โรงไฟฟ้าRDFนิคมอุตสาหกรรมพิจิตรเปิดโรงงานให้ดูให้หายข้องใจพิสูจน์เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ขอดูให้หายข้องใจพลังงานจังหวัดอุดรธานีพาชาวบ้านสื่อมวลชนผู้นำท้องถิ่นขอดูโรงงานไฟฟ้า RDF ที่นิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือตอนล่าง (จังหวัดพิจิตร) ที่ใช้วัสดุเหลือใช้หรือของต้องทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมนำมาเป็นเชื้อเพลิงเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ลดปัญหาขยะในชุมชน ดูแล้วทึ่งไม่มีกลิ่นไม่มีควันที่ทำลายสิ่งแวดล้อม ชาวบ้านยืนยันกลับถึงบ้านจะบอกต่อ

วันที่ 20 ส.ค. 2563 นายสุรพงษ์ หวังศิริเวช กรรมการผู้จัดการบริษัท เอวาแกรนด์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด ซึ่งเป็นโรงงานไฟฟ้าRDF ที่ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือตอนล่าง (จังหวัดพิจิตร) หมู่ 1 ตำบลหนองหลุม อำเภอวชิรบารมี จังหวัดพิจิตร ได้เปิดโรงงานให้ นายยงยศ วุฑฒิโกวิทย์ พลังงานจังหวัดอุดรธานี นำคณะที่เป็นกลุ่มเยาวชนนอกโรงเรียน กลุ่มผู้นำ/แกนนำชุมชน กลุ่มส่วนราชการ กลุ่มประชาชนทั่วไป กลุ่มนักสื่อสารพลังงาน และคณะทำงานฯ ร่วมกิจกรรมศึกษาดูงานการนำขยะมาเป็นเชื้อเพลิง (Refuse Derived Fuel : RDF) เพื่อผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้าจำหน่ายให้กับการไฟฟ้าตามโครงการสร้างความรู้ สร้างความเข้าใจ และพัฒนาการสื่อสารด้านพลังงานเพื่อเพื่อสร้างทัศนคติที่ดีต่อการขับเคลื่อนงานพลังงานในชุมชน จำนวน 50 คน เข้าเยี่ยมชมโรงงานไฟฟ้า RDF ดังกล่าว ทั้งนี้สืบเนื่องจากที่ผ่านมาประชาชนทั่วไปมักได้รับข้อมูลข่าวสารว่า โรงงานไฟฟ้า โรงงานไฟฟ้าจากขยะ เป็นตัวอันตรายและทำลายสิ่งแวดล้อมทำให้เกิดทัศนคติที่ไม่ดีต่อการพัฒนางานด้านอุตสาหกรรมพลังงาน ซึ่งจังหวัดอุดรธานีก็กำลังที่จะมีการก่อสร้างโรงงานไฟฟ้า RDF ขึ้น ในนิคมอุตสาหกรรมของภาคเอกชน ดังนั้นเพื่อเป็นการสร้างความรู้และความเข้าใจ พลังงานจังหวัดอุดรธานีจึงได้นำพาชาวบ้านมาพิสูจน์และชมโรงงานไฟฟ้า ของ บริษัทเอวาแกรนด์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด ซึ่งเป็นโรงงานไฟฟ้า RDF ซึ่งตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมพิจิตร โดยใช้ขยะหรือสิ่งของเหลือทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมประเภทเศษผ้า เศษพลาสติก เศษไม้ เศษหนัง เศษยาง และ กระดาษ ที่ผ่านการแปรรูปเป็นเชื้อเพลิง RDF อัดเป็นก้อนขนาดประมาณ 1 ลูกบาศก์เมตร มีน้ำหนักประมาณ 1,000 กก. ที่นำมาจากจังหวัดสระบุรีแล้วมาเข้าโรงงานที่นิคมอุตสาหกรรมพิจิตร โดยทางโรงงานได้พากลุ่มชาวบ้านจากจังหวัดอุดรธานีเยี่ยมชมและตอบข้อซักถามเพื่อให้หายข้องใจ ซึ่งหลังจากเยี่ยมชมโรงงานและรับฟังข้อมูลต่างๆ ชาวบ้านที่มาจากจังหวัดอุดรธานี ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ถูกหลอกให้กลัวโรงงานไฟฟ้ามาเสียตั้งนาน แต่พอมาได้เห็นของจริงจึงรู้แล้วว่าไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คาดคิดและจะนำสิ่งที่รู้สิ่งที่เห็นไปเล่าและบอกต่อกับคนในชุมชนต่อไป

สำหรับ บริษัท เอวาแกรนด์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด มีกำลังการผลิต 4 เมกะวัตต์ เปิดดำเนินกิจการมาตั้งแต่เดือน มกราคม 2563 ไม่เคยมีอุบัติเหตุเกิดภายในโรงงาน หรือ สร้างปัญหาให้กับชุมชนแต่อย่างใด โรงงานแห่งนี้มีพนักงาน 50 กว่าคน ใช้เทคโนโลยีการเผาใหม้แบบตะกรับเคลื่อนที่ อุณหภูมิในห้องเผาใหม้ 850-1,050 องศาเซลเซียส มีการบริหารจัดการกากของเสียที่มีคุณภาพ และการบำบัดอากาศด้วยระบบบำบัดแบบแห้ง ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนในพื้นที่ สามารถผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคตลอด 24 ชั่วโมง

อื่นๆ

  • nppct
  • 19 ก.ย. 2567
  • 212

กรมชลประทานมั่นใจ ปตร.ท่าแห มีความพร้อมบริหารจัดการน้ำเพื่อช่วยแก้ปัญหาภัยแล้ง-น้ำท่วมให้กับเกษตรกรลุ่มน้ำยม

วันที่ 18 กันยายน 2567 ความคืบหน้าการก่อสร้างประตูระบายน้ำท่าแห ของสำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 3 กองพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลาง กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ ต.กำแพงดิน อ.สามง่าม จ.พิจิตร

อ่านต่อ...
กรมชลประทานเร่งงานก่อสร้าง ปตร.โพธิ์ประทับช้างเป็นไปตามแผนงานที่วางไว้แล้ว (16 ก.ย. 2567) วินัย ส.ส.พิจิตรเขต2นำทีมแจกถุงยังชีพผู้ประสบภัย10อำเภอ3,084ชุด (15 ต.ค. 2566) กรมชลประทานโชว์ผลงานงบ515ล้านก่อสร้างปตร.ท่านางงามเชื่อมั่นปี67นาข้าวกว่า5หมื่นไร่ลุ่มน้ำยมมีน้ำอุดมสมบูรณ์ (16 มิ.ย. 2566) อธิบดีกรมการค้าภายในบุกเมืองชาละวันเปิดงานมหกรรมสินค้าราคาประหยัดลดสูงสุดถึง 70% (27 ม.ค. 2566) สสจ.พิจิตรสั่งลุยกำจัดลูกน้ำยุงลายหลังน้ำลดเหตุเกิดไข้เลือดออกตาย1ป่วย111ราย (31 ต.ค. 2565) โรงไฟฟ้านิคมอุตสาหกรรมพิจิตรหนุนงบจ้างครูช่วยโรงเรียนรอบโรงงาน (2 ก.ค. 2565) ผู้ว่าฯพิจิตร นำจิตอาสาพัฒนาแหล่งน้ำเฉลิมพระเกียรติพระราชินี (3 มิ.ย. 2565) แม่น้ำยมพิจิตรอนาคตแจ่มใสกรมชลฯทุ่มงบ580ล้านบาทสร้างประตูระบายน้ำแบบขั้นบันได (24 พ.ค. 2565) ป.ป.ท.เขต 6 ตรวจเข้มงบ649ล้านกรมทางหลวงสร้างถนนพิจิตร-สากเหล็ก (22 พ.ค. 2565) กรมชลประทานสั่งเร่งสร้างประตูระบายน้ำท่าแหแม่น้ำยมกักเก็บน้ำเพื่อเกษตรกร2จังหวัด (12 พ.ค. 2565)