ชาวบ้านร้องทุกข์แม่น้ำพิจิตรนโยบายของนายกรัฐมนตรีสั่งให้เร่งฟื้นฟูวันนี้น้ำเน่าปลาตายลอยเป็นแพ

1 ต.ค. 61 ชาวบ้านร้องทุกข์แม่น้ำพิจิตรที่ก่อนหน้านี้คือเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2561 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ลงพื้นที่มาตรวจราชการพร้อมกับคณะรัฐมนตรีอีกหลายท่าน ซึ่งในเรื่องที่นายกรัฐมนตรี ให้ความสนใจก็คือเรื่องการฟื้นฟูและพัฒนาแม่น้ำพิจิตร ที่มีระยะทาง 127 กม. ครอบคลุมพื้นที่ทำการเกษตรหลานหมื่นไร่ของจังหวัดพิจิตร ซึ่งได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานช่วยกันระดมสรรพกำลังฟื้นฟูแม่น้ำพิจิตรให้กลับมาคืนชีพอีกครั้ง โดยมุ่งหวังให้เป็นแก้มลิงและเป็นเส้นทางผันน้ำจากแม่น้ำน่านสู่แม่น้ำยมเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้ง แต่มาวันนี้ปรากฏว่าแม่น้ำพิจิตรที่บริเวณตำบลย่านยาว อำเภอเมืองพิจิตร ซึ่งเป็นพื้นที่ต้นน้ำเกิดมีน้ำเน่าปลาตายลอยเป็นแพส่งกลิ่นเหม็นคละคลุ้งไปทั่ว ล่าสุด พ.อ.วีรวัฒน์ วิวัฒน์วานิช รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดพิจิตร, นายฐิติเมธ หงษ์สุตะเมธี นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการ สนง.สิ่งแวดล้อมภาค 4 (นครสวรรค์)นายอนุชา อินทรเทศ ปลัดอำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร , พ.ต.ท. บัญชา วิจิตรพงษา สว. (สอบสวน) สภ.ย่านยาว อำเภอเมืองจังหวัดพิจิตร ได้ร่วมกันลงพื้นที่เพื่อหาต้นเหตุและแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งก็พบว่า ในแม่น้ำพิจิตรมีปลาตายลอยเป็นแพอยู่จริง ส่วนการสืบเสาะหาสาเหตุก็คาดการณ์ว่าอาจเกิดจากโรงสีแห่งหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่ในตำบลย่านยาวและอยู่ใกล้กับแม่น้ำพิจิตร ที่อาจเป็นต้นเหตุของน้ำเน่าเสีย จึงได้ร่วมกันเข้าสำรวจที่บริเวณโรงสีดังกล่าว โดยได้พบกับ นายไพบูลย์ ( ไม่ทราบนามสกุล ) อยู่ในจุดที่เจ้าหน้าที่ได้ลงไปดู ได้แสดงตนว่า ตนเองไม่ใช่เจ้าของโรงสีตามนิตินัย แต่เป็นตัวแทนผู้ประกอบการเข้าชี้แจงว่า บ่อเก็บน้ำเสียของโรงสีเกิดอุบัติเหตุน้ำรั่วซึมลงไปในแม่น้ำพิจิตร ซึ่งตนเองได้สั่งการให้ทำการแก้ไขแล้ว รวมถึงได้ไปลงบันทึกประจำวันเพื่อแสดงเจตนาบริสุทธิ์ อีกทั้งโต้ตอบว่า ตนเองไม่ใช่ต้นเหตุของปลาตาย ดังนั้นจึงอยากให้ทุกฝ่ายเข้าใจกับเหตุการณ์ดังกล่าวไว้ด้วย ในส่วนของ พ.อ.วีรวัฒน์ วิวัฒน์วานิช รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดพิจิตร กล่าวว่า การเข้ามาตรวจโรงสีพร้อมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไม่ได้มาดูเรื่องปลาตายที่บริเวณหลังโรงสี ซึ่งอยู่ติดกับแม่น้ำพิจิตรและมีบ่อน้ำเสียซึ่งอยู่ห่างจากแม่น้ำพิจิตรไม่ถึง 100 เมตร เพื่อมาดูว่าการดำเนินกิจการของโรงสีส่งผลต่อสภาพสิ่งแวดล้อมและเป็นสาเหตุของแม่น้ำพิจิตรเน่าเสียหรือไม่ ? อีกทั้งก็ไม่ได้กล่าวหาว่าเป็นผู้กระทำความผิด แต่เมื่อทางโรงสีรับสารภาพเองว่าเกิดอุบัติเหตุน้ำเสียจากโรงสีไหลลงสู่แม่น้ำพิจิตร อาจจะใช่หรือไม่ใช่ สาเหตุของแม่น้ำพิจิตรที่เน่าเสียจนปลาตายอย่างที่ปรากฏ แต่ที่ต้องพิสูจน์ให้ชัดแจ้งและหาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษตามกฎหมายต่อไปก็คืออะไรหรือใครกันแน่ ? ที่ทำให้แม่น้ำพิจิตรซึ่งถือว่าเป็นสายเลือดอีกเส้นหนึ่งของเกษตรกรที่ต้องใช้น้ำในแม่น้ำพิจิตรแห่งนี้เกิดเน่าเสียจนปลาตาย ซึ่งถือเป็นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งถ้าได้หลักฐานชัดเจนก็จะต้องแจ้งความดำเนินคดีอย่างเด็ดขาดและจริงจังต่อไป

ข่าวทั่วไป

  • nppct
  • 11 เม.ย. 2568
  • 175

กอ.รมน.- ตำรวจ.-ปกครองพิจิตร ตรวจสถานบันเทิงยามราตรีต้อนรับเทศกาล สงกรานต์ท่องเที่ยวปลอดภัย

เมื่อคืนที่ผ่านมา พ.อ.สัมฤทธิ์ ฉัตรวัฒนาสกุล รอง ผอ.รมน.จังหวัด พ.จ.(ท.) มอบหมายให้ พ.ต.รณชัย ประจันสี หน.ชุด ชรต.307 กอ.รมน.จังหวัด พ.จ. พร้อมด้วยกำลังพล กอ.รมน.จังหวัด พ.จ. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยว

อ่านต่อ...
เหมืองทองอัคราฯปันน้ำใจ มอบหน้ากากอนามัยสู้ภัยโควิด19 (17 เม.ย. 2563) ผู้ว่าฯพิจิตรจับมือสส.พปชร.เดินตลาดนัดรับฟังปัญหาเศรษฐกิจสู้โควิด19 (15 เม.ย. 2563) พรชัยสส.พปชร.พิจิตรเขต1ให้กำลังใจผู้ปฏิบัติหน้าที่ตามจุดสกัดเข้มไวรัสโควิด (14 เม.ย. 2563) พิจิตรปิดหมู่บ้านใช้มาตรการเข้มผวาโควิด19ปิดถนนคัดกรองคนอำเภอชุมแสงเข้าออกบางมูลนาก (11 เม.ย. 2563) สส.พปชร.จับมือเหมืองทองอัคราฯทอดผ้าป่าหน้ากากอนามัยถวายพระสงฆ์ (7 เม.ย. 2563) ผู้ว่าฯพิจิตรเปิดยุทธการเคอร์ฟิวสั่งทุกท้องถิ่นห้ามรับบุคคลต่างพื้นที่เข้ามาพักอาศัยสู้ภัยโควิด19 (3 เม.ย. 2563) กาชาดพิจิตรห่วงโควิด19สั่งปิดหมู่บ้านเกรงชาวบ้านขาดแคลนอาหารเร่งนำเครื่องยังชีพแจกจ่าย (31 มี.ค. 2563) พิจิตรแชร์คลิปเคลื่อนย้ายผู้ป่วยอาการเข้าข่ายโควิด19แต่ สสจ.ยืนยันพิจิตรปลอดภัยไร้ผู้ป่วย (30 มี.ค. 2563) พิจิตรลุ้นระทึกรอผลตรวจกลุ่มเสี่ยงร่วมงานบวชนาคยังสั่งปิดหมู่บ้านต่อไป (29 มี.ค. 2563) ไอเดียบรรเจิดชาวสวนไม้ผลสากเหล็กนำรถพ่นน้ำเพื่อการเกษตรฉีดพ่นฆ่าเชื้อโควิด19 (28 มี.ค. 2563)