ผู้ว่าฯเมืองชาละวันสั่งเร่งช่วยแก้วิกฤตแม่น้ำพิจิตรเริ่มแห้งขอดหวั่นเกษตรกรเดือดร้อน

พิจิตรเมืองงามนามสามแคว ที่มีแม่น้ำยม-แม่น้ำน่าน-แม่น้ำพิจิตร หล่อเลี้ยงพื้นที่ทำการเกษตร ขณะนี้พบว่าแม่น้ำยม-แม่น้ำน่าน ระดับน้ำเริ่มลดลง แต่ที่วิกฤตคือแม่น้ำพิจิตร กลับมีสภาพเริ่มแห้งขอด ทั้งๆที่รัฐบาลจัดสรรงบประมาณ 8.4 ล้านบาท ซ่อมแซมประตูระบายน้ำดงเศรษฐี แต่เก็บน้ำไม่อยู่ เดือดร้อนถึงผู้ว่าฯพิจิตร ลงพื้นที่สั่งลุยแก้ปัญหาพร้อมทั้งเร่งประสานกรมชลประทานเติมน้ำลงสู่แม่น้ำพิจิตร หวังช่วยเกษตรกรแก้วิกฤตภัยแล้งที่กำลังเริ่มคุกคามอย่างหนัก วันที่ 4 ต.ค. 2562 นายสิริรัฐ ชุมอุปการ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร และ พ.อ.วีรวัฒน์ วิวัฒน์วานิช รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดพิจิตร พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ของสำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 9 พิษณุโลก และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องของจังหวัดพิจิตร ได้ร่วมกันเดินทางไปดูและหาแนวทางแก้ปัญหาแม่น้ำพิจิตร ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหนึ่งที่สำคัญของเกษตรกร เนื่องจากแม่น้ำพิจิตรไหลผ่านใน 4 อำเภอ คือ อ. เมืองพิจิตร อ. ตะพานหิน อ.โพธิ์ประทับช้าง อ. โพทะเล ครอบคลุมพื้นที่ 13 ตำบล ที่ประกอบด้วย ต.ไผ่ขวาง ต. ย่านยาว ต.โพธิ์ประทับช้าง ต.บ้านน้อย ต.ทุ่งน้อย ต.วัดขวาง ต.บางคลาน ต.ท่าบัว ต.คลองคะเชนทร์ ต.โรงช้าง ต.เมืองเก่า ต.สำโรง ต.ทับหมัน เกษตรกรได้รับประโยชน์จากแม่น้ำพิจิตรครอบคลุมพื้นที่ 4.5 หมื่นไร่ สำหรับปากแม่น้ำพิจิตรอยู่ติดกับแม่น้ำน่าน ปลายแม่น้ำพิจิตรอยู่ติดกับแม่น้ำยม ที่บริเวณหน้าวัดหลวงพ่อเงินบางคลาน รวมระยะทางประมาณ 127 กิโลเมตร เมื่อฤดูน้ำหลากที่ผ่านมาแม่น้ำพิจิตรได้ทำหน้าที่เป็นแก้มลิงนำน้ำมากักเก็บไว้ทำให้หลายพื้นที่รอดพ้นจากน้ำท่วม ความหวังของเกษตรกรก็หวังว่าจะได้เก็บมวลน้ำก้อนนี้เอาไว้ใช้ในหน้าแล้ง แต่ปรากฏว่าที่ปากแม่น้ำพิจิตร ซึ่งอยู่ติดกับแม่น้ำน่าน รัฐบาลได้อนุมัติเงินงบประมาณจำนวน 8.4 ล้านบาท ให้ทำการซ่อมแซมประตูน้ำ แต่เมื่อทำเสร็จแล้วกลับกลายเป็นว่าจุดที่สำคัญ คือ ประตูน้ำจำนวน 4 บาน กลับไม่มีงบประมาณให้ดำเนินการซ่อมแซม จึงส่งผลให้น้ำในแม่น้ำพิจิตรไหลย้อนลงสู่แม่น้ำน่านจนเป็นเหตุให้บริเวณปากแม่น้ำพิจิตรในเขตหมู่ 4 ต.ย่านยาว และ ต.คลองคะเชนทร์ แม่น้ำพิจิตรเกิดแห้งขอด ส่งผลให้เกษตรกรเดือดร้อนจนต้องไปร้องทุกข์กับผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร ล่าสุดหลังจากได้รับเรื่องร้องทุกข์ นายสิริรัฐ ชุมอุปการ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร จึงได้ลงพื้นที่ทันที โดยได้ประสานเจ้าหน้าที่ของทรัพยากรน้ำภาค 9 ขอให้ช่วยอนุเคราะห์ดำเนินการซ่อมแซมประตูน้ำ ซึ่งอยู่นอกรายการของงบประมาณข้างต้น ก็ได้รับการตอบรับจากผู้รับจ้างดำเนินการทำให้ฟรี! โดยจะเปลี่ยนขอบยางประตูระบายน้ำด้านใน 2 บาน ให้แล้วเสร็จ ภายในวันที่ 7 ต.ค. 2562 และจะเปลี่ยนขอบยางประตูระบายน้ำด้านนอกที่อยู่ติดแม่น้ำน่านอีก 2 บาน ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 14 ต.ค. 2562 อีกทั้งจะให้โครงการส่งน้ำดงเศรษฐี ติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อสูบน้ำจากในคลองชลประทาน C1 หรือจากแม่น้ำน่าน เพื่อสูบน้ำ เติมน้ำ เข้าสู่แม่น้ำพิจิตร เป็นการชดเชยน้ำที่ไหลออกจากแม่น้ำพิจิตร ไปลงสู่แม่น้ำน่านเมื่อครั้งที่ขอบยางประตูระบายน้ำเกิดเสียหายจนน้ำรั่วซึมไหลลงสู่แม่น้ำน่านดังกล่าว จากการแก้ปัญหาเชิงรุกของผู้ว่าฯพิจิตรทำให้ชาวบ้านพึงพอใจ เพราจะทำให้มีน้ำทำการเกษตรได้อย่างพอเพียงอีกด้วย  

ข่าวทั่วไป

  • nppct
  • 11 เม.ย. 2568
  • 175

กอ.รมน.- ตำรวจ.-ปกครองพิจิตร ตรวจสถานบันเทิงยามราตรีต้อนรับเทศกาล สงกรานต์ท่องเที่ยวปลอดภัย

เมื่อคืนที่ผ่านมา พ.อ.สัมฤทธิ์ ฉัตรวัฒนาสกุล รอง ผอ.รมน.จังหวัด พ.จ.(ท.) มอบหมายให้ พ.ต.รณชัย ประจันสี หน.ชุด ชรต.307 กอ.รมน.จังหวัด พ.จ. พร้อมด้วยกำลังพล กอ.รมน.จังหวัด พ.จ. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยว

อ่านต่อ...
Happy Birthday นราพัฒน์ แก้วทอง มอบของขวัญวันเกิดให้ตัวเองด้วยการให้ (2 ส.ค. 2564) ด้วยความห่วงใย !ไพฑูรย์-นราพัฒน์ แก้วทองและกลุ่มเพื่อน วธอ.4 New Tokyo มอบเตียงสร้าง รพ.สนาม วชิรบารมี (30 ก.ค. 2564) แทนคุณแผ่นดินบ้านเกิด ไพฑูรย์ -นราพัฒน์ แก้วทอง ตระเวนมอบเงินช่วย รพ.สนาม ในพิจิตร (26 ก.ค. 2564) ชลประทานพิจิตรเตรียมสูบน้ำจากแม่น้ำยมส่งเข้าคลองบ้านไร่หลวงพ่อขวัญสามง่ามเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศ (22 ก.ค. 2564) พิจิตรเหตุฝนทิ้งช่วงนาข้าวหอมมะลิอำเภอทับคล้อนับหมื่นไร่จ่อแห้งตาย (11 มิ.ย. 2564) ชาวนาพิจิตรเปิดศึกแย่งน้ำชลประทานจับมือฝ่ายปกครองตั้งโต๊ะเจรจาจัดรอบเวรสลับกันสูบน้ำ (10 มิ.ย. 2564) พิจิตรนาข้าว 5 ตำบล 2 หมื่นไร่ วิกฤต ฝนทิ้งช่วงชลประทานจับมือ อบจ.เปิดทางส่งน้ำเร่งช่วย (3 มิ.ย. 2564) กอ.รมน.พิจิตรร่วมรณรงค์ฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อโควิดล่าสุด6วันแล้วเมืองชาละวันไม่พบผู้ติดเชื้อ (3 มิ.ย. 2564) รพ.พิจิตร ส่งผู้ติดเชื้อโควิดรักษาหายแล้วกลับบ้าน (2 มิ.ย. 2564) กรมชลประทานทุ่ม350ล้านสร้างประตูระบายน้ำท่าแหในแม่น้ำยมนาข้าว 8 หมื่นไร่รับประโยชน์ (18 พ.ค. 2564)