ป.ป.ช.พิจิตรลงพื้นที่เร่งงานก่อสร้างงบ197ล้านบาทเศษงานล่าช้าทำชาวบางมูลนากเดือดร้อน

ชาวบ้านตำบลหอไกร อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร ร้องเรียน ป.ป.ช.พิจิตร เหตุโครงการก่อสร้างระบบกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชนบางมูลนากโครงการรับผิดชอบของกรมโยธาธิการและผังเมือง งบ 197 ล้านบาทเศษ 3 พ.ย. 63 จะครบสัญญาผู้รับจ้างเพิ่งทำงานไปได้แค่ 16% ชาวบ้านกังวลทำงานล่าช้าส่งผลสร้างความเดือดร้อน วันที่ 21 ส.ค. 2563 นางอรดี ไกรยุทธศักดิ์ ผอ.สนง.ป.ป.ช.ประจำจังหวัดพิจิตร พร้อมด้วยเครือข่าย STRONG จิตพอเพียงต้านทุจริตจังหวัดพิจิตร และสื่อมวลชนได้ร่วมกันลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าโครงการก่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชนบางมูลนาก บริเวณริแม่น้ำน่าน ต.หอไกร อ.บางมูลนาก จ.พิจิตร ซึ่งการก่อสร้างเขื่อนกันแนวตลิ่งพังดังกล่าวเป็นโครงการที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมโยธาและผังเมืองใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 197,970,000 บาท ความยาวของเขื่อนตลอดแนวตลิ่ง 1,260 เมตร สัญญาการก่อสร้าง 1,302 วัน ซึ่งจะสิ้นสุดในวันที่ 3 พ.ย. 2563

โครงการฯ มีกรรมการตรวจรับการจ้างจำนวน 9 คน มีเจ้าหน้าที่จากกรมโยธาธิการและผังเมือง 7 คน , โยธาธิการและผังเมืองพิจิตรจำนวน 1 คน และผู้แทนจากเทศบาลตำบลหอไกรจำนวน 1 คน ซึ่งที่ผ่านมาความล่าช้าผิดปกติกรมโยธิการและผังเมืองก็ได้มีหนังสือถึง 8 ฉบับ ไปเร่งรัดผู้รับจ้างแต่ผู้รับจ้างยืนยันว่าสามารถดำเนินการก่อสร้างได้ตามสัญญา อีกทั้งเนื่องจากสัญญายังไม่หมดจึงไม่สามารถดำเนินการยกเลิกสัญญา ปัญหาที่เกิดขึ้นคือขณะนี้มีบ้านเรือนราษฎรที่อยู่ใกล้กับพื้นที่ก่อสร้างได้รับความเดือดร้อนจากแรงสั่นสะเทือนของการตอกเสาเข็ม โดย ปปช.พิจิตร ได้สอบถามผู้รับจ้างและตัวแทนของ ทต.หอไกร ได้รับคำตอบว่า ได้ลงพื้นที่สำรวจความเสียหายครบทุกหลังคาเรือนแล้ว ซึ่งผู้รับจ้างจะรับผิดชอบซ่อมแซมบ้านให้ ส่วนเหตุที่ทำงานล่าช้ามาจากหลายปัจจัย เช่น การเข้าหรือเริ่มทำงานล่าช้า , สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด19 ทำให้เกิดปัญหาการจ้างแรงงานและการขนส่งวัสดุ , ผู้รับจ้างขาดสภาพคล่อง , การทำงานอยู่ริมตลิ่งของแม่น้ำน่าน ซึ่งช่วงนี้ระดับน้ำสูงขึ้นและมีฝนตกทำให้การทำงานไม่ราบรื่น ซึ่ง ป.ป.ช.พิจิตร ก็ลงพื้นที่ทุกวันศุกร์ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 จนถึงทุกวันนี้ก็ติดตามงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผู้รับจ้างก็ยืนยันว่าเวลาที่เหลือจะเร่งทำงานให้แล้วเสร็จตามสัญญาให้จงได้

ในส่วนของ นางอรดี ไกรยุทธศักดิ์ ผอ.สนง.ป.ป.ช.ประจำจังหวัดพิจิตร เปิดเผยว่า โครงการดังกล่าวยังไม่ปรากฏเรื่องการทุจริต แต่ที่ ป.ป.ช.พิจิตร ต้องลงพื้นที่ก็เพื่อเป็นการกระตุ้นเร่งรัดงานก่อสร้าง เหตุเพราะโครงการดังกล่าวเป็นงบประมาณของแผ่นดิน ซึ่งต้องมีฝ่ายราชการเข้ามากำกับดูแลหากงานล่าช้าหรือทำให้รัฐเสียประโยชน์ หรือชาวบ้านเดือดร้อน เจ้าหน้าที่ของรัฐที่เป็นผู้กำกับดูแลโครงการดังกล่าวก็อาจต้องติดร่างแหโดน ม.157 ไปกับเค้าด้วย ซึ่ง ป.ป.ช.พิจิตร ไม่ต้องการให้เกิดเหตุการณ์เช่นนั้นจึงต้องเข้ามาสร้างความรู้ความเข้าใจและช่วยให้งานสำเร็จลุล่วงไปให้จงได้มากกว่าที่จะมาจ้องจับผิดหรือเอาโทษกับผู้ใดผู้หนึ่ง

อื่นๆ

  • nppct
  • 12 เม.ย. 2568
  • 513

รองผู้ว่าฯพิจิตร นำทีมกอ.รมน.-ปกครอง-ตำรวจรื้อทุบแหล่งเสื่อมโทรมเกี่ยวข้องยาเสพติดภายในสนามกีฬาด้านหลังสถานศึกษา

วันที่ 11 เมษายน 2568 นางสาวธนียา นัยพินิจ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร มอบให้ นายกิตติพล เวชกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร, พ.อ.สัมฤทธิ์ ฉัตรวัฒนาสกุล รอง ผอ.รมน.จังหวัดพิจิตร , นายรณรงค์ สิทธิเขตกรณ์

อ่านต่อ...
อบจ.พิจิตรร่วมกับ กรรมาธิการแก้จน ทำแผนแก้ภัยแล้งป้องกันน้ำท่วมแนะทำ2วิธีง่ายๆแต่ลงทุนน้อย (27 มี.ค. 2564) ผู้ว่าฯ-นายก อบจ.พิจิตร ยืนยันใส่ใจดูแลผู้พิการ 35,220 คน อย่างทั่วถึงเป็นธรรมอำนวยความสะดวกลงทะเบียนเราชนะ2,538ราย (5 มี.ค. 2564) ชาวนาพิจิตรหันปลูกพริกเหลืองอินโดเป็นอาชีพเสริมมั่นใจปลูกแล้วขายได้ราคาประกัน กก.ละ40 บาท (4 มี.ค. 2564) ป.ป.ท.เขต 6 คัดเลือกภาคประชาชนติดอาวุธทางปัญญาให้เป็นผู้ช่วยรณรงค์ปราบโกง (24 ก.พ. 2564) ผู้ว่าฯพิจิตรใช้หลักบริหาร“เราชนะกลุ่มไม่มีสมาร์ทโฟน”ลงพื้นที่และให้บริการถึงบ้านทำให้ธนาคารไม่แออัด (23 ก.พ. 2564) พิจิตรชาวบ้านแฮปปี้ร้านค้าปลื้มเงิน“เราชนะ”ถึงมือผู้บริโภคสู่ร้านค้าส่งผลเศรษฐกิจหมุนเวียนเกิดSpring Money (22 ก.พ. 2564) กอ.รมน.พิจิตรหนุนโรงเรียนปลูกผักเลี้ยงปลาเป็นอาหารกลางวันให้นักเรียนได้กินอิ่มท้อง (16 ก.พ. 2564) พิจิตรฉายหนังกลางแปลงให้ผีดูความบันเทิงเแบบขนพองสยองเกล้า (12 ก.พ. 2564) ผู้ว่าฯพิจิตรจ่อเชือดกำนัน-ผู้ใหญ่บ้านปล่อยให้มีบ่อนเล่นการพนันเหตุ7วันจับ2แห่ง (3 ก.พ. 2564) อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงานจัด20หลักสูตรด้วยระบบออนไลน์เพิ่มทักษะเสริมอาชีพสู้โควิด (30 ม.ค. 2564)