิตรอยู่ติดกับแม่น้ำยม ที่บริเวณหน้าวัดหลวงพ่อเงินบางคลาน รวมระยะทางประมาณ 127 กิโลเมตร เมื่อฤดูน้ำหลากที่ผ่านมาแม่น้ำพิจิตรได้ทำหน้าที่เป็นแก้มลิงนำน้ำมากักเก็บไว้ทำให้หลายพื้นที่รอดพ้นจากน้ำท่วม ความหวังของเกษตรกรก็หวังว่าจะได้เก็บมวลน้ำก้อนนี้เอาไว้ใช้ในหน้าแล้ง แต่ปรากฏว่าที่ปากแม่น้ำพิจิตร ซึ่งอยู่ติดกับแม่น้ำน่าน รัฐบาลได้อนุมัติเงินงบประมาณจำนวน 8.4 ล้านบาท ให้ทำการซ่อมแซมประตูน้ำ แต่เมื่อทำเสร็จแล้วกลับกลายเป็นว่าจุดที่สำคัญ คือ ประตูน้ำจำนวน 4 บาน กลับไม่มีงบประมาณให้ดำเนินการซ่อมแซม จึงส่งผลให้น้ำในแม่น้ำพิจิตรไหลย้อนลงสู่แม่น้ำน่านจนเป็นเหตุให้บริเวณปากแม่น้ำพิจิตรในเขตหมู่ 4 ต.ย่านยาว และ ต.คลองคะเชนทร์ แม่น้ำพิจิตรเกิดแห้งขอด ส่งผลให้เกษตรกรเดือดร้อนจนต้องไปร้องทุกข์กับผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร ล่าสุดหลังจากได้รับเรื่องร้องทุกข์ นายสิริรัฐ ชุมอุปการ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร จึงได้ลงพื้นที่ทันที โดยได้ประสานเจ้าหน้าที่ของทรัพยากรน้ำภาค 9 ขอให้ช่วยอนุเคราะห์ดำเนินการซ่อมแซมประตูน้ำ ซึ่งอยู่นอกรายการของงบประมาณข้างต้น ก็ได้รับการตอบรับจากผู้รับจ้างดำเนินการทำให้ฟรี! โดยจะเปลี่ยนขอบยางประตูระบายน้ำด้านใน 2 บาน ให้แล้วเสร็จ ภายในวันที่ 7 ต.ค. 2562 และจะเปลี่ยนขอบยางประตูระบายน้ำด้านนอกที่อยู่ติดแม่น้ำน่านอีก 2 บาน ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 14 ต.ค. 2562 อีกทั้งจะให้โครงการส่งน้ำดงเศรษฐี ติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อสูบน้ำจากในคลองชลประทาน C1 หรือจากแม่น้ำน่าน เพื่อสูบน้ำ เติมน้ำ เข้าสู่แม่น้ำพิจิตร เป็นการชดเชยน้ำที่ไหลออกจากแม่น้ำพิจิตร ไปลงสู่แม่น้ำน่านเมื่อครั้งที่ขอบยางประตูระบายน้ำเกิดเสียหายจนน้ำรั่วซึมไหลลงสู่แม่น้ำน่านดังกล่าว จากการแก้ปัญหาเชิงรุกของผู้ว่าฯพิจิตรทำให้ชาวบ้านพึงพอใจ เพราจะทำให้มีน้ำทำการเกษตรได้อย่างพอเพียงอีกด้วย  

ข่าวทั่วไป

  • nppct
  • 20 ก.ค. 2566
  • 126

กรมชลประทานโชว์ผลงานงบ515ล้านก่อสร้างปตร.ท่านางงามส่งผลนาข้าว5หมื่นไร่ลุ่มน้ำยมอุดมสมบูรณ์

วันที่ 18 กรกฎาคม 2566 นายธนบดี รักสัตย์ ผู้อำนวยการสำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 3 กองพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลาง กรมชลประทาน มอบให้ นายธนาธิป แก้วมณี หัวหน้าฝ่ายก่อสร้างที่ 1 ให้ข้อมูลกับผู้สื่อ

อ่านต่อ...
พิจิตรลุ้นระทึกรอผลตรวจกลุ่มเสี่ยงร่วมงานบวชนาคยังสั่งปิดหมู่บ้านต่อไป (29 มี.ค. 2563) ไอเดียบรรเจิดชาวสวนไม้ผลสากเหล็กนำรถพ่นน้ำเพื่อการเกษตรฉีดพ่นฆ่าเชื้อโควิด19 (28 มี.ค. 2563) ผู้ว่าฯพิจิตรสั่งตั้งป้อมปราการสกัดโควิด19จัดงบซื้อเครื่องเทอร์โมสแกนหนุนการแพทย์ (27 มี.ค. 2563) สสจ.พิจิตรตั้งด่านตรวจโควิด19รักษาพื้นที่เมืองชาละวันให้เป็นพื้นที่ปลอดเชื้อปลอดภัย (26 มี.ค. 2563) พิจิตรพัฒนาฝีมือแรงงานส่งจักรเย็บผ้าหนุนชาวบ้านรวมตัวตัดเย็บทำหน้ากากอนามัยสู้โควิด19 (25 มี.ค. 2563) พิจิตรผวาชาละวันกทม.คืนถิ่นเตรียมตั้งโรงพยาบาลสนามปิดตลาดนัดสู้โควิด19 (23 มี.ค. 2563) พิจิตรชาวบ้านระทมพายุฤดูร้อนพัดถล่มบ้านเรือนพังเสียหาย20หลังคาเรือน (22 มี.ค. 2563) พิจิตรหลวงพ่อวอนขอ 8 บาท ทำบุญทอดผ้าป่าซื้อหน้ากากอนามัยถวายพระสงฆ์ (13 มี.ค. 2563) ชาวบ้านวอนการไฟฟ้าช่วยด้วยกระแสไฟฟ้าไม่พอใช้ไฟฟ้าตกบ่อยร้องทุกข์ 5 ปี ถึงวันนี้ยังรอการแก้ไข (6 มี.ค. 2563) ข่าวลวงโลก!อุตุพิจิตรลงพื้นที่ชี้แจงมีฝนตกเมฆฝนไม่ได้มาจากจีนน้ำสะอาดดื่มกินได้ (3 มี.ค. 2563)