โรงไฟฟ้าRDFพิจิตรร่วมสนับสนุนท้องถิ่นจัดประกวดการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน

มีคำกล่าวที่ว่า ในโลกนี้ไม่มีขยะหรือสิ่งของเหลือใช้เหลือทิ้งมีแต่สิ่งของที่วางไว้ไม่ถูกที่ถูกทาง จึงกลายเป็นขยะแต่หากรู้วิธีคัดแยกขยะก็กลายเป็นของมีค่าและเปลี่ยนเป็นเงินได้ พิจิตรเมืองชาละวันจัดโครงการประกวดการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “อำเภอสะอาด” เพื่อให้แต่ละท้องถิ่นตื่นตัวแข่งขันกันในการรักษาสิ่งแวดล้อม งานนี้โรงไฟฟ้าRDF ซึ่งตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือตอนล่างพิจิตรเสนอตัวร่วมสนับสนุนท้องถิ่นเปลี่ยนขยะให้กลายเป็นเงินและเชื้อเพลิงผลิตกระแสไฟฟ้า

วันที่ 25 ก.ย. 2563 นายสืบพงษ์ นิ่มพูลสวัสดิ์ ปลัดจังหวัดพิจิตร ได้เป็นประธานในการประชุมเพื่อคัดเลือกผลงานของท้องถิ่นต่างๆจาก 9 อำเภอ ของจังหวัดพิจิตรที่ส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชน “อำเภอสะอาด”ที่ห้องประชุมท้องถิ่นจังหวัดพิจิตร ชั้น 3 ศาลากลางพิจิตร โดยมี เรือโทวิรัตน์ โอฐน้อย ท้องถิ่นจังหวัดพิจิตร และตัวแทนจากอำเภอต่างๆ เข้าร่วมนำเสนอผลงานของแต่ละองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับอำเภอที่ร่วมทำโครงการปลุกจิตสำนึกประชาชนและเยาวชนให้มีการร่วมกันบริหารจัดการขยะและการคัดแยกขยะ ทั้งขยะเปียก ขยะแห้ง ขยะรีไซเคิล ที่ต่างมีองค์ความรู้และเข้าใจถึงหลักการว่า ในโลกนี้ไม่มีขยะหรือของเหลือใช้เหลือทิ้งจะมีก็แต่เพียงวางไว้ไม่ถูกที่และนำไปใช้ไม่ถูกทาง หากรู้ลึก รู้จริง ทำจริง ก็จะเข้าใจได้ถ่องแท้ว่าขยะสามารถเปลี่ยนเป็นเงินและสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้รวมถึงนำเศษวัสดุเหลือใช้มาดัดแปลงเป็นผลิตภัณฑ์หรือชิ้นงานต่างๆได้อย่างมากมาย อีกทั้งขยะเหลือทิ้งเหลือใช้จากโรงงานอุตสาหกรรมประเภทเครื่องหนัง เศษไม้ เศษวัสดุจากงานก่อสร้างหรือจากโรงงานต่างๆ สามารถมาทำเป็นพลังงานเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าในรูปแบบ โรงงานไฟฟ้า RDF ได้อีกด้วย

ในส่วนของ นายมนตรี หาญพิริยะสกุลชัย ผู้จัดการโครงการอาวุโสบริษัท ซุปเปอร์เอิร์ธ เอนเนอร์ยี 6 จำกัด , นายประเสริฐ นาคนิคาม ผู้อำนวยการฝ่ายชุมชนสัมพันธ์ ซึ่งเป็นผู้บริหารของโรงไฟฟ้า RDF ที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือตอนล่าง อ.วชิรบารมี จ.พิจิตร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของภาคเอกชน ที่เข้ามาเป็นผู้ร่วมสนับสนุนโครงการดังกล่าวนี้ ได้กล่าวว่า...โรงงานของเราขอเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนโดยโรงงานเป็นที่รองรับขยะจากชุมชน ซึ่งสานต่อนโยบายของการบริหารจัดการชอง อ.วชิรบารมี ในเรื่องการคัดแยกขยะจากชุมชน คัดแยกเศษวัสดุเหลือใช้จำพวกเหล็กหรือพลาสติก เศษหนัง เศษไม้ รวมถึงวัสดุอื่นๆด้วย ดังนั้นสิ่งที่เกิดจากการคัดแยกขยะจากชุมชนที่รวบรวมมาแล้วมีปริมาณมากน้อยแค่ไหนก็ตามก็สามารถมาใช้โรงงานไฟฟ้า RDF เพื่อการกำจัดขยะแต่ก่อให้เกิดประโยชน์เป็นวัตถุดิบในการสร้างเป็นกระแสไฟฟ้า ซึ่งขยะจากส่วนนี้สามารถเปลี่ยนเป็นเงินเข้าสู่ชุมชนได้ ดังนั้นหากรู้และเข้าใจก็จะเข้าถึงกรรมวิธีในการคัดแยกเพราะต่อจากนี้ไป “ขยะนั้นไม่ใช่ขยะอีกต่อไปแล้ว แต่ขยะสามารถสร้างเป็นรายได้ให้กับชุมชนได้อีกด้วย” รวมถึงการคัดแยกขยะและการนำกลับมาใช้ใหม่ก็จะเป็นส่วนหนึ่งในการทำให้สิ่งแวดล้อมในชุมชนน่าอยู่เพิ่มขึ้นตามวัตถุประสงค์ของโครงการ “ อำเภอสะอาด” ที่จังหวัดพิจิตรกำลังตื่นตัวดำเนินการอยู่ในทุกวันนี้

ข่าวทั่วไป

  • nppct
  • 20 ก.ค. 2566
  • 129

กรมชลประทานโชว์ผลงานงบ515ล้านก่อสร้างปตร.ท่านางงามส่งผลนาข้าว5หมื่นไร่ลุ่มน้ำยมอุดมสมบูรณ์

วันที่ 18 กรกฎาคม 2566 นายธนบดี รักสัตย์ ผู้อำนวยการสำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 3 กองพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลาง กรมชลประทาน มอบให้ นายธนาธิป แก้วมณี หัวหน้าฝ่ายก่อสร้างที่ 1 ให้ข้อมูลกับผู้สื่อ

อ่านต่อ...
คุณพระช่วย!พระครูยังวัดสามง่ามยกสำนักปฏิบัติธรรมสถานที่สุดหรูให้เป็นโรงพยาบาลสนาม (9 ส.ค. 2564) ปปท.เขต6ติดอาวุธทางปัญญาสร้างเครือข่ายให้ความรู้ชาวเมืองชาละวันปราบโกงยุคโควิด (6 ส.ค. 2564) Happy Birthday นราพัฒน์ แก้วทอง มอบของขวัญวันเกิดให้ตัวเองด้วยการให้ (2 ส.ค. 2564) ด้วยความห่วงใย !ไพฑูรย์-นราพัฒน์ แก้วทองและกลุ่มเพื่อน วธอ.4 New Tokyo มอบเตียงสร้าง รพ.สนาม วชิรบารมี (30 ก.ค. 2564) แทนคุณแผ่นดินบ้านเกิด ไพฑูรย์ -นราพัฒน์ แก้วทอง ตระเวนมอบเงินช่วย รพ.สนาม ในพิจิตร (26 ก.ค. 2564) ชลประทานพิจิตรเตรียมสูบน้ำจากแม่น้ำยมส่งเข้าคลองบ้านไร่หลวงพ่อขวัญสามง่ามเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศ (22 ก.ค. 2564) พิจิตรเหตุฝนทิ้งช่วงนาข้าวหอมมะลิอำเภอทับคล้อนับหมื่นไร่จ่อแห้งตาย (11 มิ.ย. 2564) ชาวนาพิจิตรเปิดศึกแย่งน้ำชลประทานจับมือฝ่ายปกครองตั้งโต๊ะเจรจาจัดรอบเวรสลับกันสูบน้ำ (10 มิ.ย. 2564) พิจิตรนาข้าว 5 ตำบล 2 หมื่นไร่ วิกฤต ฝนทิ้งช่วงชลประทานจับมือ อบจ.เปิดทางส่งน้ำเร่งช่วย (3 มิ.ย. 2564) กอ.รมน.พิจิตรร่วมรณรงค์ฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อโควิดล่าสุด6วันแล้วเมืองชาละวันไม่พบผู้ติดเชื้อ (3 มิ.ย. 2564)