ภัยแล้งจ่อคอหอย ผู้ว่าฯพิจิตรสั่งเร่งสำรวจช่วยเหลือราษฎรพบ1แห่งต้องแจกน้ำกินน้ำใช้ส่วนใครอยากทำนาปรังต้องพึ่งตนเอง

เจ้าเมืองชาละวันนั่งไม่ติด ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ภัยแล้งดูแหล่งน้ำธรรมชาติ พบเข้าขั้นจุดวิกฤตจ่อคอหอยแล้ว เรียกประชุมส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเตรียมแผนรับมือ คาด 4-5 เดือน ต้องเจอภัยร้อน-ภัยแล้ง เป็นห่วงชาวนาและสวนไม้ผล เน้นย้ำหากชาวนาอยากทำนาปรังต้องมีน้ำสำรองหรือบ่อน้ำบาดาลเป็นของตนเอง ยืนยันน้ำกินน้ำใช้ไม่ขาดแคลน แต่น้ำเพื่อการเกษตรชลประทานตอบชัดเจนไม่มีสนับสนุน พื้นที่ 12 อำเภอ พบแล้ว 1 แห่ง คือในเขตตำบลเขาทรายที่ขอรับการช่วยเหลือต้องแจกจ่ายน้ำอุปโภค-บริโภค วันที่ 7 มกราคม 2563 นายสิริรัฐ ชุมอุปการ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร เปิดเผยภายหลังประชุมร่วมกับหัวหน้าส่วนราชการที่ศาลากลางจังหวัดพิจิตร ถึง สถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้นในหลายอำเภอของจังหวัดพิจิตร ขณะนี้ที่ส่อเค้าว่าจะรุนแรง หลังจากพบว่าแหล่งน้ำตามธรรมชาติ เช่น ห้วย หนอง คลอง บึง ในพื้นที่ ที่อยู่ติดกับเทือกเขาเพชรบูรณ์ ซึ่งประกอบไปด้วย อำเภอสากเหล็ก วังทรายพูน ทับคล้อ และอำเภอดงเจริญ รวมทั้งพื้นที่ลุ่มแม่น้ำยม 4 อำเภอ คืออำเภอสามง่าม โพธิ์ประทับช้าง บึงนาราง และอำเภอโพทะเล โดยปริมาณน้ำตามแหล่งน้ำดังกล่าวได้ลดระดับลงจนแห้งขอดลงอย่างรวดเร็วตั้งแต่ปลายเดือน พฤศจิกายน 2562 ที่ผ่านมา ซึ่งขณะนี้เริ่มส่งผลกระทบกับประชาชนแล้ว โดยเฉพาะพื้นที่หมู่ที่ 10 ตำบลเขาทราย อำเภอทับคล้อ ระบบน้ำประปาไม่เพียงพอต่อการบริโภคและอุปโภค แนวทางแก้ไขเทศบาลตำบลเขาทราย นำรถบรรทุกน้ำไปแจกจ่ายถังกลางหมู่บ้านสัปดาห์ละ 1 ครั้ง อีกทั้งพื้นที่ตำบลบ้านนา อำเภอวชิรบารมี พื้นที่ทำนาปรัง 6 หมู่บ้านได้รับผลกระทบจากภัยแล้งแล้วเช่นกัน โดยในวันนี้ นายสิริรัฐ ชุมอุปการ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร ได้เรียกหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ประชุมแนวทางการช่วยเหลือ และเฝ้าระวังพื้นที่ ที่คาดว่าจะประสบปัญหาภัยแล้ง โดยเฉพาะในเรื่องของน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค ได้สั่งกำชับว่าต้องหาทางช่วยราษฎรในทุกๆวิถีทาง ชาวบ้านต้องมีน้ำกิน-น้ำใช้ ส่วนน้ำเพื่อทำการเกษตรนั้น ผู้ว่าฯพิจิตร กล่าวว่า ถ้าหากใครจะทำนาปรังต้องมีบ่อน้ำ มีบ่อน้ำบาดาล อยู่ในไร่นาของตนเอง บอกแบบตรงไปตรงมาว่า ต้องช่วยเหลือตนเอง ทั้งในพื้นที่เขตชลประทานและนอกเขตชลประทานปีนี้ไม่มีน้ำจากเขื่อนส่งมาให้ทำนาปรังอย่างแน่นอน อีกทั้งผู้ที่เคยใช้แพสูบน้ำจากพลังงานไฟฟ้าสูบน้ำจากแม่น้ำน่านไปทำนาปรังปีนี้ก็ต้องขอร้องว่าต้องงดสูบน้ำ ทั้งนี้เพื่อเก็บน้ำในแม่น้ำน่านไว้เพื่อการอุปโภค-บริโภค และรักษาระบบนิเวศ นอกจากนี้ ผู้ว่าฯพิจิตร ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า หากหมู่บ้านใดที่น้ำประปาไม่เพียงพอ ทรางราชการก็ได้เตรียมการทั้งในระดับอำเภอและจังหวัดที่จะต้องช่วยกันแก้ไขปัญหา ด้วยการสนับสนุนรถแจกจ่ายน้ำ เจาะบ่อน้ำบาดาลเพิ่ม ส่วนการประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) จะมีการประชุมติดตามสถานการณ์ของทั้ง 12 อำเภอ เป็นระยะๆ ว่ามีอำเภอใด ตำบลใดบ้างที่มีปัญหาภัยแล้งเข้าหลักเกณฑ์ที่จะประกาศ เป็นเขตพื้นที่ภัยพิบัติภัยแล้ง เพื่อที่จะได้จัดหางลประมาณไปช่วยเหลือได้โดยทันที ในส่วนของเกษตรกรถ้าไม่ได้ทำนาปรังแล้วต้องการทำอาชีพเสริมทั้งการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ ขณะนี้ สนง.เกษตรจังหวัดพิจิตร และ สนง.ปศุสัตว์ ก็ได้มีแผนการช่วยเหลือราษฎรไว้พร้อมแล้วด้วยเช่นกัน

อื่นๆ

  • nppct
  • 15 ต.ค. 2566
  • 128

วินัย ส.ส.พิจิตรเขต2นำทีมแจกถุงยังชีพผู้ประสบภัย10อำเภอ3,084ชุด

วันเสาร์ที่ 14 ตุลาคม 2566 นายวินัย ภัทรประสิทธิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพิจิตร เขต 2 นายสิงหราช วงษ์เสงี่ยม รองผู้ว่าฯ พิจิตร รักษาราชการแทน ผู้ว่าฯ พิจิตร และ ปภ.พิจิตร , ส่วนราชการ ได้ร่วมกันนำถุงยังช

อ่านต่อ...
จบป.ตรีเจอพิษโควิดบอกลาเมืองกรุงกลับพิจิตรยึดอาชีพทำซุ้มไม้ไผ่พ่อทำลูกขายออนไลน์รายได้ปัง (25 มิ.ย. 2564) ผู้ว่าฯพิจิตรร่วมกับ นราพัฒน์ ผช.รมต.เกษตรปล่อยพันธุ์ปลา8แสนตัวเฉลิมพระเกียรติ (22 มิ.ย. 2564) กรมชลประทานทุ่มงบ580ล้านบาทสร้างประตูระบายน้ำในแม่น้ำยมพื้นที่พิจิตร (14 มิ.ย. 2564) พิจิตรฝนทิ้งช่วงนาข้าวนับหมื่นไร่จ่อเข้าขั้นวิกฤตชาวนาวิงวอนชลประทานช่วยด่วน (8 มิ.ย. 2564) พิจิตรหนุ่ม ม.6ลูกชาวสวนปลูกแคคตัสไลฟ์สดขายได้เงินล้าน (1 มิ.ย. 2564) นายก อบต.โพธิ์ประทับช้าง ปลุกพลังชาวบ้านฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อป้องกันโควิด (31 พ.ค. 2564) อบจ.พิจิตรเล็งหนุนซ่อมคลองส่งน้ำตำบลเนินมะกอกช่วยชาวนา3พันไร่ (15 พ.ค. 2564) พิจิตรโควิดระบาดต้องปิดสำนักงาน3แห่งข้าราชการ-พนักงานเกือบร้อยส่งเข้ากักกัน14วัน (8 พ.ค. 2564) นิคมอุตสาหกรรมพิจิตรจับมือโรงงานไฟฟ้าแจกหน้ากากอนามัยให้ชาวบ้านทั้งตำบลสู้โควิด (27 เม.ย. 2564) ส.ส.พรชัย พปชร.นำชุดPPEและอุปกรณ์มอบให้ รพ.พิจิตร ใช้สู้โควิด (26 เม.ย. 2564)