ชาวบ้านรอบเหมืองทองอัคราฯห่วงลุงตู่แพ้คดีไม่เชื่อนายกรัฐมนตรีคนเดียวจะรับผิดชอบไหว

ชาวบ้านรอบเหมืองทองอัคราฯห่วงลุงตู่แพ้คดีไม่เชื่อนายกรัฐมนตรีคนเดียวจะรับผิดชอบไหว สภากาแฟชาวบ้านรอบเหมืองทองอัคราฯพิจิตร ตั้งวงถกเป็นห่วง “นายกลุงตู่” กรณีการใช้ ม.44 สั่งปิด เหมืองแร่ทองคำอัครารีซอร์สเซส แล้วถูกบริษัทเหมืองทองฟ้องอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ เรียกร้องให้รัฐบาลไทยชดใช้ค่าเสียหายราว 3 หมื่นล้าน ล่าสุดเป็นข่าวใหญ่ “ลุงตู่” ลั่น คดีเหมืองทองอัคราฯ ผมรับผิดชอบเอง ชาวบ้านเม้าอมพระมาพูดก็ไม่เชื่อ นายกรัฐมนตรีคนเดียวจะรับผิดชอบไหวหรือ? แนะตั้งวงเจรจาจ่ายค่าปรับบางส่วนชดเชยให้เหมืองทองแล้วให้ดำเนินกิจการต่อไป...ส่วนอีกกระแสคาดเดาปิดเหมืองทองยาวยอมจ่ายค่าเสียหาย แต่สุดท้ายจะมีมือที่สามมาสานต่อ วันที่ 31 ต.ค. 2562 ที่บริเวณร้านค้าสภากาแฟที่หมู่บ้านเขาดิน หมู่ 3 ต.เขาเจ็ดลูก อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร ซึ่งเป็นพื้นที่ตั้งหมู่บ้านอยู่ติดกับบริษัทอัครา รีซอร์สเซส หรือ ที่เรียกกันว่า เหมืองแร่ทองคำอัคราไมนิ่ง หรือเหมืองแร่ทองคำชาตรี ที่เปิดกิจการมาตั้งแต่ปี 2544 แต่กลับถูก พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในยุครัฐบาล คสช. ใช้อำนาจ ม.44 สั่งปิดกิจการมาตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2559 อ้างเหตุผลด้านมลภาวะและสิ่งแวดล้อม แต่ล่าสุดกลับโดนเหมืองทองอัคราฯ ยื่นเรื่องเข้าอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย 3 หมื่นล้านบาท ซึ่งอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศจะมีการพิจารณาคำร้องครั้งแรกในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2562 นี้ จึงทำให้เมื่อวันวานที่ผ่านมา ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีการพูดถึงเรื่องดังกล่าวนี้ และมีข้อความที่เป็นกระแสข่าวใหญ่ออกมาว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พุดเพียงสั้นๆว่า เรื่องนี้ผมจะรับผิดชอบเอง ในส่วนของชาวบ้านที่อยู่รอบเหมืองทองอัคราฯ ก็มีการจับกลุ่มพูดคุยกันตามสภากาแฟหรือศาลากลางบ้าน โดยที่ร้านอาหารตามสั่ง “ป้าแจ้ว” ซึ่งตั้งอยู่ที่หมู่ 3 บ้านเขาดิน ต.เขาเจ็ดลูก อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่อยู่ติดกับพื้นที่ทำเหมืองทองมากที่สุด ซึ่ง นายมนตรี ม่วงเอี่ยม อายุ 68 ปี อยู่บ้านเลขที่ 183 หมู่ 3 บ้านเขาดิน ต.เขาเจ็ดลูก อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร กล่าวว่า จากข่าวที่บอกว่า นายก “ลุงตู่” จะรับผิดชอบเองหากเกิดแพ้คดีต้องชดใช้ค่าปรับเป็นเงิน 3 หมื่นล้าน ให้กับเหมืองทองอัคราฯ คุณลุงมนตรี บอกว่า “ ไม่เชื่อ” ว่าลำพังตัว “นายกลุงตู่” คนเดียวจะเอาเงินที่ไหนถ้าไม่ใช่เอาเงินภาษีของราษฎร แนะนำช่องทางที่ดียอมจ่ายค่าชดเชยให้กับทางบริษัท เหมืองทองอัคราฯ เค้าบ้าง แล้วให้บริษัทฯ เค้าได้เปิดกิจการต่อเพื่อให้ชาวบ้านรอบเหมืองทองได้มีงานทำ รวมถึงได้พูดถึงว่า ตอนที่ใช้ ม.44 เป็นยุค คสช. มีอำนาจในมือแต่ไม่ได้ฟังเรื่องจริงจากปากของชาวบ้านในพื้นที่ แต่ไปฟังข้อมูลจากพวกนักประท้วง , ฟังจากสื่อ ที่ล้วนส่วนใหญ่ก็เป็นคนนอกพื้นที่ กล่าวหาว่า น้ำดื่ม น้ำกิน ในหมู่บ้านมีสารพิษต่างๆนานา แต่เรื่องจริง คือ ที่หมู่ 3 บ้านเขาดิน มีโรงงานน้ำดื่มเทพนิมิตร ทำน้ำบรรจุขวด บรรจุถัง ขายไปทั่วทั้งตำบล สาธารณสุข และส่วนราชการ มาตรวจก็ได้มาตรฐาน ผ่านทุกครั้ง ชาวบ้านก็กินน้ำจากโรงงานน้ำดื่มในชุมชนก็มีสุขภาพแข็งแรง แต่ข่าวที่ออกไปกลับตรงกันข้าม เช่นเดียวกับ นายอรุณ สีสุทธินา อายุ 36 ปี อยู่บ้านเลขที่ 991/4 หมู่ 3 บ้านเขาดิน ต.เขาเจ็ดลูก อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร กล่าวว่า คดีความของเหมืองทองอัคราฯ กับ รัฐบาล “ลุงตู่” ตนเองเชื่อมั่นว่า เหมืองทองอัคราฯ จะชนะ เพราะไม่เคยเห็นเอกสารหรือหลักฐานใด ที่ระบุชี้ชัดว่าเหมืองทองอัคราฯ กระทำผิดในเรื่องสิ่งแวดล้อม หรือเป็นผู้สร้างมลพิษมลภาวะ ก็ไม่เคยปรากฏ สำหรับ นายปฏิภาณ ประทุมเมศ อายุ 47 ปี อยู่บ้านเลขที่ 199 หมู่ 3 บ้านเขาดิน ต.เขาเจ็ดลูก อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร ให้ความคิดเห็นค่อนข้างจะฉีกแนวจากคนอื่น โดยบอกว่าตนเองติดตามข่าวสารเรื่องเหมืองทองอัคราฯ บนโลกออนไลน์ และสื่อหลักๆ ผ่านโทรศัพท์มือถือ เหตุการณ์สั่งปิดเหมืองทองอัคราฯ น่าจะมีมือที่สาม ที่ให้ข้อมูลผิดๆ จน “นายกลุงตู่” ใช้ ม.44 พอถึงวันนี้ถูกฟ้องร้องถ้าต้องจ่าย 3 หมื่นล้าน ก็ไม่น่าจะเป็นเงินของ “นายกลุงตู่” ซึ่งอาจจะเป็นเงินจากภาษีประชาชน หรือจากมือที่สาม แต่ก็จะต้องสั่งปิดเหมืองทองอัคราฯต่อไป แต่หลังจากนั้นอีกสักระยะหนึ่งก็น่าจะมีบริษัทใหม่ หรือ คนใหม่ คนใหญ่ เข้ามาทำต่อหรือทำแทนเหมืองทองอัคราฯ นางนิตยา สีสุทธินา อายุ 35 ปี อยู่บ้านเลขที่ 999/4 หมู่ 3 บ้านเขาดิน ต.เขาเจ็ดลูก อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร ก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่ไม่เชื่อว่า “นายกลุงตู่” จะรับผิดชอบกรณีดังกล่าวแต่เพียงผู้เดียวได้ เพราะไม่เชื่อว่าจะยอมควักหรือมีเงินส่วนตัวมากมายขนาดนั้น พร้อมทั้งเล่าว่า ตนเองเป็นชาวบ้าน บ้านอยู่ห่างพื้นที่ทำเหมืองแร่ทองคำเพียงแค่ 2-3 กม. เท่านั้น ชีวิตความเป็นอยู่ สุขภาพก็แข็งแรงดี ไม่เคยเจ็บไข้ได้ป่วยหรือโดนสารพิษตามที่เป็นข่าว อีกทั้งกล่าวตำหนิสื่อบางสำนักบางแขนงที่ชอบออกข่าวทั้งๆที่คนในหมู่บ้านมีเป็นร้อยคน เจอคนป่วย คนตาย ที่ถูกนำไปกล่าวอ้างว่าตายจากสารพิษของเหมืองทองก็นำไปประโคนข่าวใหญ่โต แต่ไม่มาถามคนอีก 99 คน ว่าเรื่องจริงมันเป็นเช่นไร วันนี้เหมืองทองอัคราฯ ปิดตัวลง สุขภาพของชาวบ้านก็ไม่เคยเห็นใครมาเหลียวแล ไม่เหมือนกับยุคที่เหมืองทองเปิดกิจการมีตรวจสุขภาพประจำปีกันเป็นประจำ โรงเรียนบ้านคีรีเทพนิมิต แต่ก่อนหน้านี้เหมืองทองอัคราฯดูแล จ้างครูไทย ครูภาษาต่างชาติ มาช่วยสอนในโรงเรียนมีทั้งเด็กทั้งครูมากมาย วันนี้ไปดูได้เลย ครูก็ลดลงเพราะรัฐบาลไม่มีงบประมาณในการว่าจ้างครู เด็กนักเรียนก็ลดลง เพราะพ่อแม่ตกงานจากเหมืองทองอัคราฯที่ถูกสั่งปิดกิจการ ก็ต้องอพยพย้ายครอบครัว ย้ายถิ่นฐาน ไม่รู้ว่าโรงเรียนจะถูกยุบในเร็ววันนี้หรือเมื่อไหร่ นางนิตยา สีสุทธินา กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า...ต้นเหตุของ ม. 44 ปิดเหมืองทองอัคราฯ เป็นเพราะ “ลุงตู่” ไปฟังผู้ประท้วงที่ไม่ใช่คนในพื้นที่ ถึงวันนี้เราจึงอยากให้ฟังเสียงของพวกเราบ้าง ว่า “ อัคราอยู่ได้ เราอยู่ได้” ถามว่าทำไมเราจึงยอมอยู่บ้านใกล้โรงงานอุตสาหกรรม เพราะเรื่องจริง คือ เหมืองทองอัคราฯ สร้างงาน สร้างรายได้ ให้ชุมชน อีกทั้งเรื่องมลภาวะ สิ่งแวดล้อม ก็ไม่จริงอย่างที่เป็นข่าว เรื่องนี้คนในชุมชนตัวจริงเท่านั้นที่รู้เรื่องดี แต่ที่ผ่านมาถึงพูดก็ไม่มีใครฟัง ถึงมีคนฟังก็ไม่มีคนสนใจ เช่นเดียวกับ น.ส.วันวิสาข์ สุมะนะ อายุ 34 ปี และ นายอดิเรก เถื่อนคุ้ม อายุ 40 ปี ทั้งสองเป็นชาว ต.ทับคล้อ อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร ซึ่งจัดได้ว่าเป็นคนรุ่นใหม่ที่เสพสื่อหรือติดตามข้อมูลข่าวสารบนโลกโซเชียล หรือบนมือถือเป็นส่วนใหญ่ ก็บอกตรงกันว่าไม่เชื่อที่ “นายกลุงตู่” เพียงแค่คนเดียวจะรับผิดชอบ หากต้องชดใช้เงิน 3 หมื่นล้าน ให้กับเหมืองทองอัคราฯ หากแพ้คดี อีกทั้งถ้าจะไปเอาเงินจากภาษีประชาชนไปชดใช้จากคำสั่งของตนในยุค คสช. ก็ต้องขออนุมัติผ่านสภาประชาธิปไตย ซึ่งคาดว่าสภาและประชาชนคนไทยทั้งประเทศก็คงไม่ยอมแน่นอน ดังนั้นจึงแนะนำทางออก ที่นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม รายงานเสนอทางออก 4 ข้อ ให้ที่ประชุม ครม. รับทราบ โดยทั้งสองคนนี้เสนอให้ “นายกลุงตู่” หาช่องทางจ่ายเงินค่าปรับบางส่วนให้กับเหมืองทองอัคราฯ เป็นค่าชดเชยค่าเสียหาย ประโยชน์ที่ควรได้ในช่วงที่ต้องถูกปิดกิจการแล้วให้เปิดดำเนินกิจการต่อไป ซึ่งจะเป็นการดีด้วยกันทุกฝ่าย สำหรับกระแสของประชาชนชาวจังหวัดพิจิตรและชาวบ้านที่อยู่รอบเหมืองทองอัคราฯ ต่างให้ความสนใจกับเรื่องดังกล่าวเป็นอย่างมาก เพราะเกี่ยวข้องกับปากท้องของคนในท้องถิ่นและเกียวข้องกับเงิน 3 หมื่นล้าน ที่หากต้องแพ้คดีจะต้องจ่ายให้กับบริษัทคิงส์เกต เป็นจำนวนเงินมากถึง 3 หมื่นล้าน ว่า...เอาเข้าจริง “นายกลุงตู่” คนเดียวจะเอาเงินมาจากไหน ? รับผิดชอบไหวหรือ? ซึ่งคงต้องรอฟังข่าวการไตร่สวนของอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ ที่ประเทศสิงคโปร์ ที่จะมีการพิจารณาไตร่สวนสืบพยานเป็นนัดแรก ว่า จะออกมาเป็นเช่นไร?

การเมือง

  • nppct
  • 19 ธ.ค. 2566
  • 127

พิพัฒน์ รมว.แรงงาน บุกเมืองชาละวันเสวนาประกันสังคมมาตรา40ชี้ข้อดีทำไว้ได้พึ่งชัวร์

วันที่ 18 ธันวาคม 2566 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมคณะจากกระทรวงแรงงานได้เดินทางมาเป็นประธานเปิดงานการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ประกันสังคม มาตรา40 สู่เครือข่ายประกันสังคมรุ่นท

อ่านต่อ...
ส.ส.สุรชาติ พปชร.พิจิตรผลักดันสร้างโรงพยาบาลสนามบึงนาราง (2 ส.ค. 2564) ส.ส.สุรชาติจับมือรอง ผบ.มทบ.36เป็นตัวแทนธรรมนัสมอบสิ่งของให้ รพ.สนามในพิจิตร (22 ก.ค. 2564) แม่น้ำยมพิจิตรรอดพ้นวิกฤตกรมชลประทานส่งน้ำช่วยชาวนาแล้ว (21 ก.ค. 2564) ส.ส.พิจิตรไม่ปลื้มเพิงพักผู้ป่วยโควิดเหมือนแคมป์คนงาน วัดใจผู้ว่าฯอัพเกรดเป็นรพ.สนาม (11 ก.ค. 2564) ผู้ว่าฯอนุมัติอบจ.พิจิตรสั่งซื้อวัคซีนซิโนฟาร์ม1หมื่นโดสงบ10 ล้าน (21 มิ.ย. 2564) ส.ส.พปชร.พิจิตรรับอาสาช่วยชาวนา94ครอบครัวร้องทุกข์ขอเอกสารสิทธิ์บนที่ดินทำกิน (14 มิ.ย. 2564) นายกอบจ.พิจิตร ปล่อยพันธุ์ปลาเยียวยาโควิดเลี้ยงให้โตแล้วค่อยจับกินเป็นอาหาร (10 มิ.ย. 2564) เหตุฝนทิ้งช่วง 2 ส.ส.พปชร.พิจิตร-นครสวรรค์พาชาวนาวอน ชป.ขอโควต้าน้ำแต่ให้รอไปก่อนอ้างเหตุต้องส่งน้ำช่วยลพบุรีทำน้ำประปา (4 มิ.ย. 2564) พิจิตรม็อบเครือข่ายกองทุนฟื้นฟูขอปลดหนี้เดินทางไปชุมนุมหน้ากระทรวงการคลัง (22 ก.พ. 2564) เหมืองทองอัคราเปิดบ้านให้ลูกเสือเนตรนารีพิสูจน์ความจริง พร้อมเล่าเรื่องการเจรจากับรัฐบาล (20 ก.พ. 2564)