พิจิตรคู่รักบัณฑิตจบปริญญาโทหันหลังให้เมืองหลวงเดินตามรอยพ่อใช้ชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

นายสนั่น คุยสี อายุ 46 ปี และ นางสมพิศ คุยสี อายุ 44 ปี สองสามีภรรยาที่ปัจจุบันนี้ประกอบอาชีพเกษตรกรรรม อยู่ที่บ้านเลขที่ 55 หมู่ 10 บ้านหนองกรด ต.สากเหล็ก อ.สากเหล็ก จ.พิจิตร เล่าถึงชีวิตที่ผกผันจากมนุษย์เงินเดือนเมืองกรุงที่ต้องเปลี่ยนชีวิตมาเป็นเกษตรกร ว่า ก่อนหน้านั้น นายสนั่นผู้เป็นสามี เรียนจบปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีไฟฟ้าอุตสาหกรรม ล่าสุดก่อนจะมาเป็นเกษตรกรเป็นผู้จัดการคอนโดมิเนียมในกรุงเทพ ได้เงินเดือน 2,2000 บาท ส่วน นางสมพิศ ( ภรรยา ) เรียนจบปริญญาตรี สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ จบปริญญาโทสาขาMBA การจัดการธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ล่าสุดก่อนจะมาเป็นเกษตรกรเป็น พนักงานราชการของมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งหนึ่งได้เงินเดือน 36,000 บาท คู่รักบัณฑิตเล่าต่อว่า การใช้ชีวิตในเมืองกรุงมองผิวเผินอาจจะดูสนุกและท้าทายมีรายได้ดีแต่เบื้องหลัง คือความเครียดและการแข่งขันในชีวิตประจำวัน ทุกคนมุ่งแต่การทำงานที่ต้องการจะได้เงินเยอะๆ แต่ลืมดูแลเรื่องอาหารการกินและสุขภาพจนในที่สุด นางสมพิศ (ภรรยา ) ก็ป่วยเป็นโรคเส้นเลือดดำอุดตันในสมอง มีอาการเหมือนคนเป็นอัมพฤกษ์ครึ่งซีก เงินทองที่ได้มากลับไร้คุณค่าเมื่อต้องแลกกับสุขภาพวิ่งเข้า-ออก โรงพยาบาลเกือบแทบทุกวัน จนในที่สุดก็ตัดสินใจว่าจะต้องค้นหาความสุขมากว่าค้นหาเงินทอง พ.ศ.2555 นายสนั่น ( สามี ) จึงตัดสินใจลาออกจากงานเดินทางกลับบ้านเกิดที่จังหวัดพิจิตร ซึ่งมีที่ดินเป็นมรดกตกทอดจากพ่อแม่จำนวน 14 ไร่ ซึ่งเป็นทุ่งนา จากนั้นก็ลงมือปรับพื้นที่ใช้เวลา 3 ปี เปลี่ยนจากทุ่งนาเป็นป่าไผ่ ป่าไม้เบญจพรรณ ไม้ผลยืนต้น ปลูกกล้วยและพืชผักสวนครัวพืชสมุนไพร และอื่นๆอีกมากมาย แต่ด้วยความที่เคยชินกับชีวิตเมืองกรุงที่จิตใต้สำนึกในช่วงนั้นมุ่งจะหาแต่เงินจนลืมคิดไปว่าการทำการเกษตรไม่ได้มีเส้นชัยที่จะเดินไปถึงได้ง่ายๆ เพราะมีขวากหนามและอุปสรรค มีผลผลิตก็ไม่มีตลาด มีตลาดสินค้าที่เรามีก็ราคาตกต่ำ ออกจากเมืองกรุงมุ่งสู่ท้องนา ขายบ้าน ขายคอนโด มีเงินสดมานับล้านบาทก็หมดสิ้น ลองผิดลองถูกขาดทุนแต่ก็ถือว่าเป็นค่าลงทะเบียนในการเรียนรู้ จนในที่สุดก็ตกผลึกความคิด ว่า “ในความไม่มีเราทำอะไรได้บ้าง” จากนั้นก็เริ่มต้นดำเนินการแบบใหม่ ซึ่งทุกวันนี้ได้ก้าวเข้าสู่ความมั่นคงทางด้านอาชีพการเกษตรแล้ว นายสนั่น ( สามี ) เล่าต่ออีกว่า ตนเองเป็นแนวหน้าใช้ชีวิตเกษตรกรเพื่อปรับตัวและทดลองใช้ชีวิตจริงในไร่นา นำหน้าภรรยาไปก่อน 3 - 4 ปี จากนั้นมั่นใจว่าการเดินตามรอยเท้าพ่อตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงด้วยการทำไร่นาสวนผสมก่อให้เกิดรายได้ พอกิน พออยู่ พอใช้ แต่ได้อากาศที่บริสุทธิ์ ได้สุขภาพ ได้ความสุขที่แท้จริง จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2560 นางสมพิศ ( ภรรยา ) จึงตัดสินใจลาออกจากการเป็นพนักงานราชการหันหลังให้เมืองกรุงมาใช้ชีวิตเป็นเกษตรกรจึงทำให้สุขภาพดีและแข็งแรงขึ้น นายสนั่น และ นางสมพิศ คู่รักบัณฑิตปริญญาโท ทุกวันพฤหัสบดีก็จะนำผลผลิตมานั่งขายที่ตลาดเกษตรกร ที่บริเวณหน้าสำนักงานเกษตรจังหวัดพิจิตร มีผลิตภัณฑ์ชิ้นหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ “ผงกล้วยน้ำว้าดิบ” ที่เกิดจากการฉุกคิดเรื่องของภูมิปัญญาชาวบ้านแต่โบราณรวมถึงแนวความคิดในการแก้ปัญหาผลผลิตล้นตลาดที่ตนเองปลูกกล้วยน้ำว้าไว้บนที่ดินประมาณ 400-500 ต้น พอถึงเวลามีผลผลิตมากๆ ก็ราคาตก จึงตัดสินใจนำมาแปรรูปเป็นผงกล้วยดิบบรรจุซองขาย กรรมวิธีการทำก็ไม่ได้ยุ่งยากแต่ก็มีเคล็ดลับนิดหน่อยที่บอกกันไม่ได้ เริ่มต้นจากคัดหากล้วยน้ำว้าดิบที่แก่จัดประมาณ 80% จากนั้นนำมาล้างยางกล้วยออกแล้วนำมาปอกเปลือกหั่นเป็นชิ้นๆนำเข้าเตาอบพลังงานแสงอาทิตย์จนแห้ง จากนั้นก็นำมาเข้าเครื่องบดยาสมุนไพรที่เป็นเครื่องปั่นด้วยระบบไฟฟ้าปั่นจนเป็นผงละเอียดแล้วนำใส่ตะแกรงร่อนจนได้ผงกล้วยที่ละเอียด ก็นำมาบรรจุซองขายปลีกในราคาซองละ 50 บาท ปริมาณ 150 กรัม แล้วนำไปชงในน้ำอุ่นดื่มกินจะได้ปริมาณ 10 แก้ว ผู้บริโภคที่รักสุขภาพที่ซื้อไปรับประทานเป็นอาหารเช้าแบบซีเรียล ( อาหารเช้าที่ทำจากธัญพืช ) นอกจากนี้ผงกล้วยดิบยังมีสรรพคุณ รักษาแผลในกระเพาะอาหารและรักษาอาการของโรคกรดไหลย้อน รวมถึงลดอาการท้องเสียตามแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน ได้อีกด้วย นอกจากนี้ผู้บริโภคก็ยังนำไปกินเป็นอาหารลดความอ้วน หรือนำไปเป็นส่วนผสมของเบเกอรี่เพื่อยืดอายุในการถนอมอาหาร สำหรับการนำ “ผงกล้วยน้ำว้าดิบ” ชงกับน้ำอุ่นก็สามารถเพิ่มรสชาติหรือปรุงแต่งให้อร่อยถูกปากได้ในหลายวิธี แต่วิธีที่ง่ายที่สุดคือเติมความหวานด้วย “ไซรัปกล้วย” ที่ นายสนั่น และ นางสมพิศ คู่รักบัณฑิตปริญญาโท ได้ทำขึ้นเอง โดยใช้กล้วยน้ำว้าที่แก่จัดๆจนเปลือกกล้วยมีสีดำคล้ำ นำมาหมักผสมกับน้ำตาลทรายแดงใช้ระยะเวลา 6 เดือน จากนั้นนำไปเคี่ยวบนเตาไฟ 4 ชั่วโมง จนได้เป็น “ไซรัปกล้วย” ก็จะทำให้รสชาติอร่อย จากชีวิต คู่รักบัณฑิตปริญญาโท ที่หันหลังให้เมืองกรุงและชีวิตมนุษย์เงินเดือนที่แสนจะสับสนวุ่นวายมีแต่ความเครียดเมื่อมาใช้ชีวิตเกษตรกรเดินตามรอยพ่อตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก มีมากเหลือกินก็แจกจ่ายเพื่อนบ้าน มีเหลือก็นำออกขายเป็นรายได้ ความรู้ที่มีก็แบ่งปันจึงเป็นการค้นพบความสำเร็จและความสุขที่ยิ่งใหญ่นั่นเอง นอกจากทำไร่นาสวนผสมปลูกผัก เลี้ยงปลา ทำนาข้าวแล้ว “คู่รักบัณฑิตปริญญาโท” ยังได้ทำกระท่อมหลังเล็กๆเพื่อให้เป็นที่พักของผู้ที่อยากสัมผัสชีวิตติดดินใกล้ชิดธรรมชาติในรูปแบบฟาร์มเมอร์สเตย์ อีกด้วย สนใจผลิตภัณฑ์ “ผงกล้วยน้ำว้าดิบ” หรือ อยากมาสัมผัสชีวิตเกษตรกรรมสามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ เฟสบุ๊ค สวนพลิกใจ โทร 085-8468787

ข่าวทั่วไป

  • nppct
  • 11 เม.ย. 2568
  • 175

กอ.รมน.- ตำรวจ.-ปกครองพิจิตร ตรวจสถานบันเทิงยามราตรีต้อนรับเทศกาล สงกรานต์ท่องเที่ยวปลอดภัย

เมื่อคืนที่ผ่านมา พ.อ.สัมฤทธิ์ ฉัตรวัฒนาสกุล รอง ผอ.รมน.จังหวัด พ.จ.(ท.) มอบหมายให้ พ.ต.รณชัย ประจันสี หน.ชุด ชรต.307 กอ.รมน.จังหวัด พ.จ. พร้อมด้วยกำลังพล กอ.รมน.จังหวัด พ.จ. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยว

อ่านต่อ...
ธรรมนัสจับมือ ธกส.เร่งแก้ปัญหาหนี้นอกระบบหนุนชาวนาพิจิตรปลูกข้าว กข79 ทำMOUส่งจีนล็อตแรก 1หมื่นตัน (25 ต.ค. 2562) เจาะข่าวธุรกิจขายตรง NYG มาแรงสวนกระแสเศรษฐกิจ (24 ต.ค. 2562) ชาวบ้านแห่ร้องศูนย์ดำรงธรรมอ้างนโยบายลุ่งตู่หลอกพาไปกู้เงินต้องเป็นหนี้ธนาคารแต่ไม่ได้จับเงิน (16 ต.ค. 2562) แม่น้ำพิจิตรวิกฤตซ้ำแล้วซ้ำเล่าแต่ชาวบ้านสู้สุดฤทธิ์รับมือวิกฤตสู้ภัยแล้ง (16 ต.ค. 2562) แม่น้ำยมส่งสัญญาณวิกฤตภัยแล้งแล้วชาวบ้านไม่รอภาครัฐรวมตัวทำฝายชะลอน้ำ (15 ต.ค. 2562) นายอำเภอเมืองพิจิตรนำชาวบ้าน-พระสงฆ์-ลิเก ปั่น ปันน้ำใจให้ผู้ป่วยผู้พิการติดบ้านติดเตียง (15 ต.ค. 2562) พิจิตรพาเที่ยวตลาดน้ำพระสงฆ์พายเรือบิณฑบาตชิมก๋วยเตี๋ยวปลากริมอร่อยแซ่บเว่อ (7 ต.ค. 2562) ผู้ว่าฯเมืองชาละวันสั่งเร่งช่วยแก้วิกฤตแม่น้ำพิจิตรเริ่มแห้งขอดหวั่นเกษตรกรเดือดร้อน (4 ต.ค. 2562) พิจิตรจัดเทศกาลกินเจแห่กินของฟรีประหยัดเงินได้บุญอิ่มท้อง (28 ก.ย. 2562) พิจิตรฝายน้ำล้นแตกชาวนาหวั่นไม่มีน้ำทำนาวอนเร่งแก้ก่อนรัฐแจกบัตรคนจนเพิ่ม (24 ก.ย. 2562)