อบจ.พิจิตรร่วมกับ กรรมาธิการแก้จน ทำแผนแก้ภัยแล้งป้องกันน้ำท่วมแนะทำ2วิธีง่ายๆแต่ลงทุนน้อย

วันเสาร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2564 พ.ต.อ.กฤษฎา ภัทรประสิทธิ์ นายก อบจ.พิจิตร , นายพิศ วิริยะอารีธรรม ประธานสภา อบจ.พิจิตร , นายวินัย ภัทรประสิทธิ์ อดีต ส.ส.พิจิตร ประธานที่ปรึกษาพร้อมด้วยคณะได้ร่วมกันต้อนรับ นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ ประธานกรรมาธิการ การแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำวุฒิสภา และคณะที่เดินทางลงพื้นที่ดูสภาพแม่น้ำยมในเขตพื้นที่จังหวัดพิจิตร ซึ่งขณะนี้อยู่ในสภาพแห้งขอดจนสามารถลงไปเดินในแม่น้ำได้ ซึ่งสถภาพเช่นนี้เกิดขึ้นติดต่อกันมาในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมานี้เอง สาเหตุเพราะป่าต้นน้ำถูกทำลาย

จากนั้น นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ ประธานกรรมาธิการ การแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำวุฒิสภา ได้ร่วมกับคณะเพื่อบรรยายถึงแนวทางแก้ไขปัญหาน้ำท่วม- แก้ไขปัญหาภัยแล้ง เพื่อหาแนวทางในการกักเก็บน้ำให้เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดพิจิตรให้สามารถมีน้ำใช้เพื่อการเกษตรได้ตลอดปี จากนั้นได้ให้สัมภาษณ์ว่า จังหวัดพิจิตรมีสภาพภูมิศาสตร์ที่ดีเยี่ยมแห่งหนึ่งของประเทศไทย มีแม่น้ำ 3 สาย คือ แม่น้ำยม-แม่น้ำน่าน-แม่น้ำพิจิตร มีแห่งน้ำขนาดเล็กกระจายอยู่ทั่วทั้งจังหวัด แต่สถานการณ์น้ำฝนที่ตกลงมาจากฝากฟ้าพิจิตรมีความสามารถในการกักเก็บไม่เพียงพอ อีกทั้งคาดการณ์แนวโน้มว่าในฤดูฝนปีนี้จะมีฝนตกใหญ่แค่ในช่วงเดือนพฤษภาคม 2564 แค่เดือนเดียว จากนั้นฝนจะทิ้งช่วงประมาณ 2 เดือน ดังนั้นสิ่งที่จะต้องวางแผนและทำร่วมกันกับ อบจ.พิจิตร คือการหาแนวทางกักเก็บน้ำให้ได้มากขึ้นภายในเวลา 1เดือนข้างหน้า เราจะทำอะไรกันได้บ้าง?

นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ ประธานกรรมาธิการฯ กล่าวเพิ่มเติมว่าอยากให้อบจ.พิจิตรแก้ปัญหาปากท้องชาวบ้านเป็นเรื่องแรกสุด ซึ่งจากการประชุมและรับฟังความคิดเห็นจาก พ.ต.อ.กฤษฎา ภัทรประสิทธิ์ นายก อบจ.พิจิตร , นายวินัย ภัทรประสิทธิ์ อดีต ส.ส.พิจิตร ประธานที่ปรึกษา และคณะ สจ. เห็นตรงกันว่าการแก้ปัญหาความทุกข์ยาก ความเดือดร้อนของเกษตรกร 80 % ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของพิจิตรจะต้องแก้ด้วยการแก้ปัญหาแหล่งน้ำขนาดเล็ก ซึ่งใช้งบประมาณน้อย – ทำเสร็จได้ไว ภายใน 1-15 วัน ในแต่ละโครงการและมีประสิทธิภาพสูง – มีประสิทธิผลสูง คือสามารถกักเก็บน้ำได้ตลอด 365 วัน นั่นคือ 1. การขุดร่องพรวนดินเป็นการเก็บน้ำใต้ดิน 2. การทำฝายแกนซอยซีเมนต์ ซึ่งทั้ง 2 แบบนี้ สามารถทำได้ง่ายใช้งบประมาณแค่หลักหมื่นบาทหรือแค่หลักแสนบาทเท่านั้นเองซึ่งในหลายพื้นที่มีโมเดลต้นแบบที่ลงมือทำแล้วได้ผล กมธ.และคณะ อยากเสนอแนะให้ อบจ.พิจิตร ได้ลงมือทำตามแนววิธีคิดและปฏิบัติทั้ง 2 รูปแบบ ดังกล่าว ในส่วนของ พ.ต.อ.กฤษฎา ภัทรประสิทธิ์ นายก อบจ.พิจิตร บอกกับผู้สื่อข่าวเพียงสั้นๆว่า เห็นด้วยกับวิธีการทั้ง 2 แบบ ที่คณะ กมธ. นำเสนอ ซึ่งจะหาพื้นที่ดำเนินการที่เหมาะสมกับวิธีทั้ง 2 แบบนี้อีกด้วย

อื่นๆ

  • nppct
  • 15 ต.ค. 2566
  • 109

วินัย ส.ส.พิจิตรเขต2นำทีมแจกถุงยังชีพผู้ประสบภัย10อำเภอ3,084ชุด

วันเสาร์ที่ 14 ตุลาคม 2566 นายวินัย ภัทรประสิทธิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพิจิตร เขต 2 นายสิงหราช วงษ์เสงี่ยม รองผู้ว่าฯ พิจิตร รักษาราชการแทน ผู้ว่าฯ พิจิตร และ ปภ.พิจิตร , ส่วนราชการ ได้ร่วมกันนำถุงยังช

อ่านต่อ...
นักรบชุดขาวจากเมืองพิจิตร8คนสมัครใจสู้ภัยโควิดสมุทรสาครรู้ว่าเสี่ยงแต่ก็ขออาสา (29 ม.ค. 2564) ผู้ว่าฯพิจิตรยืนยันหนุนศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวเพื่อชาวนามีข้าวปลูกพันธุ์ดีลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ (29 ม.ค. 2564) พาณิชย์พิจิตรช่วยขายกุ้งคัดเอามาแต่ตัวใหญ่ๆจากสุพรรณบุรีที่ได้รับผลกระทบโควิด (28 ม.ค. 2564) แม่ทัพภาคที่3สั่งกอ.รมน.พิจิตรลงพื้นที่ฟังทางแก้ปัญหาแม่น้ำยมแห้งขอดทางออกชาวนาเจาะบ่อน้ำบาดาล (25 ม.ค. 2564) พิจิตรผู้ป่วยติดเชื้อโควิดเสียชีวิตแล้ว 1 ราย เป็นชายอายุ 81ปีชาวตำบลบางลาย (23 ม.ค. 2564) กอ.รมน.พิจิตรหนุนช่วยโรงเรียนไกลปืนเที่ยงมีแต่ครูผู้หญิงแต่ใจสู้ปลูกผักเลี้ยงไก่เลี้ยงปลาเป็นอาหารกลางวันให้เด็กกินอิ่มกินท้อง (21 ม.ค. 2564) ชลประทานเร่งมือสร้างประตูระบายน้ำงบ231ล้านในแม่น้ำยมเป้าหมายปี65ต้องเสร็จ (18 ม.ค. 2564) เจ้าคณะจังหวัดพิจิตรห่วงชาวพุทธเข้าวัดน้อยลงศิลปินนักร้องตกงานเหตุโควิด19ระบาด (18 ม.ค. 2564) กอ.รมน.พิจิตรขอกำลังทหารบูรณาการตั้งด่านสกัดโควิด19ทุกเส้นทางเข้าออกเมืองชาละวัน (9 ม.ค. 2564) พิจิตรโควิด19กักตัว15 จนท.อบต.บางลายหวั่นติดเชื้อส่วนครูและนักเรียน117คนผลเป็นลบ (6 ม.ค. 2564)