กมธ.ป.ป.ช.ลงพื้นที่ฟังเสียงชาวบ้านรอบเหมืองทองอัคราส่วนใหญ่หนุนให้เปิดหวังมีงานทำ

วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2565 นายจารึก ศรีอ่อน รองประธานคณะกรรมาธิการ , นายธีรัจชัย พันธุมาศ โฆษกคณะกรรมาธิการ , นายประเดิมชัย บุญช่วยเหลือ เลขานุการคณะกรรมาธิการ และคณะได้ร่วมกันลงพื้นที่ไปที่ บริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด หรือพื้นที่ทำเหมืองทองอัครา ซึ่งตั้งอยู่ที่ ต.เขาเจ็ดลูก อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร เพื่อตรวจสอบการออกประทานบัตรเหมืองแร่ทองคำและผลกระทบที่เกิดจากการประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำ โดยได้พบกับกลุ่มชาวบ้านที่แสดงตนว่าเป็นคนพื้นที่ตัวจริงเสียงจริงอยู่ชายรอบขอบเหมืองทองอัคราในพื้นที่ ต.เขาเจ็ดลูก จ.พิจิตร , ต.ท้ายดง จ.เพชรบูรณ์ , ต.วังโพรง จ.พิษณุโลก กว่า 200 คน ที่นำโดย นายชัยพร สุดสิน อายุ 44 ปี อยู่บ้านเลขที่ 50 หมู่ 7 บ้านทุ่งนางาม ต.ท้ายดง อ.วังโป่ง จ.เพชรบูรณ์ ในนามประธานชมรมคนรักเหมืองทอง ได้นำชาวบ้านมายื่นหนังสือต่อคณะ กมธ.ป.ป.ช.สภาผู้แทนราษฎร มีใจความโดยย่อว่าสนับสนุนการเปิดกิจการของเหมืองทองอัคราพร้อมทั้งยืนยันว่าการประกอบกิจการของเหมืองทองอัครานั้นไม่ได้ส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม ความเป็นอยู่ และสุขภาพของชาวบ้าน รวมถึงพนักงาน-คนงาน อีกนับพันคนก็ต่างอยู่ดีมีสุข สุขภาพแข็งแรง ไม่ได้กระทบกระเทือนด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมอย่างที่เป็นข่าว หรือ อย่างที่ฝ่ายต่อต้านออกมากล่าวให้ร้ายแต่อย่างใด

แต่ในส่วนของ น.ส.พิชญ์สิณี สินธรธรรมทัต หรือ น.ส.สื่อกัญญา ธีระชาติดำรง ซึ่งเป็นชาวบ้านหมู่ 9 บ้านเขาหม้อ ต.เขาเจ็ดลูก ซึ่งมีที่อยู่อาศัยใกล้กับเหมืองทองอัคราและเป็นแกนนำกลุ่มชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบก็ชี้แจงให้คณะกรรมธิการได้รับรู้รับทราบว่า ตนเองและเพื่อนบ้านอีกนับสิบรายยืนยันว่าการประกอบกิจการของเหมืองทองอัครามีหลายสิ่งหลายอย่างทำให้เกิดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมด้านมลภาวะและสุขภาพ ซึ่งพวกตนเองร้องทุกข์ ร้องเรียน ฟ้องศาลในหลายคดีแต่สุดท้ายทำไมกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) กลับปล่อยให้เหมืองทองอัครากลับมาดำเนินกิจการได้อีกครั้ง จากนั้น กมธ.ก็ได้ให้ชาวบ้านคนอื่นๆแสดงความคิดเห็นบ้าง ก็ปรากฏว่ามี นายเอี่ยม ธีระชาติดำรง อายุ 72 ปี อยู่บ้านเลขที่ 24/1 หมู่ 9 บ้านเขาหม้อ ต.เขาเจ็ดลูก ปัจจุบันเป็น สมาชิก อบต.เขาเจ็ดลูก จับไมโครโฟนกล่าวว่าตนเองคือผู้หนึ่งที่เป็นผู้ชุมนุมต่อต้านคัดค้านการดำเนินกิจการของเหมืองทองอัคราโดยอ้างเหตุผลด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสุขภาพ อากาศเป็นพิษ สารพิษ สารไซยาไนด์ และอีกสารพัดเรื่อง แต่เรื่องจริงแล้วก็เพื่อต้องการจะขายที่ดินของตนเองให้กับเหมืองทองอัคราจึงต้องออกมาโจมตีอยู่นานหลายปีแต่จนในที่สุดเมื่อประมาณ พ.ศ.2556 เหมืองอัคราก็ยอมซื้อที่ดินของตนเองจำนวน 48 ไร่ 2 งาน ได้ราคา 27 ล้านบาท และได้ค่ารื้อถอนบ้านอีก 8 แสนบาท ดังนั้นวันนี้จึงขอพูดความจริงที่ผ่านมาก็เพื่อหวังขายที่ดินดังกล่าว ดังนั้นเรื่องสิ่งแวดล้อมจึงเป็นเพียงส่วนประกอบของการกดดันเหมืองทองอัคราให้ซื้อที่ดินเท่านั้นเอง

หลังจากที่ กมธ.ป.ป.ช.ฟังเรื่องต่างๆจากชาวบ้านจนรอบด้านแล้วก็หันไปซักถาม นายอำเภอทับคล้อ , อุตสาหกรรมจังหวัด , สิ่งแวดล้อมจังหวัด , สาธารณสุขอำเภอทับคล้อ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมถึงสั่งการขอเอกสารที่เกี่ยวข้องและจะประชุมกันต่อในวันจันทร์ที่ 7 ก.พ. 65 ณ ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดพิจิตร รวมถึงในช่วงเวลา 13.30 น. ก็จะลงพื้นที่ขอเข้าไปดูภายในเหมืองทองอัคราเพื่อพิสูจน์ให้เห็นกับตาว่าข้อเท็จจริงเรื่องบ่อทิ้งกากแร่และสภาพแวดล้อมต่างๆเป็นอย่างไร ซึ่งความคืบหน้าผู้สื่อข่าวจะได้รายงานให้ทราบต่อไป

การเมือง

  • nppct
  • 19 ธ.ค. 2566
  • 693

พิพัฒน์ รมว.แรงงาน บุกเมืองชาละวันเสวนาประกันสังคมมาตรา40ชี้ข้อดีทำไว้ได้พึ่งชัวร์

วันที่ 18 ธันวาคม 2566 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมคณะจากกระทรวงแรงงานได้เดินทางมาเป็นประธานเปิดงานการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ประกันสังคม มาตรา40 สู่เครือข่ายประกันสังคมรุ่นท

อ่านต่อ...
ปธ.สภาอบจ.พิจิตรนำลูกทีมตบเท้าเชียร์ "เจ๊สุณีย์"ชิงเก้าอี้นายกอบจ.พิจิตร (9 พ.ค. 2561) ม 44ออกฤทธิ์ปิดเหมืองทองอัคราพิจิตรพนักงานกลุ่มสุดท้ายลงทะเบียนหางานใหม่ (30 ธ.ค. 2559) สวนดุสิตโพลแถลงผลสำรวจความคิดเห็นชาวบ้านรอบเหมืองทองอัคราพิจิตร76%หนุนดำเนินกิจการต่อ (24 พ.ย. 2559) ผู้ว่าฯพิจิตรเต้นถามหามาตรฐานการก่อสร้างงบเกือบ25ล้านโครงการหรูแขวงทางหลวงพิจิตรใช้งานปีเศษพังยับ (21 พ.ย. 2559) ผู้ว่าฯพิจิตรจับมือกกต.พาหนุมานนำทัพรณรงค์ชวนใช้สิทธิลงประชามติ (4 ส.ค. 2559) ผู้ว่าฯพิจิตรจับมือกกต.ส่งไปรษณียบัตรเชิญชวนใช้สิทธิ์ลงประชามติ (26 พ.ค. 2559) กกต.พิจิตรจัดผลไม้เลี้ยงลิงผูกมิตรขอติดบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิ์ลงประชามติ (24 พ.ค. 2559)