สหกรณ์ออมทรัพย์ครูพิจิตรชี้แจงเหตุครูชูป้ายโวยซื้อประกันชีวิตเป็นหลักประกันเงินกู้แพงเว่อ

ปธ.สหกรณ์ออมทรัพย์ครูพิจิตรและคณะกรรมการร่วมกันชี้แจงเหตุกลุ่มครูชูป้ายร้อง สส.พิจิตร อ้างเหตุการซื้อประกันชีวิตเป็นหลักประกันเงินกู้ว่าทำไมแพงจัง อีกทั้งวิธีดำเนินการเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ปธ.สหกรณ์ฯเปิดใจถึงเหตุผลยืนยันดำเนินการโปร่งใสพร้อมให้ตรวจสอบ วันที่ 7 ก.ค. 2563 นายมานิตย์ พรหมอยู่ ประธานสหกรณ์ออมทรัพย์ครูพิจิตร ได้เปิดใจให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวกรณีที่มีสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ครูพิจิตรกลุ่มหนึ่งไปชูป้ายร้องทุกข์กับ นายนราพัฒน์ แก้วทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ นายพรชัย อินทร์สุข สส.พปชร.พิจิตร เขต 1 โดยมีข้อความที่ร้องทุกข์ว่า สหกรณ์คราวแรกให้ซื้อประกันเพื่อเป็นหลักค้ำประกันเงินกู้ครั้งแรกให้จ่ายเบี้ยประกัน 26,775 บาท แล้วต่อมาสั่งเปลี่ยนให้จ่าย 69,750 บาท แพงเพิ่มขึ้น 42,975 บาท นั้น สหกรณ์ฯ ขอชี้แจงว่ากรณี ดังกล่าวเป็นความจริงโดยการพิจารณาจากบริษัทที่เข้าเสนอราคา 9 บริษัท แต่มีบริษัทคุ้มภัยโตเกียวมารีนประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขของสหกรณ์ที่กำหนดทุกประการ ต่อมาได้มีสมาชิกส่วนหนึ่งได้มีการทักท้วง โดยการลงสื่อโซเชียล ว่าเบี้ยประกันสูงเกินไป สหกรณ์จึงได้เชิญคณะกรรมการประชุมเพื่อทบทวนมติเรื่องดังกล่าว โดยมีมติให้ยกเลิกการทำประกันกับบริษัทคุ้มภัยโตเกียวมารีนประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เนื่องจากยังไม่ได้ลงนามใน MOU และนำข้อมูลเสนอของบริษัทเอเชียประกันภัย 1950 จำกัด (มหาชน) มาพิจารณาใหม่ ซึ่งเป็นการนำเสนอประกันอุบัติเหตุ แต่มีเงื่อนไขขยายความคุ้มครองค่าจัดการงานศพ 100% ของทุนเงินทำประกัน ซึ่งมีเบี้ยประกัน 595 บาท /100,000บาท / ปี เบี้ยประกัน 3 ปี อยู่ที่ 26,775 บาท / คน แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อความไม่ประมาทสหกรณ์ออมทรัพย์ครูพิจิตร จำกัด จึงได้ทำหนังสือหารือไปที่ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.จังหวัดพิจิตร) และ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.กลาง) เกี่ยวกับเงื่อนไขการขยายความคุ้มครอง

จากนั้นเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2563 สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.กลาง) ได้ให้ความเห็นชอบในแบบประกันดังกล่าวหรือไม่ ระหว่างที่รอหนังสือตอบข้อหารือ จาก สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.กลาง) สหกรณ์ได้ทำ MOU กับบริษัทเอเชียประกันภัย 1950 จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2563 และต่อมา เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2563 สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.กลาง) ได้มีหนังสือตอบข้อหารือมายังสหกรณ์ออมทรัพย์ครูพิจิตร จำกัด ว่าแบบประกันที่บริษัทเอเชียประกันภัย 1950 จำกัด (มหาชน) นำเสนอไม่เป็นไปตามเงื่อนไขตามที่ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.กลาง) ได้ให้ความเห็นชอบไว้ จึงเป็นเหตุให้คณะกรรมการมีมติ เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2563 ได้ยกเลิกการจัดทำประกันกับบริษัทเอเชียประกันภัย 1950 จำกัด (มหาชน) และเนื่องจากระยะเวลากระชั้นชิด กรรมธรรม์ของบริษัทเดิมจะหมดความคุ้มครอง ในวันที่ 21 มิถุนายน 2563 คณะกรรมการเกรงว่าจะเกิดความเสียหายต่อสมาชิกและสหกรณ์ฯถ้าหาบริษัทมารองรับในการทำประกันต่อเนื่องไม่ได้ หากสมาชิกเสียชีวิตจะทำให้สมาชิกเสียประโยชน์ครอบครัวและผู้ค้ำประกันจะเดือดร้อนและสหกรณ์จะเกิดความเสียหาย จึงได้จัดหาบริษัทประกันมารองรับให้ทันกำหนดเวลา โดยการสื่อสารติดต่อกับบริษัทต่างๆ โดยจัดทำหนังสือและเจ้าหน้าที่ประสานงาน ให้มาดำเนินการเสนอราคา ในวันที่ 20 มิถุนายน 2563 เวลา 13.00 น. ซึ่งมีบริษัทมานำเสนอ 4 บริษัท แต่ก็มีเพียงบริษัทคุ้มภัยโตเกียวมารีนประกันภัย(ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เท่านั้น ที่รับเงื่อนไขของสหกรณ์ได้จึง ที่ประชุมคณะกรรมการจึงมีมติให้จัดทำประกันต่อเนื่องระยะเวลาคุ้มครอง 3 ปี กับบริษัทคุ้มภัยโตเกียวมารีนประกันภัย(ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) รายละเอียดดังนี้ อายุ 20 ปี -55 ปี เบี้ยประกัน 950 บาท/100,000 บาท/ปีทุนประกัน 3,000,000 บาท (เบี้ยประกัน 3 ปี 42,750 บาท /คน) อายุ 55 ปี 1 วัน -75 ปี เบี้ยประกัน 1,550 บาท/100,000 บาท/ปีทุนประกัน 3,000,000 บาท (เบี้ยประกัน 3 ปี 69,750 บาท/คน) อายุ 75 ปี 1 วัน -80 ปี เบี้ยประกัน 1,550 บาท/100,000 บาท/ปีทุนประกัน 800,000 บาท (เบี้ยประกัน 3 ปี 37,200 บาท/คน) และบริษัทได้คุ้มครองชั่วคราว ( Cover Note ) แล้วตั้งแต่ วันที่ 21 มิถุนายน 2563 หากบริษัทไม่ได้รับเงินหรือแจ้งการเปลี่ยนแปลงใดๆภายใน วันที่ 21 กรกฎาคม 2563 จะหมดความคุ้มครองชั่วคราวตามกรมธรรม์

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า...สำหรับเหตุการณ์ดังกล่าวกลายเป็นเรื่องบานปลายเมื่อทั้งสองฝ่ายต่างคนต่างมีเหตุผลและมีการร้องเรียนไปยังส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ตรวจสอบ และมีคำบอกเล่าจากคณะกรรมการสหกรณ์ว่าในวันที่ 10ก.ค. 2563 จะเชิญตัวแทนฝ่ายที่ร้องทุกข์ร้องเรียนและจะเชิญอัยการฝ่ายคุ้มครองสิทธิ - สหกรณ์จังหวัดพิจิตร - คปภ.จังหวัดพิจิตร มาร่วมกันเป็นกรรมการกลางเพื่อพิจารณาว่า สิ่งใดควร สิ่งใดไม่ควร เพื่อยุติปัญหาดังกล่าวต่อไป

อื่นๆ

  • nppct
  • 15 ต.ค. 2566
  • 109

วินัย ส.ส.พิจิตรเขต2นำทีมแจกถุงยังชีพผู้ประสบภัย10อำเภอ3,084ชุด

วันเสาร์ที่ 14 ตุลาคม 2566 นายวินัย ภัทรประสิทธิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพิจิตร เขต 2 นายสิงหราช วงษ์เสงี่ยม รองผู้ว่าฯ พิจิตร รักษาราชการแทน ผู้ว่าฯ พิจิตร และ ปภ.พิจิตร , ส่วนราชการ ได้ร่วมกันนำถุงยังช

อ่านต่อ...
กรมชลประทานโชว์ผลงานงบ515ล้านก่อสร้างปตร.ท่านางงามเชื่อมั่นปี67นาข้าวกว่า5หมื่นไร่ลุ่มน้ำยมมีน้ำอุดมสมบูรณ์ (16 มิ.ย. 2566) อธิบดีกรมการค้าภายในบุกเมืองชาละวันเปิดงานมหกรรมสินค้าราคาประหยัดลดสูงสุดถึง 70% (27 ม.ค. 2566) สสจ.พิจิตรสั่งลุยกำจัดลูกน้ำยุงลายหลังน้ำลดเหตุเกิดไข้เลือดออกตาย1ป่วย111ราย (31 ต.ค. 2565) โรงไฟฟ้านิคมอุตสาหกรรมพิจิตรหนุนงบจ้างครูช่วยโรงเรียนรอบโรงงาน (2 ก.ค. 2565) ผู้ว่าฯพิจิตร นำจิตอาสาพัฒนาแหล่งน้ำเฉลิมพระเกียรติพระราชินี (3 มิ.ย. 2565) แม่น้ำยมพิจิตรอนาคตแจ่มใสกรมชลฯทุ่มงบ580ล้านบาทสร้างประตูระบายน้ำแบบขั้นบันได (24 พ.ค. 2565) ป.ป.ท.เขต 6 ตรวจเข้มงบ649ล้านกรมทางหลวงสร้างถนนพิจิตร-สากเหล็ก (22 พ.ค. 2565) กรมชลประทานสั่งเร่งสร้างประตูระบายน้ำท่าแหแม่น้ำยมกักเก็บน้ำเพื่อเกษตรกร2จังหวัด (12 พ.ค. 2565) โรงไฟฟ้านิคมอุตสาหกรรมพิจิตรกิจกรรมCSRมอบถุงปันสุขช่วยชาวบ้านสู้วิกฤตโควิด (12 พ.ค. 2565) ผู้ว่าฯเดี่ยว คนเก่ง แห่งเมืองชาละวัน นายไพบูลย์ ณะบุตรจอม เข้ารับรางวัลศิษย์เก่าดีเด่น มจพ. ประจำปี 2564 (7 พ.ค. 2565)