โรงไฟฟ้าRDFนิคมอุตสาหกรรมพิจิตรเปิดโรงงานให้ดูให้หายข้องใจพิสูจน์เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ขอดูให้หายข้องใจพลังงานจังหวัดอุดรธานีพาชาวบ้านสื่อมวลชนผู้นำท้องถิ่นขอดูโรงงานไฟฟ้า RDF ที่นิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือตอนล่าง (จังหวัดพิจิตร) ที่ใช้วัสดุเหลือใช้หรือของต้องทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมนำมาเป็นเชื้อเพลิงเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ลดปัญหาขยะในชุมชน ดูแล้วทึ่งไม่มีกลิ่นไม่มีควันที่ทำลายสิ่งแวดล้อม ชาวบ้านยืนยันกลับถึงบ้านจะบอกต่อ

วันที่ 20 ส.ค. 2563 นายสุรพงษ์ หวังศิริเวช กรรมการผู้จัดการบริษัท เอวาแกรนด์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด ซึ่งเป็นโรงงานไฟฟ้าRDF ที่ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือตอนล่าง (จังหวัดพิจิตร) หมู่ 1 ตำบลหนองหลุม อำเภอวชิรบารมี จังหวัดพิจิตร ได้เปิดโรงงานให้ นายยงยศ วุฑฒิโกวิทย์ พลังงานจังหวัดอุดรธานี นำคณะที่เป็นกลุ่มเยาวชนนอกโรงเรียน กลุ่มผู้นำ/แกนนำชุมชน กลุ่มส่วนราชการ กลุ่มประชาชนทั่วไป กลุ่มนักสื่อสารพลังงาน และคณะทำงานฯ ร่วมกิจกรรมศึกษาดูงานการนำขยะมาเป็นเชื้อเพลิง (Refuse Derived Fuel : RDF) เพื่อผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้าจำหน่ายให้กับการไฟฟ้าตามโครงการสร้างความรู้ สร้างความเข้าใจ และพัฒนาการสื่อสารด้านพลังงานเพื่อเพื่อสร้างทัศนคติที่ดีต่อการขับเคลื่อนงานพลังงานในชุมชน จำนวน 50 คน เข้าเยี่ยมชมโรงงานไฟฟ้า RDF ดังกล่าว ทั้งนี้สืบเนื่องจากที่ผ่านมาประชาชนทั่วไปมักได้รับข้อมูลข่าวสารว่า โรงงานไฟฟ้า โรงงานไฟฟ้าจากขยะ เป็นตัวอันตรายและทำลายสิ่งแวดล้อมทำให้เกิดทัศนคติที่ไม่ดีต่อการพัฒนางานด้านอุตสาหกรรมพลังงาน ซึ่งจังหวัดอุดรธานีก็กำลังที่จะมีการก่อสร้างโรงงานไฟฟ้า RDF ขึ้น ในนิคมอุตสาหกรรมของภาคเอกชน ดังนั้นเพื่อเป็นการสร้างความรู้และความเข้าใจ พลังงานจังหวัดอุดรธานีจึงได้นำพาชาวบ้านมาพิสูจน์และชมโรงงานไฟฟ้า ของ บริษัทเอวาแกรนด์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด ซึ่งเป็นโรงงานไฟฟ้า RDF ซึ่งตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมพิจิตร โดยใช้ขยะหรือสิ่งของเหลือทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมประเภทเศษผ้า เศษพลาสติก เศษไม้ เศษหนัง เศษยาง และ กระดาษ ที่ผ่านการแปรรูปเป็นเชื้อเพลิง RDF อัดเป็นก้อนขนาดประมาณ 1 ลูกบาศก์เมตร มีน้ำหนักประมาณ 1,000 กก. ที่นำมาจากจังหวัดสระบุรีแล้วมาเข้าโรงงานที่นิคมอุตสาหกรรมพิจิตร โดยทางโรงงานได้พากลุ่มชาวบ้านจากจังหวัดอุดรธานีเยี่ยมชมและตอบข้อซักถามเพื่อให้หายข้องใจ ซึ่งหลังจากเยี่ยมชมโรงงานและรับฟังข้อมูลต่างๆ ชาวบ้านที่มาจากจังหวัดอุดรธานี ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ถูกหลอกให้กลัวโรงงานไฟฟ้ามาเสียตั้งนาน แต่พอมาได้เห็นของจริงจึงรู้แล้วว่าไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คาดคิดและจะนำสิ่งที่รู้สิ่งที่เห็นไปเล่าและบอกต่อกับคนในชุมชนต่อไป

สำหรับ บริษัท เอวาแกรนด์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด มีกำลังการผลิต 4 เมกะวัตต์ เปิดดำเนินกิจการมาตั้งแต่เดือน มกราคม 2563 ไม่เคยมีอุบัติเหตุเกิดภายในโรงงาน หรือ สร้างปัญหาให้กับชุมชนแต่อย่างใด โรงงานแห่งนี้มีพนักงาน 50 กว่าคน ใช้เทคโนโลยีการเผาใหม้แบบตะกรับเคลื่อนที่ อุณหภูมิในห้องเผาใหม้ 850-1,050 องศาเซลเซียส มีการบริหารจัดการกากของเสียที่มีคุณภาพ และการบำบัดอากาศด้วยระบบบำบัดแบบแห้ง ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนในพื้นที่ สามารถผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคตลอด 24 ชั่วโมง

อื่นๆ

  • nppct
  • 12 เม.ย. 2568
  • 523

รองผู้ว่าฯพิจิตร นำทีมกอ.รมน.-ปกครอง-ตำรวจรื้อทุบแหล่งเสื่อมโทรมเกี่ยวข้องยาเสพติดภายในสนามกีฬาด้านหลังสถานศึกษา

วันที่ 11 เมษายน 2568 นางสาวธนียา นัยพินิจ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร มอบให้ นายกิตติพล เวชกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร, พ.อ.สัมฤทธิ์ ฉัตรวัฒนาสกุล รอง ผอ.รมน.จังหวัดพิจิตร , นายรณรงค์ สิทธิเขตกรณ์

อ่านต่อ...
อบจ.พิจิตรร่วมกับ กรรมาธิการแก้จน ทำแผนแก้ภัยแล้งป้องกันน้ำท่วมแนะทำ2วิธีง่ายๆแต่ลงทุนน้อย (27 มี.ค. 2564) ผู้ว่าฯ-นายก อบจ.พิจิตร ยืนยันใส่ใจดูแลผู้พิการ 35,220 คน อย่างทั่วถึงเป็นธรรมอำนวยความสะดวกลงทะเบียนเราชนะ2,538ราย (5 มี.ค. 2564) ชาวนาพิจิตรหันปลูกพริกเหลืองอินโดเป็นอาชีพเสริมมั่นใจปลูกแล้วขายได้ราคาประกัน กก.ละ40 บาท (4 มี.ค. 2564) ป.ป.ท.เขต 6 คัดเลือกภาคประชาชนติดอาวุธทางปัญญาให้เป็นผู้ช่วยรณรงค์ปราบโกง (24 ก.พ. 2564) ผู้ว่าฯพิจิตรใช้หลักบริหาร“เราชนะกลุ่มไม่มีสมาร์ทโฟน”ลงพื้นที่และให้บริการถึงบ้านทำให้ธนาคารไม่แออัด (23 ก.พ. 2564) พิจิตรชาวบ้านแฮปปี้ร้านค้าปลื้มเงิน“เราชนะ”ถึงมือผู้บริโภคสู่ร้านค้าส่งผลเศรษฐกิจหมุนเวียนเกิดSpring Money (22 ก.พ. 2564) กอ.รมน.พิจิตรหนุนโรงเรียนปลูกผักเลี้ยงปลาเป็นอาหารกลางวันให้นักเรียนได้กินอิ่มท้อง (16 ก.พ. 2564) พิจิตรฉายหนังกลางแปลงให้ผีดูความบันเทิงเแบบขนพองสยองเกล้า (12 ก.พ. 2564) ผู้ว่าฯพิจิตรจ่อเชือดกำนัน-ผู้ใหญ่บ้านปล่อยให้มีบ่อนเล่นการพนันเหตุ7วันจับ2แห่ง (3 ก.พ. 2564) อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงานจัด20หลักสูตรด้วยระบบออนไลน์เพิ่มทักษะเสริมอาชีพสู้โควิด (30 ม.ค. 2564)