เหมืองทองอัคราแจงผู้นำชุมชนรัศมี 5 กม.ขอเวลา 5 เดือนปรับปรุงเครื่องจักรชี้มีเงินกองทุนเพื่อชุมชนเพียบ

วันที่ 28 มกราคม 2565 ความคืบหน้าเหมืองทองอัครา ซึ่งตั้งอยู่ที่ ต.เขาเจ็ดลูก อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร ที่ขณะนี้อยู่ในความสนใจของคนไทยทั้งประเทศที่จับจ้องมองว่า เหมืองทองอัคราจะได้กลับมาดำเนินกิจการอีกครั้งภายในปี 2565 นี้ ล่าสุดเมื่อวันวานที่ผ่านมา นายเชิดศักดิ์ อรรถอารุณ ผู้จัดการทั่วไป ฝ่ายกิจการภายนอก บริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด ได้เชิญผู้สื่อข่าวเข้าร่วมการรับฟังคำชี้แจงที่จัดขึ้นโดยการเชิญผู้นำท้องถิ่นซึ่งประกอบด้วย นายกฤษณะ ก้อนแก้ว นายก อบต.เขาเจ็ดลูก , นางสาวฉัตรนภา เมืองแป้น นายก อบต.ท้ายดง , นายสุพจน์ กระออมแก้ว สจ.เขต อ.ทับคล้อ พิจิตร , นายนิพล ผลน้อย กำนันตำบลเขาเจ็ดลูก , นายสมคิด รินนาศักดิ์ สจ.อ.วังโป่ง เขต1 เพชรบูรณ์ , นายธวัชชัย พรมดี กำนันตำบลท้ายดง , นายสำราญ แก้วดอก กำนันตำบลวังโพรง ที่อยู่ในเขตพิจิตร-พิษณุโลก-เพชรบูรณ์ ซึ่งมีพื้นที่ปกครองอยู่ในรัศมี 5 กม. รอบเมืองทองอัครา รวมกว่า 40 คน เพื่อรับฟังการอธิบายและตอบข้อซักถามของการกลับมาเปิดดำเนินการของเหมืองทองอัครา โดยตัวแทนของอัคราได้ชี้แจงกับผู้นำชุมชนว่า จากข่าวที่บริษัทได้รับอนุญาตการต่ออายุประทานบัตรเพื่อการทำเหมืองแร่ทองคำและเงิน จำนวน 4 แปลง ออกไปอีก 10 ปี โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2564 ถึงวันที่ 29 ธันวาคม 2574 และการได้รับอนุญาตการต่ออายุใบอนุญาตประกอบโลหกรรม ออกไปอีก 5 ปี โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม 2565 ถึงวันที่ 18 มกราคม 2570 นั้น บริษัทขอชี้แจง ให้กับผู้นำชุมชนซึ่งเป็นผู้ที่อยู่ในพื้นที่ตัวจริงให้ช่วยนำข้อมูลไปสื่อสารกับชาวบ้านด้วยว่า อัคราจะกลับมาดำเนินกิจการอีกครั้งโดยช่วงแรกนับจากวันที่ 1 ก.พ. 65 ใช้เวลาต่อจากนี้อีกประมาณ 5 เดือนจะเป็นการดำเนินการส่งทีมช่างที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักร เครื่องยนต์ พาหนะและยานยนต์ อาคารสถานที่เข้าดำเนินการซ่อมแซมปรับปรุงให้ทุกอย่างมีสภาพที่พร้อมใช้งาน จากนั้นก็จะรายงานไปยังกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ให้มาตรวจความพร้อมเพื่อเข้าสู่การดำเนินกิจการ จากนั้นก็จะประกาศรับสมัครคนงานซึ่งมีข้อตกลงเอาไว้ว่า 90% จะต้องเป็นคนในพื้นที่อยู่รอบๆ เหมืองทองอัครา ส่วนอีก 10% ก็จะเป็นผู้ที่มีความสามารถเฉพาะทางเท่านั้น วึ่งสร้างความพึงพอใจให้กับผู้นำชุมชนกว่า 40 คน ที่มาร่วมรับฟังคำชี้แจงในครั้งนี้... นอกจากนี้ตัวแทนของเหมืองทองอัครายังได้ชี้แจงถึงเรื่องการดูแลสิ่งแวดล้อมและสุขภาพรวมถึงโครงการฟื้นฟูคุณภาพชีวิต-ความเป็นอยู่-อาชีพการทำมาหากิน-การศึกษา และอื่นๆ ว่า เหมืองทองอัครา ขณะนี้มีกองทุนตามเงื่อนไขแนบท้ายรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม EIA ดังต่อไปนี้คือ

กองทุนต่างๆ ของบริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) 1 . กองทุนตามเงื่อนไขแนบท้ายรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม EIA ของเดิม กองทุนฟื้นฟูพื้นที่โครงการ วัตถุประสงค์ ฟื้นฟูพื้นที่โครงการ ลักษณะโครงการ จัดเก็บ 44 บาทต่อออนซ์ทองคำที่ผลิตได้ตามเงื่อนไข EIA ชาตรีใต้ จากนั้น จากนั้นเก็บเพิ่มเป็น 145 บาทต่อออนซ์ทองคำตามเงื่อนไข EIA ชาตรีเหนือ โดยแบ่งการเก็บเป็นกองทุนสำหรับช่วงดำเนินการ 95 บาทต่อออนซ์ และ กองทุนหลังเหมืองปิด 50 บาทต่อออนซ์ เงื่อนไข EIA กองทุนนี้บริษัทบริหารจัดการเองไม่มีคณะกรรมการ ปีที่เริ่มจ่าย 2546-2559 จำนวนเงินที่อุดหนุนไปแล้ว 149,469,430 (operation) 90,393,700 (mine close) @ Nov 2016 หมายเหตุ ของเก่ายกเลิกโดย กพร.จะต้องแจ้ง สผ. เนื่องจากกองทุนนี้เป็นมาตรการใน EIA ชาตรีเหนือ ของใหม่ กองทุนฟื้นฟูพื้นที่เหมืองแร่ตามกรอบนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการทรัพยากรแร่ทองคำ วัตถุประสงค์ ฟื้นฟูพื้นที่โครงการ และพัฒนาชีวิตของประชาชน(กรณีมีเงินเหลือจากฟื้นฟูตามแผนครบถ้วน) ลักษณะโครงการ เก็บเงินร้อยละ 10 ของค่าภาคหลวงแร่ที่บริษัทชำระในแต่ละปี แต่ต้องไม่น้อยกว่า 30 ล้านบาทต่อปี ตลอดระยะเวลาการประกอบการ เงื่อนไข มีคณะกรรมการบริหารกองทุน ผวจ.เป็นประธาน ปีที่เริ่มจ่าย หลังได้ประทานบัตรและจ่ายภายใน31ม.ค. ของปีถัดไป หมายเหตุ จัดตั้งใหม่และขอรายละเอียดการใช้เงินกองทุน ยอดจ่ายหลังได้ประทานบัตร 30,000,000 ของเดิม กองทุนประกันความเสี่ยงต่อสิ่งแวดล้อมและพัฒนาคุณภาพ วัตถุประสงค์ เพื่อแก้ไขปัญหาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ และพัฒนาชุมชน ลักษณะโครงการ เก็บเงินเข้าบัญชีปีละ 10 ล้าน เป็นเวลา 10 ปี (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น15 ปี เป็นเงิน 150 ล้าน ตามเงื่อนไขแนบท้ายโลหกรรม) 2551-2565 เงื่อนไข EIA+Met ปีที่เริ่มจ่าย 2551-2559 จำนวนเงินที่อุดหนุนไปแล้ว 90,000,000 หมายเหตุ จ่ายของเดิมปีละ 10 ล้านจนครบ 150 ล้าน ยอดจ่ายหลังได้ประทานบัตร 10,000,000 ของใหม่ กองทุนประกันความเสี่ยงตามกรอบนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการทรัพยากรแร่ทองคำ วัตถุประสงค์ เพื่อแก้ไขปัญหาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ และพัฒนาชีวิตของประชาชน (กรณีมีเงินเหลือจากแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและสุขภาพตามแผนครบถ้วน) ลักษณะโครงการ เก็บเงินร้อยละ 3 ของค่าภาคหลวงแร่ที่บริษัทชำระในแต่ละปี แต่ต้องไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาทต่อปี ตลอดระยะเวลาการประกอบการ เงื่อนไข มีคณะกรรมการบริหารกองทุน อพร.เป็นประธาน ปีที่เริ่มจ่าย เริ่มจ่ายหลังจากกองเดิมจ่ายครบ 150 ล้านบาทแล้ว 2 . กองทุนตามเงื่อนไขแนบท้ายการอนุญาตโลหกรรม เมื่อวันที่ 5 ต.ค. 2555 ของเดิม กองทุนพัฒนาท้องถิ่น วัตถุประสงค์ 29 หมู่บ้านรอบเหมือง วัตถุประสงค์ เก็บเงินเข้าบัญชีสัดส่วนปริมาณโลหะทองคำที่ผลิตได้ในอัตรา 3 บาท/กรัม หรือไม่น้อยกว่าปีละ 15 ล้านบาท ตลอดระยะเวลาประกอบโลหกรรม เงื่อนไข Met ปีที่เริ่มจ่าย 2556-2559 60,000,000 ของใหม่ กองทุนพัฒนาหมู่บ้านรอบพื้นที่เหมืองแร่ตามกรอบนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการทรัพยากรแร่ทองคำพัฒนาหมู่บ้านรอบเหมือง วัตถุประสงค์เก็บเงินร้อยละ 5 ของค่าภาคหลวงแร่ที่บริษัทชำระในแต่ละปี แต่ต้องไม่น้อยกว่า 15 ล้านบาทต่อปี ตลอดระยะเวลาการประกอบการ เงื่อนไข มีคณะกรรมการบริหารกองทุน ผวจ.เป็นประธาน ปีที่เริ่มจ่าย หลังได้ประทานบัตรและจ่ายภายใน 31 ม.ค. ของปีถัดไป หมายเหตุ จ่ายตามกองทุนเดิมต่อไปได้ ยอดจ่ายหลังได้ประทานบัตร 15,000,000 3. กองทุนที่จัดตั้ง ก่อนอนุญาตประทานบัตร (โครงการเหมืองแร่ทองคำ“ชาตรีเหนือ” ปี 2550) ของเดิม กองทุนพัฒนาตำบล วัตถุประสงค์ 12 หมู่บ้านในพื้นที่ตำบลเขาเจ็ดลูก ลักษณะโครงการ กองทุนพัฒนาตำบลเขาเจ็ดลูก สะสมเงินเข้าบัญชีละ 5 ล้าน เป็นเวลา 10 ปี เงื่อนไข ประทานบัตรชาตรีเหนือ ปีที่เริ่มจ่าย 2551-2559 จำนวนเงินที่อุดหนุนไปแล้ว 37,500,000 หมายเหตุ จ่ายต่อจนครบ 50 ล้านบาทตามเงื่อนไขเดิม ยอดจ่ายหลังได้ประทานบัตร 5,000,000 ของเดิม กองทุนพัฒนาตำบล วัตถุประสงค์ 13 หมู่บ้านในพื้นที่ตำบลท้ายดง ลักษณะโครงการ กองทุนพัฒนาตำบลท้ายดง สะสมเงินเข้าบัญชีละ 5 ล้าน เป็นเวลา 10 ปี เงื่อนไข ประทานบัตรชาตรีเหนือ ปีที่เริ่มจ่าย 2551-2559 จำนวนเงินที่อุดหนุนไปแล้ว 45,000,000 หมายเหตุ จ่ายต่อจนครบ 50 ล้านบาทตามเงื่อนไขเดิม ยอดจ่ายหลังได้ประทานบัตร 5,000,000 ของเดิม กองทุนพัฒนาหมู่บ้าน วัตถุประสงค์ บ้านเขาดิน ต.เขาเจ็ดลูก อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร ลักษณะโครงการ กองทุนพัฒนาหมู่บ้านเขาดินและหมู่บ้านนิคม โดยเก็บเงินเข้าบัญชีปีละ 1 ล้านบาท เป็นระยะเวลา 5 ปี (2555-2559) เงื่อนไข TSF 2 / ถูกจัดตั้งโดยข้อตกลงบริษัทและชาวบ้าน ปีที่เริ่มจ่าย 2555-2559 จำนวนเงินที่อุดหนุนไปแล้ว 4,500,000 หมายเหตุ จ่ายต่อจนครบ 5 ล้านบาทตามเงื่อนไขเดิม ยอดจ่ายหลังได้ประทานบัตร 500,000 ของเดิม กองทุนพัฒนาหมู่บ้าน วัตถุประสงค์ บ้านนิคม ต.เขาเจ็ดลูก อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร ลักษณะโครงการ กองทุนพัฒนาหมู่บ้านเขาดินและหมู่บ้านนิคม โดยเก็บเงินเข้าบัญชีปีละ 1 ล้านบาท เป็นระยะเวลา 5 ปี (2555-2559) เงื่อนไข TSF 2 / ถูกจัดตั้งโดยข้อตกลงบริษัทและชาวบ้าน ปีที่เริ่มจ่าย 2555-2559 จำนวนเงินที่อุดหนุนไปแล้ว 4,500,000 หมายเหตุ จ่ายต่อจนครบ 5 ล้านบาทตามเงื่อนไขเดิม ยอดจ่ายหลังได้ประทานบัตร 500,000 จัดตั้งใหม่ กองทุนเฝ้าระวังสุขภาพตามกรอบนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการทรัพยากรแร่ทองคำ วัตถุประสงค์ ใช้สำหรับกิจกรรมเฝ้าระวังและศึกษาเกี่ยวกับสุขภาพประชาชนรอบพื้นที่เหมือง ลักษณะโครงการ เก็บเงินร้อยละ 3 ของค่าภาคหลวงแร่ที่บริษัทชำระในแต่ละปี แต่ต้องไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาทต่อปี ตลอดระยะเวลาการประกอบการ เงื่อนไข มีคณะกรรมการบริหารกองทุน ผวจ.เป็นประธาน ปีที่เริ่มจ่าย หลังได้ประทานบัตรและจ่ายภายใน31ม.ค. ของปีถัดไป หมายเหตุ จัดตั้งใหม่ ยอดจ่ายหลังได้ประทานบัตร 10,000,000

ซึ่งรวมเม็ดเงินหลายร้อยล้านบาทที่ประชาชนที่อยู่รอบเหมืองทองอัคราหากเกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพเงินเหล่านี้ก็จะเป็นกองทุนในการชดเชยหรือเยียวยาหากเกิดผลกระทบดังกล่าว ซึ่งจากการอธิบาย นายกฤษณะ ก้อนแก้ว นายก อบต.เขาเจ็ดลูก , นางสาวฉัตรนภา เมืองแป้น นายก อบต.ท้ายดง ซึ่งเป็นตัวแทนผู้เข้าประชุมและเป็นผู้นำชุมชนได้แสดงความคิดเห็นว่า...กองทุนต่างๆเหล่านี้ที่ผ่านมาชาวบ้านเข้าถึงเม็ดเงินได้ยากมากทำโครงการอะไรเสนอไปก็มักถูกซักฟอก-ซักถาม-คอมเม้นให้ทำมาใหม่ จากคณะกรรมการกองทุนซึ่งส่วนใหญ่เป็นฝ่ายราชการและนักวิชาการ แต่ตรงกันข้ามโครงการที่เป็นของนักวิชาการกลับผ่านการพิจารณาแล้วมาเอาเม็ดเงินของกองทุนต่างๆไปใช้จนถึงวันนี้ชาวบ้านรอบเหมืองทองอัคราจึงมีความรู้สึกว่าไม่เห็นค่า ไม่เห็นความสำคัญของกองทุนต่างๆเหล่านี้จึงเป็นที่มาของความวุ่นวายและข้อเรียกร้องต่างๆนาๆ ดังกล่าว

อื่นๆ

  • nppct
  • 19 ก.ย. 2567
  • 303

กรมชลประทานมั่นใจ ปตร.ท่าแห มีความพร้อมบริหารจัดการน้ำเพื่อช่วยแก้ปัญหาภัยแล้ง-น้ำท่วมให้กับเกษตรกรลุ่มน้ำยม

วันที่ 18 กันยายน 2567 ความคืบหน้าการก่อสร้างประตูระบายน้ำท่าแห ของสำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 3 กองพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลาง กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ ต.กำแพงดิน อ.สามง่าม จ.พิจิตร

อ่านต่อ...
ผู้ว่าฯพิจิตรจ่อเชือดกำนัน-ผู้ใหญ่บ้านปล่อยให้มีบ่อนเล่นการพนันเหตุ7วันจับ2แห่ง (3 ก.พ. 2564) อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงานจัด20หลักสูตรด้วยระบบออนไลน์เพิ่มทักษะเสริมอาชีพสู้โควิด (30 ม.ค. 2564) นักรบชุดขาวจากเมืองพิจิตร8คนสมัครใจสู้ภัยโควิดสมุทรสาครรู้ว่าเสี่ยงแต่ก็ขออาสา (29 ม.ค. 2564) ผู้ว่าฯพิจิตรยืนยันหนุนศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวเพื่อชาวนามีข้าวปลูกพันธุ์ดีลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ (29 ม.ค. 2564) พาณิชย์พิจิตรช่วยขายกุ้งคัดเอามาแต่ตัวใหญ่ๆจากสุพรรณบุรีที่ได้รับผลกระทบโควิด (28 ม.ค. 2564) แม่ทัพภาคที่3สั่งกอ.รมน.พิจิตรลงพื้นที่ฟังทางแก้ปัญหาแม่น้ำยมแห้งขอดทางออกชาวนาเจาะบ่อน้ำบาดาล (25 ม.ค. 2564) พิจิตรผู้ป่วยติดเชื้อโควิดเสียชีวิตแล้ว 1 ราย เป็นชายอายุ 81ปีชาวตำบลบางลาย (23 ม.ค. 2564) กอ.รมน.พิจิตรหนุนช่วยโรงเรียนไกลปืนเที่ยงมีแต่ครูผู้หญิงแต่ใจสู้ปลูกผักเลี้ยงไก่เลี้ยงปลาเป็นอาหารกลางวันให้เด็กกินอิ่มกินท้อง (21 ม.ค. 2564) ชลประทานเร่งมือสร้างประตูระบายน้ำงบ231ล้านในแม่น้ำยมเป้าหมายปี65ต้องเสร็จ (18 ม.ค. 2564) เจ้าคณะจังหวัดพิจิตรห่วงชาวพุทธเข้าวัดน้อยลงศิลปินนักร้องตกงานเหตุโควิด19ระบาด (18 ม.ค. 2564)