พิจิตรผวาชาละวันกทม.คืนถิ่นเตรียมตั้งโรงพยาบาลสนามปิดตลาดนัดสู้โควิด19

พิจิตรยืนยันไร้ผู้ป่วยไวรัสโควิด19 หวาดวิตกแรงงานชาละวันคืนถิ่นและเซียนมวยเกรงจะเอาโรคกลับมาด้วย สั่งตั้งโรงพยาบาลสนามเตรียมออกคำสั่งงดกิจกรรม ประชุม สัมนา จัดแสดงศิลปวัฒนธรรม ลิเก โขน งิ้ว และกิจกรรมที่มีผู้คนมารวมตัวกันเกิน 50 คน เตรียมสั่งปิดตลาดนัด แต่ ตลาดสดเทศบาลที่มีมาตรฐานถูกสุขอนามัยยังคงให้ค้าขายได้ปกติ วันที่ 23 มี.ค. 2563 นายสิริรัฐ ชุมอุปการ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร , นายพยนต์ อัศวพิชยนต์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร , นายสุเทพ วงษ์พานิช รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร , นายณรงค์ศักดิ์ หอมมาลัย ปลัดจังหวัดพิจิตร , นายแพทย์ธีระพงษ์ แก้วภมร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพิจิตร พร้อมด้วย นายอำเภอจาก 12 อำเภอ และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องรวมแล้วกว่า 100 คน ได้ประชุมร่วมกันที่ห้องประชุมชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดพิจิตร เกี่ยวกับมาตรการในการเฝ้าระวังโรคระบาดไวรัสโควิด 19 โดยในที่ประชุม ผู้ว่าฯพิจิตร ได้ให้ความสำคัญจากกรณีที่แรงงานชาวพิจิตรที่ไปทำงานในกรุงเทพฯ แล้วต้องประสบกับสภาวะการปิดตัวของกิจการหรืองานที่ทำอยู่ต่างทยอยเดินทางกลับบ้าน ซึ่งก็ได้สั่งให้ อสม. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เฝ้าติดตามขอให้ควบคุมบริเวณอยู่ภายในบ้าน 14 วัน เช่นเดียวกับกลุ่มเซียนมวยที่ไปดูมวยในพื้นที่เสี่ยงมี 12 คน รวมถึงพระสงฆ์เดินทางมาจากนครนายก ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด 19 จำนวน 5 รูป รวมทั้งหมด 17 รายนี้ ก็มีการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดและขอให้ปฏิบัติตามหลักสุขอนามัย นอกจากนี้เตรียมออกคำสั่งปิดตลาดนัดเนื่องจากเป็นพื้นที่ ที่มีผู้คนแออัด รวมถึงเป็นผู้ค้าที่ไม่ได้อยู่ประจำ สถานที่ไม่ถูกสุขลักษณะ จะให้ปิดไปก่อน นอกจากนี้ร้านเกม ร้านอินเทอร์เน็ต สนุ้กเกอร์ สระว่ายน้ำ สนามไดร์ฟกอล์ฟ ตลาดนัดพระเครื่องพระบูชา ศูนย์ประชุมต่างๆ ก็จะให้ปิดด้วยเช่นกัน ส่วนห้างสรรพสินค้าและตลาดสดเทศบาลที่อยู่เป็นหลักแหล่งและมีมาตรฐานด้านสุขอนามัยก็จะยังคงให้เปิดกิจการได้ รวมถึงร้านเสริมสวย ร้านตัดผม ร้านอาหาร ร้านส้มตำ-ไก่ย่าง หมูกระทะ ฯลฯ ก็ยังคงทำมาค้าขายได้เป็นปกติ แต่อยากฝากให้กินร้อน ใช้ช้อนกลาง ( ใช้ช้อนของใครของมัน ) ล้างมือด้วยน้ำสะอาดบ่อยๆ รวมถึงผู้ประกอบการก็อยากให้ใส่ถุงมือและสวมหน้ากากอนามัย ในส่วนของการคาดการณ์ทางการแพทย์ คาดการณ์ว่า หากไม่ใช้มาตรการที่เข้มข้นจังหวัดพิจิตร คาดว่าจะมีผู้ป่วยสูงถึง 2,746 ราย หรืออาจจะต้องเสียชีวิต 55 ราย แต่ถ้าจังหวัดพิจิตรใช้มาตรการล็อคดาว์นให้ประชาชนอยู่ในบ้าน คาดว่าผู้ป่วยจะมีแค่ 190 คน หรืออาจมีเสียชีวิตไม่เกิน 4 ราย เท่านั้น สำหรับการเตรียมมาตรการรับมือกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 จังหวัดพิจิตรก็ได้จัดเตรียมที่วิทยาลัยเทคนิคพิจิตร และที่อุทยานบัวบึงสีไฟ เป็น โรงพยาบาลสนาม สำหรับกิจกรรมที่จะมีคนหมู่มากมารวมตัวกันเกิน 50 คน ก็จะออกมาตรการห้ามและไม่ออกใบอนุญาตให้ เช่นจะห้ามการจัดประชุมสัมนา การจัดนิทรรศการ การจัดให้มีการละเล่นการแสดง ลิเก โขน งิ้ว คอนเสิร์ต หรือกิจกรรมในศูนย์ประชุมต่างๆ ก็จะออกคำสั่งห้ามด้วยเช่นกัน ในส่วนงานด้านสาธารณสุข นายแพทย์ธีระพงษ์ แก้วภมร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพิจิตร กล่าวว่า ต่อจากนี้ทุกโรงพยาบาลพิจิตร จะขอห้ามและงดการเยี่ยมไข้ เยี่มผู้ป่วยในทุกกรณี ที่อาจเป็นความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อหรือติดเชื้อโรคไวรัสโควิด19 อีกด้วย

ข่าวทั่วไป

  • nppct
  • 11 เม.ย. 2568
  • 174

กอ.รมน.- ตำรวจ.-ปกครองพิจิตร ตรวจสถานบันเทิงยามราตรีต้อนรับเทศกาล สงกรานต์ท่องเที่ยวปลอดภัย

เมื่อคืนที่ผ่านมา พ.อ.สัมฤทธิ์ ฉัตรวัฒนาสกุล รอง ผอ.รมน.จังหวัด พ.จ.(ท.) มอบหมายให้ พ.ต.รณชัย ประจันสี หน.ชุด ชรต.307 กอ.รมน.จังหวัด พ.จ. พร้อมด้วยกำลังพล กอ.รมน.จังหวัด พ.จ. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยว

อ่านต่อ...
Happy Birthday นราพัฒน์ แก้วทอง มอบของขวัญวันเกิดให้ตัวเองด้วยการให้ (2 ส.ค. 2564) ด้วยความห่วงใย !ไพฑูรย์-นราพัฒน์ แก้วทองและกลุ่มเพื่อน วธอ.4 New Tokyo มอบเตียงสร้าง รพ.สนาม วชิรบารมี (30 ก.ค. 2564) แทนคุณแผ่นดินบ้านเกิด ไพฑูรย์ -นราพัฒน์ แก้วทอง ตระเวนมอบเงินช่วย รพ.สนาม ในพิจิตร (26 ก.ค. 2564) ชลประทานพิจิตรเตรียมสูบน้ำจากแม่น้ำยมส่งเข้าคลองบ้านไร่หลวงพ่อขวัญสามง่ามเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศ (22 ก.ค. 2564) พิจิตรเหตุฝนทิ้งช่วงนาข้าวหอมมะลิอำเภอทับคล้อนับหมื่นไร่จ่อแห้งตาย (11 มิ.ย. 2564) ชาวนาพิจิตรเปิดศึกแย่งน้ำชลประทานจับมือฝ่ายปกครองตั้งโต๊ะเจรจาจัดรอบเวรสลับกันสูบน้ำ (10 มิ.ย. 2564) พิจิตรนาข้าว 5 ตำบล 2 หมื่นไร่ วิกฤต ฝนทิ้งช่วงชลประทานจับมือ อบจ.เปิดทางส่งน้ำเร่งช่วย (3 มิ.ย. 2564) กอ.รมน.พิจิตรร่วมรณรงค์ฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อโควิดล่าสุด6วันแล้วเมืองชาละวันไม่พบผู้ติดเชื้อ (3 มิ.ย. 2564) รพ.พิจิตร ส่งผู้ติดเชื้อโควิดรักษาหายแล้วกลับบ้าน (2 มิ.ย. 2564) กรมชลประทานทุ่ม350ล้านสร้างประตูระบายน้ำท่าแหในแม่น้ำยมนาข้าว 8 หมื่นไร่รับประโยชน์ (18 พ.ค. 2564)