พิจิตรชาวบ้านแฮปปี้ร้านค้าปลื้มเงิน“เราชนะ”ถึงมือผู้บริโภคสู่ร้านค้าส่งผลเศรษฐกิจหมุนเวียนเกิดSpring Money

วันที่ 22 ก.พ. 2564 ความคืบหน้าจากการที่รัฐบาลออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจโควิด19 ด้วยการจัดนโยบาย “เราชนะ” ให้ประชาชนผู้ที่ไม่มีสมาร์ทโฟนหรือยังเข้าไม่ถึงโครงการใดๆที่รัฐเคยจัดสวัสดิการให้ ให้มาลงทะเบียนแล้วจะได้เงิน 7,000 บาท เพื่อนำไปจับจ่ายใช้สอยเลือกซื้อสินค้าในร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งเป็นทั้งห้างสรรพสินค้าหรือร้านโชห่วยทั้งที่เป็ นนิติบุคคล และ บุคคลธรรมดา ซึ่งเงินก้อนแรกของกลุ่มแรกๆ มีการโอนเงินผ่านแอพเป๋าตังค์โดยผ่าน G-Wallet แต่สำหรับกลุ่มเปราะบางที่เข้าไม่ถึงสมาร์ทโฟน ก็ได้รับเงิน7,000 จากโครงการ “เราชนะ” ด้วยเช่นกัน สรุปก็คือใช้สมาร์ทโฟนหรือบัตรประชาชนไปดำเนินการจับจ่ายใช้สอยเลือกซื้อสินค้ากับร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการได้

ล่าสุดผู้สื่อข่าวได้ลงพื้นที่ไปพบกับ นายจาตุรนต์ เหลืองสว่าง “คุณอู๋” กรรมการผู้จัดการ บริษัท สหแสงชัยมาร์เก็ตติ้ง จำกัด ซึ่งตั้งอยู่ที่ 21/39-40 ถนนคลองคะเชนทร์ อ.เมือง จ.พิจิตร ได้พาดูบรรยากาศของประชาชนที่พากันมาเข้าแถวเพื่อซื้อสินค้าในแต่ละวันประมาณ 500 คน โดยร้านค้าแห่งนี้เป็นร้านค้าปลีก-ค้าส่ง และขายลูกค้ารายย่อย ซึ่งเข้าโครงการของรัฐบาลที่ สนง.พาณิชย์จังหวัดพิจิตร มาชักชวนและแนะนำทุกโครงการ ซึ่ง นายจาตุรนต์ “คุณอู๋” กรรมการผู้จัดการ บริษัท สหแสงชัยมาร์เก็ตติ้ง เล่าให้ฟังถึงโครงการที่เข้าร่วมกับรัฐบาลในช่วงวิกฤษเศรษฐกิจว่า ร้านของตนเข้าร่วมโครงการที่ 1 คือ โครงการธงฟ้าประชารัฐ ซึ่งเป็นโครงการช่วยเหลือคนชนชั้นรากหญ้าอย่างแท้จริง ได้เงินคนละ 200-300 บาท ต่อเดือน ส่งเงินจ่ายตรงเข้าในบัตรประชาชน หรือ สมาร์ทโฟน ไม่ผ่านขบวนการขั้นตอนหรือมีค่าดำเนินการเงินถึงมือชาวบ้านเต็มๆ ได้เงินต่อคน 200-300 บาทต่อเดือน สมมุติว่าครอบครัวหนึ่งมี 3-5 คน ได้รวมกัน 1,500 บาท ก็นำมาซื้อ ข้าวสาร น้ำตาล น้ำมันพืช ผงซักฟอก น้ำยาปรับผ้านุ่ม ทำให้คุณภาพชีวิตในครอบครัวดีขึ้นเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มกำลังซื้อให้กับฐานรากที่เค้าต้องการเงินไปใช้จ่ายจริง จึงนับได้ว่าเป็นสวัสดิการพื้นฐานอย่างแท้จริง..จากนั้นเป็นโครงการที่ 2 คือ ชิม ช้อป ใช้ โครงการนี้เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ ขอพูดในมุมมองของร้านค้าก็คือ รัฐบาลต้องการให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยให้มากขึ้น จึงจ่ายเม็ดเงินให้คนละ 1,500 บาท ซึ่งทางร้านยอมรับว่าในตอนนั้นขายดีขึ้นมากๆ ลูกค้ากล่าใช้เงินเพิ่มมากขึ้นเหตุเพราะเงินในกระเป๋ามีมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มมนุษย์เงินเดือนที่มีรายรับอยู่ประมาณ 12,000-15,000 บาท แต่มีรายจ่ายเช่าบ้าน-ผ่อนบ้าน เดือนละ 5,000 บาท ผ่อนรถ 3,000 บาท รวม 8,000 บาท เหลือ 4,000 บาท กินใช้ในครอบครัวก็ต้องจำกัดจำเกลี่ย พอใรเงิน ชิม ช้อป ใช้ มาเข้ากระเป๋าคนทำงานที่อยู่ใน กทม. ก็เริ่มมีเงินไปซื้อของนอกเหนือจากปัจจัย 4 บ้างก็ไปซื้ออุปกรณ์ IT หรือสิ้งที่ตัวเองอยากได้ แต่มนุษย์เงินเดือนในต่างจังหวัดก็นำมาจับจ่ายใช้สอย ซื้อของกิน ของใช้ ที่อยากได้ เพิ่มมากขึ้นกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นอย่างดี ( โครงการคนละครึ่งร้านค้าแห่งนี้ไม่ได้เจ้าร่วมโครงการเนื่องจากเป็นนิติบุคคล )...โครงการที่ 3 คือ โครงการ “เราชนะ” นายจาตุรนต์ เหลืองสว่าง “คุณอู๋” กรรมการผู้จัดการ บริษัท สหแสงชัยมาร์เก็ตติ้ง เล่าต่อว่า...โครงการนี้เม็ดเงินก้อนโตขึ้น เพราะโครงการธงฟ้าประชารัฐได้คนละ 200-300 บาท 1 ปีก็ได้เงินแค่ 3,600 บาท แต่โครงการ “เราชนะ” ภายในระยะเวลา 2 เดือน คือตามกำหนดเงื่อนไขให้ลงทะเบียน 5 มีนาคม 2564 ผู้ได้สิทธิจะได้เงิน 7,000 บาท/คน แต่ต้องใช้เงินจับจ่ายใช้สอยภายใน 4 เดือน ซึ่งถือว่าเป็นยาแรงในการกระตุ้นเศรษฐกิจในยุคโควิด 19 เพราะที่ผ่านมาประชาชนหวาดกลัววิตกจริตจึงไม่กล้าใช้เงิน “เมื่อทุกคนไม่กล้าใช้เงิน เงินก็ไม่หมุน พอเงินไม่หมน เศรษฐกิจก็พังทลายหมด การจ้างงานก็เสียหาย ได้รับผลกระทบตามไปด้วย รัฐจึงมีโครงการออกมา ซึ่งทุกโครงการก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียที่ไม่เหมือนกัน เราเป็นชาวบ้านก็ต้องเข้าถึงเข้าใจของนโยบายเหล่านี้ด้วย ”

สำหรับบรรยากาศการจับจ่ายใช้สอยสังเกตได้ว่าสินค้าที่มียอดขายอันดับ 1. คือ ข้าวสาร 2. น้ำมันพืช 3. น้ำตาล 4. เครื่องครัว เช่นน้ำปลา ซอสปรุงรสต่างๆ 5. นมและบะหมี่สำเร็จรูป 6.ของใช้ สบู่ ยาสีฟัน ผงซักฟอก 7. เครื่องประทินความงาม 8. อุปกรณ์ใช้ในครัวเรือน กระทะ ถ้วย ชาม กะละมัง หม้อ ( ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่เคยขายได้เลย ) 9. เครื่องใช้ไฟฟ้า พัดลม เตารีด เครื่องซักผ้า รวมไปถึงเครื่องปรับอากาศ

อื่นๆ

  • nppct
  • 12 เม.ย. 2568
  • 511

รองผู้ว่าฯพิจิตร นำทีมกอ.รมน.-ปกครอง-ตำรวจรื้อทุบแหล่งเสื่อมโทรมเกี่ยวข้องยาเสพติดภายในสนามกีฬาด้านหลังสถานศึกษา

วันที่ 11 เมษายน 2568 นางสาวธนียา นัยพินิจ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร มอบให้ นายกิตติพล เวชกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร, พ.อ.สัมฤทธิ์ ฉัตรวัฒนาสกุล รอง ผอ.รมน.จังหวัดพิจิตร , นายรณรงค์ สิทธิเขตกรณ์

อ่านต่อ...
ผู้ว่าฯพิจิตรจัดตลาดนัดโรงสีพบชาวนาเปิดรับซื้อข้าวความชื้น15%ตันละ7,600บาท (9 เม.ย. 2568) เหมืองทองอัคราสนับสนุนทีมฟุตบอลพิจิตรยูไนเต็ดส่งเสริมเยาวชนเล่นกีฬาฟุตบอลเพื่อสุขภาพและต้านยาเสพติด (24 มี.ค. 2568) ชลประทานพิจิตรเข้าตรวจนับอุปกรณ์ประตูระบายน้ำท่าแหแม่น้ำยมเตรียมพร้อมรับโอนเพื่อบริหารจัดการ (24 มี.ค. 2568) ชาวนาเมืองชาละวันขายข้าวนานข้ามปีไม่ได้เงินส่อถูกโกงสภาเกษตรพาร้องทุกข์วอนอัยการสคช.พิจิตร ดำเนินคดี (18 มี.ค. 2568) AIS ร่วมจำหน่าย“วันอาทิตย์”บริการโซลาร์บ้านครบวงจร โดย กัลฟ์1 ที่ AIS Shop ทั่วประเทศ เติมเต็มไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม (17 มี.ค. 2568) AIS ชวนลูกค้ายืนยันตัวตนที่ AIS Shop และจุดบริการทั่วประเทศ เสริมความปลอดภัย อุ่นใจยิ่งกว่า พร้อมลุ้นทองคำกว่า 1.6 ล้านบาท (12 มี.ค. 2568) มีข่าวดีมาบอก! กรมชลประทานเดินหน้าเร่งทำแผนพัฒนาลุ่มน้ำยมตอนบนและตอนล่างครอบคลุมพื้นที่4จังหวัด (1 มี.ค. 2568) กรมชลประทานมั่นใจ ปตร.ท่าแห มีความพร้อมบริหารจัดการน้ำเพื่อช่วยแก้ปัญหาภัยแล้ง-น้ำท่วมให้กับเกษตรกรลุ่มน้ำยม (19 ก.ย. 2567) กรมชลประทานเร่งงานก่อสร้าง ปตร.โพธิ์ประทับช้างเป็นไปตามแผนงานที่วางไว้แล้ว (16 ก.ย. 2567) วินัย ส.ส.พิจิตรเขต2นำทีมแจกถุงยังชีพผู้ประสบภัย10อำเภอ3,084ชุด (15 ต.ค. 2566)