พิจิตรวิกฤตโรงสีข้าวทยอยปิดกิจการเหตุราคาข้าวมีแต่ทรงกับทรุดหลายแห่งประกาศหยุดรับซื้อข้าวจากชาวนาแล้ว

นางมิ่งขวัญ พุกเปี่ยม “เจ๊หนิง” ประธานชมรมโรงสีข้าว จ.พิจิตร เปิดเผยถึงภาวะวิกฤตของโรงสีข้าวในเขตพื้นที่จังหวัดพิจิตร ซึ่งถือได้ว่าเป็นดินแดนปลูกข้าวชั้นดีที่มีปริมาณข้าวออกสู่ตลาดมากว่า 1 ล้านตันต่อปี แต่ขณะนี้ไม่รู้เกิดอะไรขึ้นกับสมาชิกในชมรมโรงสีข้าวพิจิตรที่เมื่อปีก่อนๆมีสมาชิกมากถึง 34 โรง แต่พอมาถึงยุคปี 2561 ก็มีโรงสีปิดกิจการและยังคงเป็นสมาชิกชมรมโรงสีข้าวพิจิตรเหลืออยู่แค่เพียง 29 แห่ง แต่ปัจจุบัน ณ วันนี้ กลับวิกฤตหนักซ้ำลงไปอีก โรงสีต่างๆที่เคยเฟื่องฟูรับซื้อข้าวจากชาวนาค่อยๆทยอยล้มหายตายจากปิดกิจการและหยุดรับซื้อข้าวจากชาวนา สมาชิกในชมรมโรงสีข้าวพิจิตรที่มี 29 แห่ง วันนี้มีแค่เพียง 8 แห่ง ที่รับซื้อข้าวอย่างจริงจังและต่อเนื่องและมีอีก 9 แห่ง ที่รับซื้อแบบเปิดๆปิดๆ ส่วนที่เหลืออีก 17 แห่ง ตอนนี้หยุดรับซื้อข้าวจากชาวนาแบบสิ้นเชิง แต่ก็ยังต่อใบอนุญาตการประกอบการอยู่ นางมิ่งขวัญ “เจ๊หนิง” ประธานชมรมโรงสีข้าว จ.พิจิตร กล่าวเพิ่มเติมว่า ทุกวันนี้โรงสีที่หยุดกิจการก็มีการบอกเลิกจ้างคนงานจะเหลือคนงานไว้ในโรงสีก็แค่เพียงไม่กี่คน ในช่วงฤดูกาลที่ผ่านมาสมาชิกในชมรมโรงสีข้าวพิจิตรทั้ง 29 แห่ง ก็เปิดรับซื้อข้าวนาปีมาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2561 ช่วงนั้นเปิดรับซื้อข้าวเกี่ยวสด 25% ตามนโยบายที่รัฐบาลกำหนดรับซื้อข้าวเกี่ยวสดมาในราคาตันละ 6,400-6,500 บาท ถ้าคิดเป็นข้าวแห้งความชื้น 15% ก็ตกอยู่ในราคาตันละ 7,500 บาท ซื้อไว้ก็เพื่อหวังว่าจะแปรรูปข้าวเปลือกเป็นข้าวสารขายให้กับผู้ส่งออกต่างประเทศ แต่ปรากฏว่าจากวันนั้นถึงวันนี้ราคาข้าวมีแต่ทรงกับทรุดสีข้าวเปลือกเป็นข้าวสารขายก็มีแต่ขาดทุนจึงเป็นเหตุให้โรงสีหลายแห่งหยุดแปรรูปและหยุดรับซื้อข้าวจากชาวนา ซึ่งนับได้ว่าเป็นปัญหาวิกฤตในเชิงธุรกิจของการค้าข้าวอย่างที่ไม่เคยเจอมาก่อน เช่นเดียวกับ นายวิรัตน์ ลิ่มทองสมใจ กรรมการผู้จัดการบริษัทโรงสีสิงโตทองไรซ์อินเตอร์เทรด จำกัด ที่เป็นโรงสีขนาดใหญ่มีกำลังการผลิตถึงวันละ 2,000 ตัน มีคนงานนับร้อยคน วันนี้ก็ออกมาประกาศขอหยุดรับซื้อข้าวจากชาวนาเป็นการชั่วคราว โดยให้เหตุผลว่าโรงสีของตนเองเปิดรับซื้อข้าวนาปี- นาปรัง ของชาวนาในเขต อ.เมืองพิจิตร อ.โพธิ์ประทับช้าง และพื้นที่ข้างเคียงมาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2561 ซื้อข้าวเปลือกจากชาวนา มาอบให้แห้งแล้วเก็บเข้าโกดังไปแล้วประมาณ 5 หมื่นตัน ในช่วงนั้นที่รับซื้อ ราคาข้าวเปลือกเกี่ยวสดรับซื้อตันละ 6,600 บาท บวกลบนิดหน่อย แต่ถ้าคิดเป็นข้าวแห้งความชื้น 15% ชาวนาก็ได้ราคาตันละ 7,800 บาท ซึ่งได้สีข้าวเปลือกเป็นข้าวสารขายไปแล้ว 2 หมื่นตัน ยังคงเหลือข้าวเปลือกอยู่ในสต็อกกว่า 3 หมื่นตัน ซึ่งต้องเก็บยาวมาเกือบ 3 เดือนแล้ว เหตุเพราะขายไม่ออก ราคาข้าวเปลือกวันนี้รับซื้อข้าวสดแค่ 6,400 บาท เป็นข้าวแห้งก็รับซื้อ 7,500 บาท สรุปได้ว่าวันนี้ขาดทุนเห็นๆ ตันละ 300 บาท ยังไม่คิดค่าแรงคนงาน ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า และค่าบริหารจัดการ นายวิรัตน์ ลิ่มทองสมใจ กรรมการผู้จัดการบริษัทโรงสีสิงห์โตทองไรซ์อินเตอร์เทรด จำกัด กล่าวแสดงความคิดเห็นว่า.... ปัญหาของโรงสีและธุรกิจค้าข้าวในขณะนี้เกิดจากปริมาณข้าวที่มีมาก แต่ตลาดการส่งออกมีน้อย รวมถึงภาวะการณ์แข่งขันด้านการตลาดเพื่อการส่งออกเราสู้เค้าไม่ได้ ถามว่าวันนี้ยังมีคนรับซื้อข้าวสารเพื่อส่งออกหรือไม่? คำตอบก็คือ....ยังมีคนต้องการรับซื้อข้าวสาร แต่ให้ราคาถูกเหลือเกิน ขืนเปิดเครื่อง เปิดโรงสีรับซื้อข้าวจากชาวนาแล้วหวังสีเป็นข้าวสารขายในตอนนี้ก็มีแต่ขาดทุน จึงเป็นเหตุให้ต้องประกาศหยุดรับซื้อข้าวจากชาวนาเป็นการชั่วคราว ขอย้ำว่าเป็นการหยุดรับซื้อแค่เพียงชั่วคราว ซึ่งหากราคาข้าวเปลือกซื้อมา-ขายไป ได้สมน้ำสมเนื้อ โรงสีก็เปิดรับซื้อข้าวตามปกติ โดยสรุปจึงนับได้ว่าขณะนี้กำลังเกิดภาวะวิกฤตกับผู้ประกอบการโรงสีข้าวที่ขึ้นทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์ 37 แห่ง เป็นสมาชิกชมรมโรงสีข้าวพิจิตร 29 โรง วันนี้รับซื้อจริงจังแค่ 8 โรง รับซื้อข้าวแบบเปิดๆปิดๆตามฤกษ์สะดวก 9 โรง ส่วนอีก 17 โรง ประกาศหยุดกิจการเลิกจ้างคนงานในบางส่วน และหยุดรับซื้อข้าวจากชาวนา ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวอาจเป็นห่วงโซ่ธุรกิจของวงการค้าข้าวที่อาจต้องมีผลกระทบมาถึงชาวนาไม่มากก็น้อย เพราะว่าปลูกข้าวแล้วไม่มีผู้รับซื้อ เหตุการณ์แบบนี้จะเป็นเช่นไรต่อไป

ข่าวทั่วไป

  • nppct
  • 20 ก.ค. 2566
  • 129

กรมชลประทานโชว์ผลงานงบ515ล้านก่อสร้างปตร.ท่านางงามส่งผลนาข้าว5หมื่นไร่ลุ่มน้ำยมอุดมสมบูรณ์

วันที่ 18 กรกฎาคม 2566 นายธนบดี รักสัตย์ ผู้อำนวยการสำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 3 กองพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลาง กรมชลประทาน มอบให้ นายธนาธิป แก้วมณี หัวหน้าฝ่ายก่อสร้างที่ 1 ให้ข้อมูลกับผู้สื่อ

อ่านต่อ...
ชาวนาพิจิตรเร่งสูบน้ำทำนาไปทางไหนก็ได้ยินเสียงเครื่องสูบน้ำดังสนั่นลั่นทุ่ง (24 ก.ค. 2563) บิ๊กป้อมลงพื้นที่สั่งเร่งแก้ปัญหาบึงสีไฟและแม่น้ำพิจิตรหวังใช้ประโยชน์กักเก็บน้ำฤดูน้ำหลากปีนี้ (15 ก.ค. 2563) แม่น้ำยมแห้งขอดกลายเป็นสนามฟุตบอลเกษตรจังหวัดพิจิตรชี้นาข้าวกว่า1ล้านไร่ไม่มีน้ำทำนา (13 ก.ค. 2563) ชาวบ้านหัวดงเมืองชาละวันยกพวกแห่แจ้งความแน่นโรงพักทองคำราคาโปรโมชั่นสุดท้ายถูกหลอก (12 ก.ค. 2563) ผู้ว่าฯพิจิตรรับมอบปุ๋ย25ตันจากบริษัทยาราแจกชาวสวนมะม่วงปิ๊งไอเดียทำเกษตรเพื่อการท่องเที่ยว (28 มิ.ย. 2563) สส.พิจิตรลงพื้นที่ติดตามงบประมาณการขุดบ่อน้ำขนาดเล็ก1,260ลบ.ม.ในไร่นาเพื่อกักเก็บน้ำแก้ปัญหาภัยแล้ง (22 มิ.ย. 2563) พิจิตรกองทัพบกส่งทหารช่างพร้อมเครื่องจักรกลเร่งขุดลอกแหล่งน้ำ11แห่งแก้ปัญหาภัยแล้ง (15 มิ.ย. 2563) เจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราชฯ โปรดประทานถุงยังชีพช่วยเหลือชาวอำเภอดงเจริญพิจิตรบรรเทาทุกข์โควิด19 (14 มิ.ย. 2563) ภัยแล้งเป็นเหตุชาวนาพิจิตรกว่า200คนคัดค้านก่อสร้างประตูน้ำบึงสามัคคีกำแพงเพชรอ้างลำคลองต้องใช้น้ำร่วมกัน (6 มิ.ย. 2563) นราพัฒน์ ผช.รมต.เกษตรมั่นใจชลประทานสร้างประตูระบายน้ำในแม่น้ำยมสามารถช่วยแก้ภัยแล้ง (23 พ.ค. 2563)