พิจิตรวิกฤตการศึกษาโรงเรียนเล็กในชนบทเหลือครูแค่คนเดียววอนรัฐเหลียวแล

ร.ต.ท.กิตติ ศรีโสภณ อายุ 57 ปี ซึ่งเป็นคณะกรรมการสถานศึกษาฯของโรงเรียนวัดหงษ์ ซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลย่านยาว อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร เล่าให้ฟังว่าตนเองเป็นศิษย์เก่าของโรงเรียนวัดหงษ์ เป็นคนในพื้นที่เติบโตอยู่ในชุมชนแห่งนี้ เมื่อเติบโตขึ้นก็ได้รับราชการเป็นตำรวจจึงได้มีโอกาสกลับมาทดแทนคุณบ้านเกิดและโรงเรียนทุกวันนี้เห็นปัญหาของโรงเรียนวัดหงษ์ ที่ในอดีตมีเด็กนักเรียนนับร้อยคน มีครู 10 กว่าคน แต่ทุกวันนี้ทั้งโรงเรียนมีครูประจำการเพียงแค่ 1 คนเท่านั้น และมีนักการภารโรงอีก 1 คน มีเด็กนักเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาลจนถึงชั้น ป.6 รวม 28 คน จึงน่าเป็นห่วงว่าอนาคตของเด็กๆเหล่านี้จะเป็นอย่างไร เพราะเด็กส่วนใหญ่ล้วนมีผู้ปกครองที่เป็นเกษตรกรและทำงานรับจ้างอยู่ในเมืองและไปทำงานต่างจังหวัดทิ้งลูกหลานให้อยู่กับ ปู่ ย่า ตา ยาย ที่เป็นคนแก่เฝ้าบ้าน เด็กๆเหล่านี้ครอบครัวส่วนใหญ่มีฐานะค่อนข้างยากจน จึงไม่มีปัญญาที่จะส่งลูกๆไปเรียนที่ในเมือง แต่ในเมื่อนโยบายของรัฐบาลส่งเสริมขอให้เรียนที่โรงเรียนใกล้บ้านแต่กลับกลายเป็นว่าโรงเรียนไม่มีครู นางจรรยา เพ็ชรพงษ์ “ ครูอี๊ด” อายุ 61 ปี จบป.ตรี เอกการประถมศึกษา , จบ ป.โท การบริหารศึกษา อดีตเคยเป็นครูที่โรงเรียนวัดหงส์แห่งนี้มายาวนานถึง 31 ปี แต่ทุกวันนี้ปลดเกษียณแล้วมีเบี้ยบำนาญเดือนละ 48,000 บาท เล่าให้ฟังว่าตนเองและสามีคือ นายเจนศักดิ์ เพ็ชรพงษ์ “ ครูเบิ้ม “ ปลดเกษียณพร้อมกัน แต่ด้วยความผูกพันและเป็นห่วงเด็กนักเรียนที่เป็นลูกศิษย์ ว่า อนาคตจะเป็นเช่นไรหากไม่มีครูมาคอยให้ความรู้เนื่องจากในปัจจุบันนี้นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการผูกติดอยู่กับกฎเกณฑ์ว่า มีเด็ก 20 คน จะได้ครู 1 คน แต่โรงเรียนวัดหงษ์แห่งนี้ในอดีตประมาณปี พ.ศ. 2540 เคยรุ่งเรืองมีเด็กนักเรียนมากถึง 120 คน มีครู 10 คน แต่ต่อจากนั้นครูบางคนก็ขอย้าย ครูบางคนก็ลาออกจากราชการไปประกอบอาชีพอย่างอื่นจึงทำให้ครูลดลงและไม่มีครูใหม่มาทดแทนรวมถึงเด็กนักเรียนก็เริ่มลดลงไปด้วยเช่นกัน เหตุผลเพราะผู้ปกครองที่มีฐานะก็มีค่านิยมส่งบุตรหลานไปเรียนในเมืองเหลือไว้แต่เด็กๆที่ผู้ปกครองมีฐานะเป็นคนหาเช้ากินค่ำก็ฝากความหวังไว้กับครู-โรงเรียน ใกล้บ้าน แต่พอถึงวันนี้กลับกลายเป็นว่าโรงเรียนในชนบทต้องพบกับจุดวิกฤติ “ ครูอี๊ด” และ “ ครูเบิ้ม ” ถึงแม้จะปลดเกษียณไปแล้วก็ยังตัดขาดจากโรงเรียนแห่งนี้ไม่ได้ จึงต้องมาช่วยกันสอนเด็กนักเรียนตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันศุกร์ โดยไม่รับค่าตอบแทนใดๆแม้แต่บาทเดียว แถมยังต้องควักเงินส่วนตัวปีละเกือบหมื่นบาทมาช่วยเป็นทุนการศึกษาและเป็นเงินกองทุนเพื่อบริหารจัดการโรงเรียนและช่วยเด็กนักเรียนให้อยู่รอดพ้นวิกฤต มีอนาคตทางการศึกษา ซึ่งทำเช่นนี้มาตั้งแต่วันที่ปลดเกษียณจนถึงวันนี้และจะทำต่อไปจนกว่าจะหมดแรง หรือส่งลูกศิษย์ขึ้นฝั่งถ้าโรงเรียนเหลือเด็กคนเดียว หรือคนสุดท้ายก็ตาม เช่นเดียวกับ นางสาวภูริชญา รัศมี อายุ 31 ปี จบการศึกษา ป.ตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ นางสาวพิจิตรา ศรีชู อายุ 25 ปี จบ ป.ตรี สาขาอนามัยสิ่งแวดล้อม ทั้งคู่เป็นคนภูมิลำเนาอยู่ในตำบลย่านยาวและเป็นศิษย์เก่าของโรงเรียนวัดหงษ์ เล่าว่า เมื่อเรียนจบก็กลับมาช่วยทางบ้านทำการเกษตรแบบไร่นาสวนผสม เมื่อมาเห็นโรงเรียนที่ตนเคยเรียนและเห็นเด็กๆที่เป็นรุ่นน้องก็นึกสงสารจึงคิดว่าน่าจะนำความรู้ที่มีมาถ่ายทอดแบ่งปัน จึงได้ขอสมัครมาเป็นครูจิตอาสาช่วยสอนหนังสือ ซึ่งก็ได้ค่าตอบแทนเดือนละ 6,000 บาท ซึ่งเป็นเงินที่ ชาวบ้าน- ผู้ปกครอง- ผู้นำท้องถิ่น – กรรมการสถานศึกษา – ผู้ใหญ่ใจดี ที่ต่างเรี่ยไรลงขันมอบเงินทำบุญมาให้กับโรงเรียนเป็นกองทุนในการจ้างพวกเธอ ถึงแม้ว่าจะมีรายรับไม่มากนักแต่พวกเธอก็บอกว่า ทำแล้วมีความสุขจึงเต็มใจแต่อยากเห็นอนาคตของเด็กๆในหมู่บ้านจึงอยากวิงวอนขอให้ภาครัฐหาแนวทางช่วยเหลือโรงเรียนในชนบทที่ล้วนเจอปัญหาแบบนี้อีกหลายแห่งด้วยเช่นกัน ในส่วนของ นางสมหมาย วิชัย รักษาการในตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดหงส์ ที่เป็นครูประจำการเพียงคนเดียวของโรงเรียนแห่งนี้ ทำหน้าที่ทั้งเป็น ครูใหญ่ – ครูน้อย – หัวหน้าฝ่ายพัสดุ และอีกสารพัดตำแหน่งที่เหมารวมคนเดียวเปิดเผยความในใจว่า “ เคยคิดท้อถอยอยากจะลาออก แต่คิดดูแล้วว่า ถ้าตนเองลาออกหรือทิ้งลูกศิษย์ก็เหมือนกับตนเองเป็นฆาตกรถ้าปล่อยลูกศิษย์ให้ลอยแพ จึงยิ้มสู้ยอมทำทุกอย่างโดยไม่ปริปากบ่น” ถึงแม้ว่าทุกวันนี้จะต้องสอนหนังสือ จะต้องวิ่งไปประชุม จะต้องนั่งทำเอกสารต่างๆตามระเบียบราชการก็ยังสู้ไหวเหตุเพราะได้เพื่อนครูที่มีจิตอาสารวมถึงมีคนในชุมชนคอยให้กำลังใจ ซึ่งท้ายที่สุดนี้ก็ทำได้แค่พูดว่าอยากขอความเมตตา อยากขอครูเพิ่ม อยากขอเชิญชวนท่านผู้ใจบุญถ้าอยากจะทำบุญในโอกาสสำคัญหรือวันพิเศษจะมาเลี้ยงอาหารกลางวันเด็ก หรืออยากจะมอบทุนการศึกษาให้กับเด็กๆที่อยู่ในพื้นที่ชนบท ก็สามารถติดต่อได้ที่ นางสมหมาย ครูโรงเรียนวัดหงส์ โทร 083-9606253 , ร.ต.ท.กิตติ ศรีโสภณ กรรมการสถานศึกษา โทร 087-2020554

ข่าวทั่วไป

  • nppct
  • 11 เม.ย. 2568
  • 181

กอ.รมน.- ตำรวจ.-ปกครองพิจิตร ตรวจสถานบันเทิงยามราตรีต้อนรับเทศกาล สงกรานต์ท่องเที่ยวปลอดภัย

เมื่อคืนที่ผ่านมา พ.อ.สัมฤทธิ์ ฉัตรวัฒนาสกุล รอง ผอ.รมน.จังหวัด พ.จ.(ท.) มอบหมายให้ พ.ต.รณชัย ประจันสี หน.ชุด ชรต.307 กอ.รมน.จังหวัด พ.จ. พร้อมด้วยกำลังพล กอ.รมน.จังหวัด พ.จ. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยว

อ่านต่อ...
ผู้ว่าฯพิจิตรสั่งตั้งป้อมปราการสกัดโควิด19จัดงบซื้อเครื่องเทอร์โมสแกนหนุนการแพทย์ (27 มี.ค. 2563) สสจ.พิจิตรตั้งด่านตรวจโควิด19รักษาพื้นที่เมืองชาละวันให้เป็นพื้นที่ปลอดเชื้อปลอดภัย (26 มี.ค. 2563) พิจิตรพัฒนาฝีมือแรงงานส่งจักรเย็บผ้าหนุนชาวบ้านรวมตัวตัดเย็บทำหน้ากากอนามัยสู้โควิด19 (25 มี.ค. 2563) พิจิตรผวาชาละวันกทม.คืนถิ่นเตรียมตั้งโรงพยาบาลสนามปิดตลาดนัดสู้โควิด19 (23 มี.ค. 2563) พิจิตรชาวบ้านระทมพายุฤดูร้อนพัดถล่มบ้านเรือนพังเสียหาย20หลังคาเรือน (22 มี.ค. 2563) พิจิตรหลวงพ่อวอนขอ 8 บาท ทำบุญทอดผ้าป่าซื้อหน้ากากอนามัยถวายพระสงฆ์ (13 มี.ค. 2563) ชาวบ้านวอนการไฟฟ้าช่วยด้วยกระแสไฟฟ้าไม่พอใช้ไฟฟ้าตกบ่อยร้องทุกข์ 5 ปี ถึงวันนี้ยังรอการแก้ไข (6 มี.ค. 2563) ข่าวลวงโลก!อุตุพิจิตรลงพื้นที่ชี้แจงมีฝนตกเมฆฝนไม่ได้มาจากจีนน้ำสะอาดดื่มกินได้ (3 มี.ค. 2563) พิจิตรครูวอนเมตตาขอบริจาค30บาทช่วยลูกศิษย์บ้านถูกไฟไหม้ (1 มี.ค. 2563) พิจิตรภัยแล้งหน้าร้อนเกิดเหตุไฟไหม้บึงสีไฟส่งผลมลภาวะPM2.5ฟุ้งกระจาย (28 ก.พ. 2563)