เหมืองทองอัคราตรวจสุขภาพชาวบ้านมั่นใจคาดเป็นนัยสำคัญอาจได้กลับมาเปิดกิจการอีกครั้ง

เรื่องวุ่นๆของเหมืองทองอัคราพิจิตร ส่อเค้าว่าใกล้จะได้ข้อยุติเร็วๆนี้ ล่าสุดมีการจัดทำข้อมูลพื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน สำหรับการทำเหมืองแร่ทองคำและการประกอบโลหกรรมแร่ทองคำ สุ่มตัวอย่างชาวบ้าน 400 คน ในรัศมี 5 กิโลเมตร รอบเหมืองทอง ทำการตรวจสุขภาพคาดเป็นนัยสำคัญอาจได้กลับมาเปิดกิจการอีกครั้ง ส่วนเรื่องผลฟ้องร้องอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศคาดก่อนสิ้นปีรู้ว่าใครจะแพ้ ใครจะชนะ วันที่ 17 ส.ค. 2563 ผู้สื่อข่าวรายงานความเคลื่อนไหวของเหมืองทองอัครา ซึ่งตั้งอยู่ที่ ต.เขาเจ็ดลูก อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร ว่า ในช่วงระหว่าง 14 - 16 ส.ค. 2563 ได้มีการจัดให้มีการตรวจสุขภาพชาวบ้านที่อยู่รอบเหมืองทองอัคราในรัศมี 5 กม. ซึ่งประกอบด้วยชาวบ้านจากในเขต ต.วังโพรง อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก โดยใช้สถานที่วัดวังขวัญ , ชาวบ้านจาก ต.ท้ายดง อ.วังโป่ง จ.เพชรบูรณ์ โดยใช้สถานที่วัดวังชะนาง , ชาวบ้านจาก ต.เขาเจ็ดลูก อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร โดยใช้สถานที่วัดหนองขนาก เป็นสถานที่ตรวจสุขภาพชาวบ้านทุกเพศ ทุกวัย โดยใช้การหลักการสุ่มตัวอย่างชาวบ้านจำนวน 400 คน ซึ่งเป็นการดำเนินการตาม “ข้อเสนอแผนงานการจัดทำข้อมูลพื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภพของประชาชน สำหรับการทำเหมืองแร่ทองคำและการประกอบโลหกรรมแร่ทองคำของบริษัทอัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) ซึ่งการดำเนินการตรวตสุขภาพในครั้งนี้มีแพทย์จากโรงพยาบาลพุทธชินราช จ.พิษณุโลก และคลินิกห้องแล็บเอกชนภายใต้การกำกับดูแลของแพทย์จาก รพ.พุทธชินราช

ทั้งนี้สืบเนื่องจากบริษัทฯ ได้ส่งแผนงานที่ได้จัดทำร่วมกับบริษัท เอ บี อี เอ็น เอ็นจิเนียริง คอนซัลเตนท์ จำกัด) ให้เพื่อกำกับดูแลงานที่เป็นข้อเสนอแผนฯ เพื่อให้ทางกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่พิจารณา ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศของการตรวจสุขภาพประชาชนรอบเหมืองทองอัคราครั้งนี้ได้มี นายเชิดศักดิ์ อรรถอารุณ ผู้จัดการฝ่ายประสานงานภายนอก บริษัทอัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) เป็นตัวแทนฝ่ายเหมืองทองอัครา และเป็นผู้ดำเนินการ โดยมีนายภูดิท อินสุวรรณ์ สส.พป.ชร.พิจิตร เขต 2 , ผู้บริหารระดับท้องถิ่น เช่น กำนัน- ผู้ใหญ่บ้าน – นายกอบต.-ฝ่ายปกครอง เข้าร่วมสังเกตการณ์ ซึ่งบรรยากาศเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

สำหรับการดำเนินการตรวจสุขภาพชาวบ้านรอบเหมืองทองอัคราครั้งนี้จากการสอบถามชาวบ้านว่าคิดอย่างไร ? ชาวบ้านต่างตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า น่าจะเป็นนัยสำคัญหรือข่าวดีที่เหมืองทองอัคราอาจจะได้กลับมาเปิดกิจการอีกครั้ง ซึ่งเป็นการดีต่อการสร้างงานให้กับคนในชุมชน ในส่วนของเรื่องที่เหมืองทองอัคราฯมีการฟ้องร้องรัฐบาลไปยังอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศเพื่อขอความเป็นธรรมจากการที่รัฐบาลยุค คสช. ใช้ ม.44 สั่งปิดอย่างกระทันหันมาตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2559 ทำให้มีพนักงานที่เป็นชาวบ้านและคนในท้องถิ่นนับพันคนต้องตกงานทันที ซึ่งผู้บริหารของเหมืองทองอัคราหลีกเลี่ยงที่จะให้สัมภาษณ์เรื่องนี้พูดแค่เพียงสั้นๆว่า “น่าจะรู้ผลก่อนสิ้นปี 2563 นี้”

อื่นๆ

  • nppct
  • 12 เม.ย. 2568
  • 525

รองผู้ว่าฯพิจิตร นำทีมกอ.รมน.-ปกครอง-ตำรวจรื้อทุบแหล่งเสื่อมโทรมเกี่ยวข้องยาเสพติดภายในสนามกีฬาด้านหลังสถานศึกษา

วันที่ 11 เมษายน 2568 นางสาวธนียา นัยพินิจ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร มอบให้ นายกิตติพล เวชกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร, พ.อ.สัมฤทธิ์ ฉัตรวัฒนาสกุล รอง ผอ.รมน.จังหวัดพิจิตร , นายรณรงค์ สิทธิเขตกรณ์

อ่านต่อ...
ผู้ว่าฯพิจิตร-ไพฑูรย์ อดีต รมต.แรงงาน วางศิลาฤกษ์ก่อสร้างเจดีย์บูรพาจารย์ (2 ต.ค. 2563) พิจิตรภัยแล้งกรมฝนหลวงยืนยันขึ้นบินโปรยสารเคมีทำฝนหลวงให้อย่างต่อเนื่องแต่ก็มีปัญหา (12 ก.ย. 2563) ชาวนาพิจิตรโดนภัยแล้งเล่นงานรวมตัวกว่า200คนเปิดเจรจาขอแบ่งปันน้ำกับชาวไร่อ้อยกำแพงเพชร (7 ก.ย. 2563) สส.สุรชาติ พปชร.พิจิตร เร่งช่วยชาวนาวังสำโรงบางมูลนากต้องสูบน้ำ20กม.ช่วยนาข้าว (5 ก.ย. 2563) พิจิตรกลุ่มแม่บ้านหนองพงรวมตัวทอผ้าไหมผ้าทอผ้าไทยสร้างรายได้เป็นอัตลักษณ์ชุมชน (4 ก.ย. 2563) พิจิตรกว่าจะได้เป็นช่างแอร์ในดวงใจต้องผ่านการทดสอบจากพัฒนาฝีมือแรงงาน (29 ส.ค. 2563) พิจิตรพาณิชย์ส่งเสริมพัฒนาคุณภาพส้มโอโกอินเตอร์ส่งขายจีนชาวสวนปลื้ม (28 ส.ค. 2563) ทรัพยากรน้ำภาค9เปิดประตูส่งน้ำจากแม่น้ำน่านเข้าสู่แม่น้ำพิจิตรเพื่อให้เป็นแก้มลิง (24 ส.ค. 2563) ป.ป.ช.พิจิตรลงพื้นที่เร่งงานก่อสร้างงบ197ล้านบาทเศษงานล่าช้าทำชาวบางมูลนากเดือดร้อน (21 ส.ค. 2563) เจ้าคณะจังหวัดพิจิตรนำสิ่งของและเงินบริจาคช่วยชาวบ้านที่ถูกไฟไหม้บ้าน (20 ส.ค. 2563)