จบป.ตรีเจอพิษโควิดบอกลาเมืองกรุงกลับพิจิตรยึดอาชีพทำซุ้มไม้ไผ่พ่อทำลูกขายออนไลน์รายได้ปัง

นายวิทยา ยิ้มบิตุรงค์ ที่ปรึกษานายก อบจ.พิจิตร , นายดุสิต ยิ้มบิตุรงค์ รองประธานสภา อบจ.พจิตร และ นายชนม์วิศิษฎ์ ใจโลกา “ป.ธี” ปลัดอำเภอตะพานหินฝ่ายความมั่นคง ร่วมกันลงพื้นที่เพื่อเยี่ยมเยียนราษฎร โดยได้พบกับ น.ส.สุภาภรณ์ นาคอินทร์ “เอ๋” อายุ 25 ปีและ นายณัฐวุฒิ โคตรธนู “อาร์ต” อายุ 24 ปี ทั้งคู่เป็นสามี-ภรรยากัน และจบปริญญาตรีสาขาเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นเจ้าของกิจการ “ช่างอาร์ตเฟอร์นิเจอร์ไม้ไผ่” ตั้งอยู่ที่ 59/1 หมู่ 5 บ้านคลองแขก ต.คลองคูณ อ.ตะพานหิน จ.พิจิตร ทั้งคู่เล่าว่าหลังจากเรียนจบ ป.ตรี ในช่วงปี 2562-2563 ก็เดินทางไปหางานทำในกรุงเทพฯ ซึ่งได้งานบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งในแผนกมาร์เก็ตติ้งออนไลน์ ได้เงินเดือนๆละ 15,000 บาท แถมในช่วงวันเสาร์-อาทิตย์ ก็มี OT ให้ทำมีรายได้ 600-800 บาท/วัน แต่แล้วก็เกิดสถานการณ์โควิดทำให้บริษัทที่เคยจ้างงานขาดสภาพคล่องต้องงดการทำOT ทำให้รายได้ไม่พอใช้จ่าย ประกอบกับบริษัทมีนโยบายลดพนักงานลงจึงตัดสินใจลาออกและเดินทางกลับมาอยู่บ้านที่ จ.พิจิตร เมื่อช่วงเดือน พ.ย. 63 มองหางานทำแต่แล้วก็เห็นพ่อมีความรู้ด้านช่างไม้และการทำเฟอร์นิเจอร์ไม้ไผ่ประกอบกับตนเองมีความรู้ด้านการตลาดออนไลน์จึงได้เริ่มโพสขายเฟอร์นิเจอร์ไม้ไผ่แบบต่างๆ ที่พ่อทำขึ้น

ปรากฏว่าได้รับความสนใจมีคำสั่งซื้อเข้ามา ตนเองและสามีรวมถึง พ่อ-แม่-น้องชาย ที่เรียนอยู่ ม.4 จึงเริ่มทำเป็นอุตสาหกรรมภายในครอบครัวทำกะท่อมไม้ไผ่ขนาด 2x2 เมตร หลังคามุงหญ้าคาฝากระท่อมเป็นไม้ขัดแตะขายราคาหลังละ 10,000 บาท , ทำซุ้มไม้ไผ่ขนาด 1.5x2 เมตร ขายราคา 3,000 บาท ถ้าเป็นขนาด 2x2 เมตร ขายราคา 3,500 บาท แคร่ไม้ไผ่ขนาด เล็ก กลาง ใหญ่ ขายราคา 400-800 บาท รวมถึงชุดโซฟารับแขก , โต๊ะทานข้าว , เคาน์เตอร์ไม้ไผ่ ,ชุดเก้าอี้ไม้ไผ่สำหรับนั่งเล่น ปรากฏว่ากลุ่มผู้สนใจที่เป็นร้านอาหาร ร้านกาแฟ หรือผู้ที่ชื่นชอบความเป็นอยู่แบบธรรมชาติต่างสั่งซื้อกันเป็นจำนวนมาก ทุกวันนี้มีออเดอร์สั่งซื้อคิวยาวไปจนถึงเดือนสิงหาคม 64 แล้ว บอกเลยว่าทำไม่ทันเพราะทำกันเองภายในครอบครัวจริงๆ

น.ส.สุภาภรณ์ “เอ๋” เล่าว่า วัสดุที่เป็นไม้ไผ่และหญ้าคาที่ทำเป็นหลังคาของซุ้มไม้ไผ่และกระท่อมก็หาซื้อภายในท้องถิ่นและจากเพื่อนบ้าน แรงงานก็ทำกันเองในครอบครัวทำให้ทุกวันนี้มีรายได้งดงามดีกว่าตอนอยู่ในกรุงเทพฯ เสียด้วยซ้ำ ในความรู้สึกส่วนตัวคิดว่าเดินมาถูกทางแล้วที่ตัดสินใจบอกลาเมืองกรุงกลับมาทำเฟอร์นิเจอร์ไม้ไผ่กับพ่อแม่และคนในครอบครัว มีชีวิตความเป็นอยู่อบอุ่นแบบคนชนบท ซึ่งตนเองมองว่าอนาคตหากทางราชการสนับสนุนหรือมีแหล่งเงินทุนให้กู้ยืมลงทุนซื้อวัสดุอุปกรณ์ก็อาจจะขยายกิจการเป็นวิสาหกิจชุมชนเพื่อให้เพื่อนบ้านหรือญาติพี่น้องช่วยกันแบ่งงานไปทำจะได้มีรายได้เพิ่มขึ้นในยุควิกฤตเศรษฐกิจโควิดดังกล่าวอีกด้วย...สำหรับท่านใดที่สนใจเฟอร์นิเจอร์ไม้ไผ่อยากได้หรืออยากแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สามารถติดต่อได้ที่ เฟซบุ๊ก ช่างอาร์ตเฟอร์นิเจอร์ไม้ไผ่ หรือ คุณเอ๋ โทร098-7985910

อื่นๆ

  • nppct
  • 19 ก.ย. 2567
  • 307

กรมชลประทานมั่นใจ ปตร.ท่าแห มีความพร้อมบริหารจัดการน้ำเพื่อช่วยแก้ปัญหาภัยแล้ง-น้ำท่วมให้กับเกษตรกรลุ่มน้ำยม

วันที่ 18 กันยายน 2567 ความคืบหน้าการก่อสร้างประตูระบายน้ำท่าแห ของสำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 3 กองพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลาง กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ ต.กำแพงดิน อ.สามง่าม จ.พิจิตร

อ่านต่อ...
กรมชลประทานเร่งงานก่อสร้าง ปตร.โพธิ์ประทับช้างเป็นไปตามแผนงานที่วางไว้แล้ว (16 ก.ย. 2567) วินัย ส.ส.พิจิตรเขต2นำทีมแจกถุงยังชีพผู้ประสบภัย10อำเภอ3,084ชุด (15 ต.ค. 2566) กรมชลประทานโชว์ผลงานงบ515ล้านก่อสร้างปตร.ท่านางงามเชื่อมั่นปี67นาข้าวกว่า5หมื่นไร่ลุ่มน้ำยมมีน้ำอุดมสมบูรณ์ (16 มิ.ย. 2566) อธิบดีกรมการค้าภายในบุกเมืองชาละวันเปิดงานมหกรรมสินค้าราคาประหยัดลดสูงสุดถึง 70% (27 ม.ค. 2566) สสจ.พิจิตรสั่งลุยกำจัดลูกน้ำยุงลายหลังน้ำลดเหตุเกิดไข้เลือดออกตาย1ป่วย111ราย (31 ต.ค. 2565) โรงไฟฟ้านิคมอุตสาหกรรมพิจิตรหนุนงบจ้างครูช่วยโรงเรียนรอบโรงงาน (2 ก.ค. 2565) ผู้ว่าฯพิจิตร นำจิตอาสาพัฒนาแหล่งน้ำเฉลิมพระเกียรติพระราชินี (3 มิ.ย. 2565) แม่น้ำยมพิจิตรอนาคตแจ่มใสกรมชลฯทุ่มงบ580ล้านบาทสร้างประตูระบายน้ำแบบขั้นบันได (24 พ.ค. 2565) ป.ป.ท.เขต 6 ตรวจเข้มงบ649ล้านกรมทางหลวงสร้างถนนพิจิตร-สากเหล็ก (22 พ.ค. 2565) กรมชลประทานสั่งเร่งสร้างประตูระบายน้ำท่าแหแม่น้ำยมกักเก็บน้ำเพื่อเกษตรกร2จังหวัด (12 พ.ค. 2565)