สหกรณ์ออมทรัพย์ครูพิจิตรชี้แจงเหตุครูชูป้ายโวยซื้อประกันชีวิตเป็นหลักประกันเงินกู้แพงเว่อ

ปธ.สหกรณ์ออมทรัพย์ครูพิจิตรและคณะกรรมการร่วมกันชี้แจงเหตุกลุ่มครูชูป้ายร้อง สส.พิจิตร อ้างเหตุการซื้อประกันชีวิตเป็นหลักประกันเงินกู้ว่าทำไมแพงจัง อีกทั้งวิธีดำเนินการเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ปธ.สหกรณ์ฯเปิดใจถึงเหตุผลยืนยันดำเนินการโปร่งใสพร้อมให้ตรวจสอบ วันที่ 7 ก.ค. 2563 นายมานิตย์ พรหมอยู่ ประธานสหกรณ์ออมทรัพย์ครูพิจิตร ได้เปิดใจให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวกรณีที่มีสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ครูพิจิตรกลุ่มหนึ่งไปชูป้ายร้องทุกข์กับ นายนราพัฒน์ แก้วทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ นายพรชัย อินทร์สุข สส.พปชร.พิจิตร เขต 1 โดยมีข้อความที่ร้องทุกข์ว่า สหกรณ์คราวแรกให้ซื้อประกันเพื่อเป็นหลักค้ำประกันเงินกู้ครั้งแรกให้จ่ายเบี้ยประกัน 26,775 บาท แล้วต่อมาสั่งเปลี่ยนให้จ่าย 69,750 บาท แพงเพิ่มขึ้น 42,975 บาท นั้น สหกรณ์ฯ ขอชี้แจงว่ากรณี ดังกล่าวเป็นความจริงโดยการพิจารณาจากบริษัทที่เข้าเสนอราคา 9 บริษัท แต่มีบริษัทคุ้มภัยโตเกียวมารีนประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขของสหกรณ์ที่กำหนดทุกประการ ต่อมาได้มีสมาชิกส่วนหนึ่งได้มีการทักท้วง โดยการลงสื่อโซเชียล ว่าเบี้ยประกันสูงเกินไป สหกรณ์จึงได้เชิญคณะกรรมการประชุมเพื่อทบทวนมติเรื่องดังกล่าว โดยมีมติให้ยกเลิกการทำประกันกับบริษัทคุ้มภัยโตเกียวมารีนประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เนื่องจากยังไม่ได้ลงนามใน MOU และนำข้อมูลเสนอของบริษัทเอเชียประกันภัย 1950 จำกัด (มหาชน) มาพิจารณาใหม่ ซึ่งเป็นการนำเสนอประกันอุบัติเหตุ แต่มีเงื่อนไขขยายความคุ้มครองค่าจัดการงานศพ 100% ของทุนเงินทำประกัน ซึ่งมีเบี้ยประกัน 595 บาท /100,000บาท / ปี เบี้ยประกัน 3 ปี อยู่ที่ 26,775 บาท / คน แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อความไม่ประมาทสหกรณ์ออมทรัพย์ครูพิจิตร จำกัด จึงได้ทำหนังสือหารือไปที่ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.จังหวัดพิจิตร) และ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.กลาง) เกี่ยวกับเงื่อนไขการขยายความคุ้มครอง

จากนั้นเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2563 สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.กลาง) ได้ให้ความเห็นชอบในแบบประกันดังกล่าวหรือไม่ ระหว่างที่รอหนังสือตอบข้อหารือ จาก สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.กลาง) สหกรณ์ได้ทำ MOU กับบริษัทเอเชียประกันภัย 1950 จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2563 และต่อมา เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2563 สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.กลาง) ได้มีหนังสือตอบข้อหารือมายังสหกรณ์ออมทรัพย์ครูพิจิตร จำกัด ว่าแบบประกันที่บริษัทเอเชียประกันภัย 1950 จำกัด (มหาชน) นำเสนอไม่เป็นไปตามเงื่อนไขตามที่ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.กลาง) ได้ให้ความเห็นชอบไว้ จึงเป็นเหตุให้คณะกรรมการมีมติ เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2563 ได้ยกเลิกการจัดทำประกันกับบริษัทเอเชียประกันภัย 1950 จำกัด (มหาชน) และเนื่องจากระยะเวลากระชั้นชิด กรรมธรรม์ของบริษัทเดิมจะหมดความคุ้มครอง ในวันที่ 21 มิถุนายน 2563 คณะกรรมการเกรงว่าจะเกิดความเสียหายต่อสมาชิกและสหกรณ์ฯถ้าหาบริษัทมารองรับในการทำประกันต่อเนื่องไม่ได้ หากสมาชิกเสียชีวิตจะทำให้สมาชิกเสียประโยชน์ครอบครัวและผู้ค้ำประกันจะเดือดร้อนและสหกรณ์จะเกิดความเสียหาย จึงได้จัดหาบริษัทประกันมารองรับให้ทันกำหนดเวลา โดยการสื่อสารติดต่อกับบริษัทต่างๆ โดยจัดทำหนังสือและเจ้าหน้าที่ประสานงาน ให้มาดำเนินการเสนอราคา ในวันที่ 20 มิถุนายน 2563 เวลา 13.00 น. ซึ่งมีบริษัทมานำเสนอ 4 บริษัท แต่ก็มีเพียงบริษัทคุ้มภัยโตเกียวมารีนประกันภัย(ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เท่านั้น ที่รับเงื่อนไขของสหกรณ์ได้จึง ที่ประชุมคณะกรรมการจึงมีมติให้จัดทำประกันต่อเนื่องระยะเวลาคุ้มครอง 3 ปี กับบริษัทคุ้มภัยโตเกียวมารีนประกันภัย(ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) รายละเอียดดังนี้ อายุ 20 ปี -55 ปี เบี้ยประกัน 950 บาท/100,000 บาท/ปีทุนประกัน 3,000,000 บาท (เบี้ยประกัน 3 ปี 42,750 บาท /คน) อายุ 55 ปี 1 วัน -75 ปี เบี้ยประกัน 1,550 บาท/100,000 บาท/ปีทุนประกัน 3,000,000 บาท (เบี้ยประกัน 3 ปี 69,750 บาท/คน) อายุ 75 ปี 1 วัน -80 ปี เบี้ยประกัน 1,550 บาท/100,000 บาท/ปีทุนประกัน 800,000 บาท (เบี้ยประกัน 3 ปี 37,200 บาท/คน) และบริษัทได้คุ้มครองชั่วคราว ( Cover Note ) แล้วตั้งแต่ วันที่ 21 มิถุนายน 2563 หากบริษัทไม่ได้รับเงินหรือแจ้งการเปลี่ยนแปลงใดๆภายใน วันที่ 21 กรกฎาคม 2563 จะหมดความคุ้มครองชั่วคราวตามกรมธรรม์

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า...สำหรับเหตุการณ์ดังกล่าวกลายเป็นเรื่องบานปลายเมื่อทั้งสองฝ่ายต่างคนต่างมีเหตุผลและมีการร้องเรียนไปยังส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ตรวจสอบ และมีคำบอกเล่าจากคณะกรรมการสหกรณ์ว่าในวันที่ 10ก.ค. 2563 จะเชิญตัวแทนฝ่ายที่ร้องทุกข์ร้องเรียนและจะเชิญอัยการฝ่ายคุ้มครองสิทธิ - สหกรณ์จังหวัดพิจิตร - คปภ.จังหวัดพิจิตร มาร่วมกันเป็นกรรมการกลางเพื่อพิจารณาว่า สิ่งใดควร สิ่งใดไม่ควร เพื่อยุติปัญหาดังกล่าวต่อไป

อื่นๆ

  • nppct
  • 12 เม.ย. 2568
  • 513

รองผู้ว่าฯพิจิตร นำทีมกอ.รมน.-ปกครอง-ตำรวจรื้อทุบแหล่งเสื่อมโทรมเกี่ยวข้องยาเสพติดภายในสนามกีฬาด้านหลังสถานศึกษา

วันที่ 11 เมษายน 2568 นางสาวธนียา นัยพินิจ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร มอบให้ นายกิตติพล เวชกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร, พ.อ.สัมฤทธิ์ ฉัตรวัฒนาสกุล รอง ผอ.รมน.จังหวัดพิจิตร , นายรณรงค์ สิทธิเขตกรณ์

อ่านต่อ...
ผู้ว่าฯพิจิตรจัดตลาดนัดโรงสีพบชาวนาเปิดรับซื้อข้าวความชื้น15%ตันละ7,600บาท (9 เม.ย. 2568) เหมืองทองอัคราสนับสนุนทีมฟุตบอลพิจิตรยูไนเต็ดส่งเสริมเยาวชนเล่นกีฬาฟุตบอลเพื่อสุขภาพและต้านยาเสพติด (24 มี.ค. 2568) ชลประทานพิจิตรเข้าตรวจนับอุปกรณ์ประตูระบายน้ำท่าแหแม่น้ำยมเตรียมพร้อมรับโอนเพื่อบริหารจัดการ (24 มี.ค. 2568) ชาวนาเมืองชาละวันขายข้าวนานข้ามปีไม่ได้เงินส่อถูกโกงสภาเกษตรพาร้องทุกข์วอนอัยการสคช.พิจิตร ดำเนินคดี (18 มี.ค. 2568) AIS ร่วมจำหน่าย“วันอาทิตย์”บริการโซลาร์บ้านครบวงจร โดย กัลฟ์1 ที่ AIS Shop ทั่วประเทศ เติมเต็มไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม (17 มี.ค. 2568) AIS ชวนลูกค้ายืนยันตัวตนที่ AIS Shop และจุดบริการทั่วประเทศ เสริมความปลอดภัย อุ่นใจยิ่งกว่า พร้อมลุ้นทองคำกว่า 1.6 ล้านบาท (12 มี.ค. 2568) มีข่าวดีมาบอก! กรมชลประทานเดินหน้าเร่งทำแผนพัฒนาลุ่มน้ำยมตอนบนและตอนล่างครอบคลุมพื้นที่4จังหวัด (1 มี.ค. 2568) กรมชลประทานมั่นใจ ปตร.ท่าแห มีความพร้อมบริหารจัดการน้ำเพื่อช่วยแก้ปัญหาภัยแล้ง-น้ำท่วมให้กับเกษตรกรลุ่มน้ำยม (19 ก.ย. 2567) กรมชลประทานเร่งงานก่อสร้าง ปตร.โพธิ์ประทับช้างเป็นไปตามแผนงานที่วางไว้แล้ว (16 ก.ย. 2567) วินัย ส.ส.พิจิตรเขต2นำทีมแจกถุงยังชีพผู้ประสบภัย10อำเภอ3,084ชุด (15 ต.ค. 2566)