ป.ป.ท.เขต 6 จับมือ สตง. ป.ป.ช.พิจิตรติดอาวุธทางปัญญาให้ท้องถิ่นร่วมต้านทุจริต

วันที่ 28 เมษายน 2565 นายสัญชาติ อุปนันชัย ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐเขต 5 รักษาการแทน ผอ.สนง.ป.ป.ท.เขต 6 มอบหมายให้ นายอริยวัตถ์ เที่ยงธรรมโม นักสืบสวนสอบสวนชำนาญการพิเศษ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงาน ป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ เขต 6 เป็นประธานเปิดการอบรมโครงการปลูกจิตสำนึกเจ้าหน้าที่ของรัฐตามหลักธรรมาภิบาลภายใต้หลักสูตรเสริมสร้างธรรมาภิบาลต่อต้านการทุจริต ที่ ห้องประชุม โรงแรมมีพรสวรรค์ อ.เมือง จ.พิจิตร โดยมีผู้เข้าร่วมในกิจกรรมครั้งนี้ 160 คน ซึ่งล้วนเป็นหัวหน้าหน่วยงาน-ข้าราชการ-พนักงานเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องกับการเงินการเลิกจ่ายของหน่วยงานและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภายในจังหวัดพิจิตร โดย นางกุลิสราพ์ บุญทับ ผู้ตรวจเงินแผ่นดิน (สตภ.11) และ นายอภิชาติ ปุณยธัญพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดพิจิตร ก็ได้ร่วมกัน เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้ถึงเรื่องระเบียบวินัยการเงินการคลังและการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการเบิกจ่ายให้เป็นไปตามนโยบายและกรอบยุทธศาสตร์ของ พ.ร.บ.ยุทธศาสตร์ชาติ รวมถึงบทบาทหน้าที่ของ สตง. ว่าหลังจากนี้จะทำหน้าที่ให้คำแนะนำ เป็นที่ปรึกษาให้ทำในสิ่งที่ถูกต้องมากกว่าจ้องจับผิด ดังนั้นต่อไปนี้ “ถ้าไม่รู้ ไม่เข้าใจ ไม่แน่ใจ ก่อนลงมือทำขอให้ถาม” จะด้วยวาจาหรือเป็นลายลักษณ์อักษรก็ได้ ซึ่งจะได้รับคำตอบภายใน 30 วัน ตามที่ระเบียบกำหนดอย่างแน่นอน

ในส่วนของ นายอภิชาติ ปุณยธัญพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดพิจิตร ก็เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้ทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องรวมถึงกรณีศึกษาของผู้ที่กระทำการทุจริตแล้วต้องรับโทษรวมถึงหากว่าเป็นผู้น้อย เป็นผู้ปฏิบัติแล้วถูกเจ้านายทั้งในระบบราชการและระบบการเมืองบังคับขู่เข็ญให้ร่วมกระทำการทุจริต แนะนำว่า 1.เมื่อได้รับคำสั่งแล้วไม่เห็นด้วย หรือสิ่งที่สั่งให้ทำไม่ชอบด้วยกฎหมายให้ทำหนังสือโต้แย้ง แต่ข้อนี้อาจทำให้เจ้านายไม่พอใจก็มีวิธีข้อที่ 2.คือให้รวบรวมข้อมูลแล้วแอบไปลงบันทึกประจำวันที่โรงพักไว้เป็นหลักฐานหากเกิดอะไรขึ้นก็ให้นำบันทึกประจำวันนี้มาแสดงถึงเจตนาว่าถูกบังคับให้ร่วมกระทำผิดได้ ซึ่งเป็นทางเลือกทางรอดอีกช่องทางหนึ่ง วิธีที่ 3.หากถูกผู้บังคับบัญชาหรือเจ้านายบังคับให้กระทำในสิ่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหากโต้แย้งไปอาจถูกกลั่นแกล้งหรือเป็นอันตรายแก่ตำแหน่งหน้าที่จึงต้องจำใจยอมทำไป จนความผิดสำเร็จเด็ดขาดและเบิกเงินเป็นการทุจริตไปแล้วก็ขอให้รีบมารายงานให้ ป.ป.ช.พิจิตร หรือทุกแห่งได้รับรู้รับทราบภายใน 30 วัน ทำเพียงแค่นี้ท่านก็จะรอดจากการตกเป็นผู้ต้องหาในคดีทุจริตผิดกฎหมายดังกล่าว

และในส่วนของ ดร.ทวุฒิ หลวงแก้ว นักวิชาการยุติธรรมชำนาญการ ป.ป.ท.เขต 6 เป็นวิทยากรให้ความรู้ในเรื่องการใช้ระเบียบราคากลางในการจัดซื้อจัดจ้าง-การดูวัสดุอุปกรณ์ ว่า สิ่งใดเป็นของแท้เป็นของเทียมที่เมื่อนำมาใช้ในการก่อสร้างแล้วจะก่อให้เกิดความเสียหายกับภาครัฐอันเป็นที่มาของผู้ตรวจรับงานที่ต้องถูกตกเป็นจำเลย รวมถึงบรรยายถึงเคสต่างๆที่นำพาไปสู่คดี ม.157 อีกด้วย

อื่นๆ

  • nppct
  • 15 ต.ค. 2566
  • 143

วินัย ส.ส.พิจิตรเขต2นำทีมแจกถุงยังชีพผู้ประสบภัย10อำเภอ3,084ชุด

วันเสาร์ที่ 14 ตุลาคม 2566 นายวินัย ภัทรประสิทธิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพิจิตร เขต 2 นายสิงหราช วงษ์เสงี่ยม รองผู้ว่าฯ พิจิตร รักษาราชการแทน ผู้ว่าฯ พิจิตร และ ปภ.พิจิตร , ส่วนราชการ ได้ร่วมกันนำถุงยังช

อ่านต่อ...
ผู้ว่าฯ นายก อบจ.พิจิตรนำจิตอาสา Big Cleaning Day นมัสการหลวงพ่อเงินวัดบางคลานสยบเรื่องวุ่นวาย (4 พ.ค. 2565) ป.ป.ท.เขต 6 จับมือ สตง. ป.ป.ช.พิจิตรติดอาวุธทางปัญญาให้ท้องถิ่นร่วมต้านทุจริต (28 เม.ย. 2565) สภาเกษตรกรพิจิตรผลักดันส้มโอท่าข่อยของดีเมืองชาละวันโกอินเตอร์ทำราคาพุ่งกระฉูด (19 เม.ย. 2565) พิจิตรพบผู้ป่วยโควิดรายวันหลักร้อยกระจายทั่วทุกอำเภอแล้ว (22 ก.พ. 2565) ร.ร.อนุบาลพิจิตรเชิญป.ป.ช.เป็นสักขีพยานจับฉลากรับเด็กเข้าเรียนโปร่งใสไร้แป๊ะเจี๊ยะ (20 ก.พ. 2565) เหมืองทองอัคราแจงผู้นำชุมชนรัศมี 5 กม.ขอเวลา 5 เดือนปรับปรุงเครื่องจักรชี้มีเงินกองทุนเพื่อชุมชนเพียบ (29 ม.ค. 2565) ผู้ว่าฯพิจิตรระดมช่วยสร้างบ้านใหม่ให้คุณยายวัย77ปีชีวิตแสนรันทดอยู่โดดเดี่ยวบ้านทรุดโทรม (14 ม.ค. 2565) ผู้ว่าฯพิจิตร ห่วงสะพานแขวนหัวดงใช้งานมาเกือบ30ปีแกว่งไปมาหวั่นขาดหล่นตุ้บสั่งเร่งซ่อมแซม (29 ธ.ค. 2564) พิจิตรชลประทานพิจิตรส่งสัญญาณเตือนเกษตรกรลุ่มน้ำยมฤดูแล้งนี้ส่อเค้าวิกฤตแน่ (2 ธ.ค. 2564) ธ.ก.ส.พิจิตรโอนเงินชดเชยส่วนต่างราคาข้าว 897 ล้าน ถึงมือชาวนาเมืองชาละวันแล้ว (10 พ.ย. 2564)