กาชาดพิจิตรห่วงโควิด19สั่งปิดหมู่บ้านเกรงชาวบ้านขาดแคลนอาหารเร่งนำเครื่องยังชีพแจกจ่าย

สั่งปิดต่อเนื่องหมู่บ้านเสี่ยงแพร่เชื้อระบาดโควิด19 ต้นเหตุสาวกลับจากออสเตรเลียติดเชื้อป่วยแต่มีเพื่อนบ้านไปคลุกคลีแล้วเข้าร่วมงานบวชนาคสัมผัสคนข้างเคียงนับร้อย สาธารณสุขเข้าสอบสวนโรคนำ 7 คน ตรวจเชื้อส่งห้องแล็บผลเป็นลบ แต่ยังไม่ไว้วางใจสั่งควบคุมบริเวณต่ออีก 14 วัน ล่าสุดพิจิตรยังรักษาพื้นที่เป็นเขตปลอดเชื้อโควิด19 ท่ามกลางความกดดันและใช้มาตรการเข้ม วันที่ 31 มี.ค.. 2563 นางสุกัญญา ชุมอุปการ นายกเหล่ากาชาดจังหวัดพิจิตร พร้อมด้วยนางณัฐญา วงษ์พานิช รองนายกเหล่ากาชาดจังหวัดพิจิตร นางชุลี อัศวพิชยนต์ รองนายกเหล่ากาชาดจังหวัดพิจิตร คณะกรรมการและสมาชิกเหล่ากาชาดจังหวัดพิจิตร ชมรมแม่บ้านมหาดไทย สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพิจิตร ร่วมกันนำเครื่องอุปโภค - บริโภค ถุงยังชีพ และของใช้ที่จำเป็นในการดำรงชีพจำนวน 100 ชุด และหน้ากากอนามัยแบบผ้าและเจลแอลกอฮอล์ ไปมอบให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ณ จุดตรวจคัดกรอง ทั้ง 3 จุด ณ ตำบลห้วยแก้ว อำเภอบึงนาราง จังหวัดพิจิตร เพื่อนำไปแจกจ่ายช่วยเหลือราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด19 ที่บ้านวังปลากราย หมู่ 6 ต.ห้วยแก้ว อ.บึงนาราง จ.พิจิตร ที่ถูกสั่งปิดหมู่บ้านรอบแรกไปแล้ว 14 วัน และสั่งปิดหมู่บ้านต่อเป็นรอบที่ 2 โดยให้ปิดหมู่บ้านไปจนถึงวันที่ 9 เมษายน 2563 ทั้งนี้สืบเนื่องจากหมู่บ้านดังกล่าวได้จัดงานบวชนาคแล้วปรากฏว่า แขกที่มาร่วมงานจำนวน 134 คน ( กลุ่ม B ) ได้ไปสัมผัสกับหญิง ชาวหมู่ 9 บ้านวังตะโก ต.หนองตางู อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์ ( กลุ่ม A ) ที่เดินทางกลับมาจากประเทศออสเตรเลียแล้วเกิดป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด19 จากนั้นคน ( กลุ่ม B ) ก็มาร่วมงานบวชสัมผัสกับแขกในงาน ( กลุ่ม C ) จึงทำให้ต้องมีการสอบสวนโรคแล้วนำตัวกลุ่มเสี่ยงชุดแรก 7 คน ไปตรวจหาเชื้อ ซึ่งผลการตรวจ 3 วันที่ผ่านมาพบว่า ผลการตรวจเป็นลบ ซึ่งหมายความว่าไม่ติดเชื้อไวรัสโควิด19 แต่เพื่อความปลอดภัยและเพื่อความมั่นใจ ผู้ว่าฯพิจิตร จึงสั่งปิดหมู่บ้าน บ้านวังปลากราย หมู่ 6 ต.ห้วยแก้ว อ.บึงนาราง จ.พิจิตร ต่อไปอีกระยะหนึ่งจนกว่าจะถึงวันที่ 9 เมษายน 2563 ปิดหมู่บ้านชนิดที่ว่า คนในห้ามออก คนนอกห้ามเข้า และมีการคัดกรองอย่างละเอียด จึงทำให้ราษฎรในหมู่บ้านดังกล่าวที่มีประมาณ 80 หลังคาเรือน มีประชากรที่อยู่อาศัยจริงเป็นปัจจุบันประมาณ 134 คน เริ่มได้รับผลกระทบในชีวิตความเป็นอยู่ประจำวัน ทั้งอาชีพ และรายได้ รวมถึงเรื่องอาหารการกิน ดังนั้นกาชาดจังหวัดพิจิตร จึงนำถุงยังชีพไปแจกจ่ายให้เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับราษฎรกลุ่มดังกล่าว ในส่วนของสถานการณ์โรคไวรัสควิด19 ของจังหวัดพิจิตร นายแพทย์ธีระพงษ์ แก้วภมร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพิจิตร กล่าวยืนยันว่าถึงวันนี้จังหวัดพิจิตรยังคงรักษาแชมป์ปกป้องเมืองพิจิตร เป็น 1 ใน 15 จังหวัดที่ปราศจากผู้ป่วยหรือผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด19 แต่สถานการณ์ยังคงต้องติดตามแบบวันต่อวัน ล่าสุดรายงานการเฝ้าระวัง 156 ราย พ้นระยะเฝ้าระวัง 109 ราย ยังมีผู้ที่ยังอยู่ในข่ายเฝ้าระวัง 47 ราย

ข่าวทั่วไป

  • nppct
  • 11 เม.ย. 2568
  • 175

กอ.รมน.- ตำรวจ.-ปกครองพิจิตร ตรวจสถานบันเทิงยามราตรีต้อนรับเทศกาล สงกรานต์ท่องเที่ยวปลอดภัย

เมื่อคืนที่ผ่านมา พ.อ.สัมฤทธิ์ ฉัตรวัฒนาสกุล รอง ผอ.รมน.จังหวัด พ.จ.(ท.) มอบหมายให้ พ.ต.รณชัย ประจันสี หน.ชุด ชรต.307 กอ.รมน.จังหวัด พ.จ. พร้อมด้วยกำลังพล กอ.รมน.จังหวัด พ.จ. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยว

อ่านต่อ...
แม่น้ำยมแห้งขอดกลายเป็นสนามฟุตบอลเกษตรจังหวัดพิจิตรชี้นาข้าวกว่า1ล้านไร่ไม่มีน้ำทำนา (13 ก.ค. 2563) ชาวบ้านหัวดงเมืองชาละวันยกพวกแห่แจ้งความแน่นโรงพักทองคำราคาโปรโมชั่นสุดท้ายถูกหลอก (12 ก.ค. 2563) ผู้ว่าฯพิจิตรรับมอบปุ๋ย25ตันจากบริษัทยาราแจกชาวสวนมะม่วงปิ๊งไอเดียทำเกษตรเพื่อการท่องเที่ยว (28 มิ.ย. 2563) สส.พิจิตรลงพื้นที่ติดตามงบประมาณการขุดบ่อน้ำขนาดเล็ก1,260ลบ.ม.ในไร่นาเพื่อกักเก็บน้ำแก้ปัญหาภัยแล้ง (22 มิ.ย. 2563) พิจิตรกองทัพบกส่งทหารช่างพร้อมเครื่องจักรกลเร่งขุดลอกแหล่งน้ำ11แห่งแก้ปัญหาภัยแล้ง (15 มิ.ย. 2563) เจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราชฯ โปรดประทานถุงยังชีพช่วยเหลือชาวอำเภอดงเจริญพิจิตรบรรเทาทุกข์โควิด19 (14 มิ.ย. 2563) ภัยแล้งเป็นเหตุชาวนาพิจิตรกว่า200คนคัดค้านก่อสร้างประตูน้ำบึงสามัคคีกำแพงเพชรอ้างลำคลองต้องใช้น้ำร่วมกัน (6 มิ.ย. 2563) นราพัฒน์ ผช.รมต.เกษตรมั่นใจชลประทานสร้างประตูระบายน้ำในแม่น้ำยมสามารถช่วยแก้ภัยแล้ง (23 พ.ค. 2563) แม่น้ำยมพิจิตรแห้งขอดไม่รอแล้วเขื่อนแก่งเสือเต้นกรมชลประทานเร่งมือสร้างอาคารบังคับน้ำแบบขั้นบันได (21 พ.ค. 2563) ชาวบ้านนับร้อยบุกคลังจังหวัดพิจิตรยื่นคำร้องวันสุดท้ายทบทวนสิทธิ์รับเงินเยียวยา5พัน (15 พ.ค. 2563)