ผู้ว่าฯ-สสจ.พิจิตรให้กักตัว64นศ.โดยถามความสมัครใจจะอยู่ต่อที่วิทยาลัยฯหรือจะขอกลับบ้าน

ผู้ว่าฯ-นายกเหล่ากาชาด พร้อมด้วย สสจ.พิจิตร ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าการใช้มาตรการตาม พรก.ฉุกเฉิน โควิด19 ที่ใช้การกักกันตัว 64 นักศึกษา ของ ว.ชุมชนพิจิตร ทั้ง 2 แห่ง ที่ไปฝึกงานพื้นที่แพร่ระบาดแล้วถูกส่งตัวกลับโดยใช้ที่ วิทยาลัยฯ เป็นสถานที่กักกันตัวนอนผ่าน 3 คืนไม่พบผู้ป่วยหรือผู้มีไข้ มาตรการผ่อนคลาย ถามความสมัครใจจะอยู่ต่อหรือจะขอกลับไปดูแลรับผิดชอบต่อสังคมกักตัวอยู่ที่บ้าน สรุปมีทั้งอยู่ต่อและขอกลับบ้านท่ามกลางกระแสต่างๆนาๆ วันที่ 6 เม.ย. 2563 นายสิริรัฐ ชุมอุปการ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร นางสุกัญญา ชุมอุปการ นายกเหล่ากาชาดจังหวัดพิจิตร , นายแพทย์ธีระพงษ์ แก้วภมร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพิจิตร , นายสุเทพ วงษ์พานิช รองผู้ว่าฯพิจิตร , นายณรงค์ศักดิ์ หอมมาลัยปลัดจังหวัดพิจิตร ได้ร่วมกันเดินทางไปที่วิทยาลัยชุมชนพิจิตร หน่วยจัดการศึกษาทับคล้อ ซึ่งเป็นสถานที่ใช้กักกันตัวนักศึกษาที่ไปฝึกงานที่จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่แพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด19 แล้วทางโรงงานส่งตัวกลับมา โดยมี นายวิศิษฐ์ เบญจพิทักษ์กุล นายอำเภอทับคล้อ และ นายวิชัย ชวนรักษาสัตย์ ผอ.วิทยาลัยชุมชนพิจิตร ซึ่งเป็นผู้บริหาร วิทยาลัยชุมชนพิจิตร ที่ อ.โพทะเล และที่ อ.ทับคล้อ ได้ให้การต้อนรับและรายงานข้อมูลว่า นักศึกษาจำนวน 64 คน เป็น นักศึกษาระดับ ปวช.-ปวส. ซึ่งไปฝึกงานที่ บริษัท มิตซูบิชิ อิเล็คทริค คอนซูมเมอร์ โปรดักส์ (ประเทศไทย) จำกัด ตั้งอยู่ที่ จ.ชลบุรี ซึ่งขณะนี้เป็นพื้นที่เกิดโรคระบาดไวรัสโควิด 19 ดังนั้นทางโรงงานจึงส่งตัวกลับมายัง อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร เมื่อวันที่ 4 เม.ย. 2563 ลงที่ วิทยาลัยชุมชนทับคล้อ 36 คน เป็นชาย 24 คน เป็นหญิง 12 คน และไปลงที่ วิทยาลัยชุมชนโพทะเล 28 คน เป็นนักศึกษาชาย 9 คน นักศึกษาหญิง 9 คน โดยให้ใช้ห้องประชุมและอาคารเรียนติดแอร์ให้เป็นที่กักกันตัวโดยมีสาธารรณสุขอำเภอทับคล้อ – โพทะเล ให้การดูแลอย่างใกล้ชิด ส่วนเรื่องอาหารการกิน นายอำเภอทั้ง 2 ท่าน ก็จัดหามาให้กินครรบ 3 มื้อ ปฏิบัติดูแลเสมือนลูกหลาน แต่ถึงขณะนี้ก็มีผู้ปกครองรวมถึงตัวนักศึกษาบางคนก็อยากกลับบ้าน บางคนก็อยากอยู่ต่อ ด้วยเหตุผลที่แตกต่างกัน ล่าสุดวันนี้ นายสิริรัฐ ชุมอุปการ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร , นายแพทย์ธีระพงษ์ แก้วภมร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพิจิตร จึงได้ลงมาประชุมชี้แจงซึ่งได้ข้อสรุปว่าจะให้สมัครใจใครอยากอยู่ต่อที่สถานกักกันตัวภายในวิทยาลัยทั้ง 2 แห่ง ก็ขอให้กรอกแบบฟอร์มแสดงเจตนา ส่วนใครที่จะขอกลับบ้านต้องให้ผู้ปกครองมาลงนามรับรองว่าจะดูแลบุตรหลาน รวมถึงตัวของนักศึกษาเอง ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะมีอายุ 17-19 ปี แล้ว ก็ต้องให้คำมั่นสัญญาว่าจะรับผิดชอบต่อสังคมด้วยการอยู่บ้านสวมหน้ากากอนามัยแล้วแยกตัวอยู่ห่างจากคนในครอบครัวตามคำแนะนำที่อาจารย์และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขให้ความรู้ในช่วงที่กักกันตัว ผลจากการสอบถามอย่างไม่เป็นทางการก็พบว่านักศึกษาหญิงส่วนใหญ่อยากกลับบ้าน จะมีขออยู่ต่อก็ไม่กี่คน รวมถึงนักศึกษาชายด้วยเช่นกัน เนื่องจากที่บ้านผู้ปกครองไปทำมาหากินอยู่ต่างจังหวัดแต่คนที่อยากกลับบ้านก็บอกว่าถ้าอยู่แล้วไม่สะดวกก็อาจจะขอกลับมาที่วิทยาลัยอีกครั้ง ซึ่งในช่วงบ่ายและเย็นของวันนี้ก็จะเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองมาดำเนินการเพื่อรับตัวกลับบ้านและไปควบคุมดูแลกันต่อ โดยมี อสม. และ กำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน กำกับดูแลอย่างใกล้ชิด ท่ามกลางกระแสของชาวโซเชียลที่เป็นห่วงกังวลกันไปต่างๆนานา แต่โดยสรุป นายสิริรัฐ ชุมอุปการ ผู้ว่าฯพิจิตร , นายแพทย์ธีระพงษ์ แก้วภมร นายแพทย์ สสจ.พิจิตร ยังกล่าวยืนยันว่า ณ เวลานี้ จังหวัดพิจิตรยังคงรักษาพื้นที่เป็น 1 ใน 11 จังหวัดของประเทศไทย ที่ยังไม่พบผู้ติดเชื้อหรือผู้ป่วยด้วยโรคไวรัสโควิด19 แต่อย่างใด

อื่นๆ

  • nppct
  • 15 ต.ค. 2566
  • 128

วินัย ส.ส.พิจิตรเขต2นำทีมแจกถุงยังชีพผู้ประสบภัย10อำเภอ3,084ชุด

วันเสาร์ที่ 14 ตุลาคม 2566 นายวินัย ภัทรประสิทธิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพิจิตร เขต 2 นายสิงหราช วงษ์เสงี่ยม รองผู้ว่าฯ พิจิตร รักษาราชการแทน ผู้ว่าฯ พิจิตร และ ปภ.พิจิตร , ส่วนราชการ ได้ร่วมกันนำถุงยังช

อ่านต่อ...
กรมชลประทานโชว์ผลงานงบ515ล้านก่อสร้างปตร.ท่านางงามเชื่อมั่นปี67นาข้าวกว่า5หมื่นไร่ลุ่มน้ำยมมีน้ำอุดมสมบูรณ์ (16 มิ.ย. 2566) อธิบดีกรมการค้าภายในบุกเมืองชาละวันเปิดงานมหกรรมสินค้าราคาประหยัดลดสูงสุดถึง 70% (27 ม.ค. 2566) สสจ.พิจิตรสั่งลุยกำจัดลูกน้ำยุงลายหลังน้ำลดเหตุเกิดไข้เลือดออกตาย1ป่วย111ราย (31 ต.ค. 2565) โรงไฟฟ้านิคมอุตสาหกรรมพิจิตรหนุนงบจ้างครูช่วยโรงเรียนรอบโรงงาน (2 ก.ค. 2565) ผู้ว่าฯพิจิตร นำจิตอาสาพัฒนาแหล่งน้ำเฉลิมพระเกียรติพระราชินี (3 มิ.ย. 2565) แม่น้ำยมพิจิตรอนาคตแจ่มใสกรมชลฯทุ่มงบ580ล้านบาทสร้างประตูระบายน้ำแบบขั้นบันได (24 พ.ค. 2565) ป.ป.ท.เขต 6 ตรวจเข้มงบ649ล้านกรมทางหลวงสร้างถนนพิจิตร-สากเหล็ก (22 พ.ค. 2565) กรมชลประทานสั่งเร่งสร้างประตูระบายน้ำท่าแหแม่น้ำยมกักเก็บน้ำเพื่อเกษตรกร2จังหวัด (12 พ.ค. 2565) โรงไฟฟ้านิคมอุตสาหกรรมพิจิตรกิจกรรมCSRมอบถุงปันสุขช่วยชาวบ้านสู้วิกฤตโควิด (12 พ.ค. 2565) ผู้ว่าฯเดี่ยว คนเก่ง แห่งเมืองชาละวัน นายไพบูลย์ ณะบุตรจอม เข้ารับรางวัลศิษย์เก่าดีเด่น มจพ. ประจำปี 2564 (7 พ.ค. 2565)