ผู้ว่าฯพิจิตรใช้หลักบริหาร“เราชนะกลุ่มไม่มีสมาร์ทโฟน”ลงพื้นที่และให้บริการถึงบ้านทำให้ธนาคารไม่แออัด

วันที่ 23 ก.พ. 2564 นายรังสรรค์ ตันเจริญ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร , นายกฤษณะ หิรัณยเกศ ผู้จัดการสำนักงานเขตพิจิตร ธนาคารกรุงไทย หลังจากได้พบปัญหาของการลงทะเบียนโครงการ “เราชนะ” ของกลุ่มผู้ไม่มีสมารท์โฟนที่ส่วนใหญ่ล้วนเป็นคนแก่ คนพิการ และผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง รวมถึงผู้ที่ใช้โทรศัพท์รุ่นเก่า จึงทำให้ไม่สามารถเข้าระบบด้วยตนเองได้ จึงแห่กันมาที่ธนาคารกรุงไทย และที่ว่าการอำเภอต่างๆใน 12 อำเภอของจังหวัดพิจิตร โดยให้ธนาคารกรุงไทยบูรณาการร่วมกับฝ่ายปกครองในการรับลงทะเบียน ซึ่งก็ทำให้ชาวบ้านแห่กันมาเนืองแน่นในแต่ละวันมีเกือบ 1 พันคน ในแต่ละอำเภอ แต่ให้บริการได้เพียงแค่ 200-300 คน/ วัน- แห่ง เท่านั้น

ล่าสุดตั้งแต่เมื่อวันวานคือวันที่ 22 และ วันนี้ 23 ก.พ. 2564 นายรังสรรค์ ตันเจริญ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร , นายกฤษณะ หิรัณยเกศ ผู้จัดการสำนักงานเขตพิจิตร ธนาคารกรุงไทย จึงได้บูรณาการ การทำงานไปยัง ธกส. –ออมสิน –สนง.คลังจังหวัด-สรรพสามิตจังหวัด ให้ร่วมกันเปิดรับลงทะเบียน แต่ก็ปรากฏว่าชาวบ้านส่วนใหญ่ยังคงเชื่อมั่นและศรัทธาว่าไปที่ธนาคารกรุงไทยน่าจะมีระบบไปที่เดียวจบครบถ้วน จึงทำให้บรรยากาศวันนนี้ที่ธนาคารกรุงไทยสาขาพิจิตรมีผู้มาใช้บริการประมาณ 100 คน ส่วนที่ ธกส.สาขาพิจิตร ในช่วงเช้าที่ผู้สื่อข่าวไปสังเกตการณ์ พบว่ามีผู้มาใช้บริการประมาณ 40 คนเท่านั้น ส่วนที่ธนาคารออมสิน เฉพาะในช่วงเช้าเท่าที่ผู้สื่อข่าวไปสังเกตการณ์มีผู้มาใช้บริการไม่ถึง 10 คนด้วยซ้ำ ส่วนที่ สนง.คลังจังหวัด-สรรพสามิตจังหวัด ซึ่งตั้งอยู่ที่ศาลากลางพิจิตร ก็มีผู้มาใช้บริการบางตาไม่คึกคักเหมือนดั่งวันแรกๆ แต่ที่จะมีคึกคักวันนี้ก็คือ ธนาคารกรุงไทยไปเปิดจุดให้บริการ ณ ที่ว่าการอำเภอโพธิ์ประทับช้าง ก็ปรากฏว่ามีชาวบ้านที่เป็นชาวไร่ ชาวนาคนแก่ ผู้สูงอายุ และผู้ที่ไม่มีโทรศัพท์แบบสมาร์ทโฟนแห่กันมาขอใช้บริการกว่า 500 คน ทำให้บรรยากาศเนืองแน่นไปด้วยผู้ใช้บริการดังกล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมจากการเก็บสถิติการรับลงทะเบียนกลุ่มลูกค้าที่ไม่มีสมาร์ทโฟนที่มาใช้บริการที่ธนาคารกรุงไทยสำนักงานเขตพิจิตร ตั้งแต่วันที่ 15 จนถึงวันที่ 22 ก.พ. 2564 จุดบริการ One Stop Service อ.โพทะเล ยอดผู้ใช้บริการ 764 ราย , อ.บึงนาราง ยอดผู้ใช้บริการ 373 ราย , อ.ตะพานหิน ยอดผู้ใช้บริการ 154 ราย , อ.ทับคล้อ ยอดผู้ใช้บริการ 102 ราย , อ.บางมูลนาก ยอดผู้ใช้บริการ 706 ราย , อ.วชิรบารมี ยอดผู้ใช้บริการ 300 ราย อ.เมืองพิจิตร ยอดผู้ใช้บริการ 1,016 ราย , อ.สามง่าม ยอดผู้ใช้บริการ 390 ราย , จุดใต้อาคาร ธ.กรุงไทย ยอดผู้ใช้บริการ 188 ราย , อ.โพธิ์ประทับช้าง ยอดผู้ใช้บริการ 801 ราย...ส่วนรายงานการลงทะเบียน “เราชนะ”และแบบยืนยันตัวตนเฉพาะเขตพิจิตรให้บริการรวมสำเร็จแล้ว ประมาณ 4 พันคนเศษ ดังกล่าวอีกด้วย

อื่นๆ

  • nppct
  • 19 ก.ย. 2567
  • 309

กรมชลประทานมั่นใจ ปตร.ท่าแห มีความพร้อมบริหารจัดการน้ำเพื่อช่วยแก้ปัญหาภัยแล้ง-น้ำท่วมให้กับเกษตรกรลุ่มน้ำยม

วันที่ 18 กันยายน 2567 ความคืบหน้าการก่อสร้างประตูระบายน้ำท่าแห ของสำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 3 กองพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลาง กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ ต.กำแพงดิน อ.สามง่าม จ.พิจิตร

อ่านต่อ...
กรมชลประทานเร่งงานก่อสร้าง ปตร.โพธิ์ประทับช้างเป็นไปตามแผนงานที่วางไว้แล้ว (16 ก.ย. 2567) วินัย ส.ส.พิจิตรเขต2นำทีมแจกถุงยังชีพผู้ประสบภัย10อำเภอ3,084ชุด (15 ต.ค. 2566) กรมชลประทานโชว์ผลงานงบ515ล้านก่อสร้างปตร.ท่านางงามเชื่อมั่นปี67นาข้าวกว่า5หมื่นไร่ลุ่มน้ำยมมีน้ำอุดมสมบูรณ์ (16 มิ.ย. 2566) อธิบดีกรมการค้าภายในบุกเมืองชาละวันเปิดงานมหกรรมสินค้าราคาประหยัดลดสูงสุดถึง 70% (27 ม.ค. 2566) สสจ.พิจิตรสั่งลุยกำจัดลูกน้ำยุงลายหลังน้ำลดเหตุเกิดไข้เลือดออกตาย1ป่วย111ราย (31 ต.ค. 2565) โรงไฟฟ้านิคมอุตสาหกรรมพิจิตรหนุนงบจ้างครูช่วยโรงเรียนรอบโรงงาน (2 ก.ค. 2565) ผู้ว่าฯพิจิตร นำจิตอาสาพัฒนาแหล่งน้ำเฉลิมพระเกียรติพระราชินี (3 มิ.ย. 2565) แม่น้ำยมพิจิตรอนาคตแจ่มใสกรมชลฯทุ่มงบ580ล้านบาทสร้างประตูระบายน้ำแบบขั้นบันได (24 พ.ค. 2565) ป.ป.ท.เขต 6 ตรวจเข้มงบ649ล้านกรมทางหลวงสร้างถนนพิจิตร-สากเหล็ก (22 พ.ค. 2565) กรมชลประทานสั่งเร่งสร้างประตูระบายน้ำท่าแหแม่น้ำยมกักเก็บน้ำเพื่อเกษตรกร2จังหวัด (12 พ.ค. 2565)