พิจิตรเกษตรกรหัวก้าวหน้าบอกลาการทำนาใช้พื้นที่2ไร่ปลูกเมล่อนยืนยันทุก20วันมีรายได้1แสนบาท

นายสมศักดิ์ บางแดง อายุ 60 ปี อยู่บ้านเลขที่ 33 หมู่ 7 บ้านมาบแฟบ ต.เนินปอ อ.สามง่าม จ.พิจิตร ซึ่งเป็นเกษตรกรหัวก้าวหน้ารายแรกของหมู่บ้านที่กล้าเปลี่ยนแปลงจากการทำนาหันมาปลูกเมล่อนในโรงเรือน เล่าให้ฟังว่า ชีวิตเติบโตมากับท้องไร่ท้องนาที่บ้านมีนา 20 ไร่ ใช้ชีวิตเป็นชาวนาที่ใครๆก็สรรเสริญว่า เป็นกระดูกสันหลังของชาติ แต่ทุกคนจะรู้บ้างไหมว่า การเป็นชาวนานั้นมันสุดแสนจะลำบากชีวิตมีแต่หนี้สินราคาข้าวก็ตกต่ำเคยคิดหลายสิบครั้งว่าจะเลิกทำนาแต่ด้วยความที่ไม่มีความรู้จึงไม่รู้ว่า ถ้าเลิกทำนาแล้วจะไปทำมาหากินอะไร จนกระทั่งเมื่อปี 2558 ลูกเขยและลูกสาวที่ทำงานอยู่ในกรุงเทพมีความรู้เรื่องการค้าพืชผักและผลไม้มาให้คำแนะนำว่า อยากให้พ่อเลิกทำนาแล้วหันมาปลูกเมล่อน “ลุงสมศักดิ์” ซึ่งใช้ชีวิตอยู่กลางท้องนามาเกือบตลอดชีวิต “เมล่อน” มีรูปร่างหน้าตาหรือรสชาติอย่างไร?ก็ไม่เคยรู้จัก ลูกสาวและลูกเขยก็ซื้อ “เมล่อน” จากกรุงเทพมาให้ลองชิม ซึ่งรสชาติทั้งหวาน กรอบ อร่อย ลูกๆบอกว่าผลไม้ชนิดนี้ในกรุงเทพขายอยู่ลูกละเกือบ 200-300 บาท ถ้าเราปลูกได้มีตลาดรับซื้อแน่นอนเพราะเป็นผลไม้ของผู้รักสุขภาพ “ลุงสมศักดิ์” จึงใช้เวลาศึกษาหาความรู้ โดยมีลูกสาวและลูกเขยเป็นติวเตอร์จากนั้นก็ลงมือปลูกเมล่อนในพื้นที่ 2 งาน ซึ่งก็เป็นพื้นที่ที่เคยเป็นทุ่งนานั่นแหล่ะ ซึ่งก็ลองผิดลองถูก ผลปรากฏว่าประสบความสำเร็จ มีรายได้หลายหมื่นบาท ถ้าเปรียบเทียบแล้วก็ดีกว่าทำนา 10 ไร่ เมื่อได้ความรู้เช่นนั้นก็เริ่มทำการต่อยอดสร้างโรงเรือนหลังแรกเพื่อ ปลูกเมล่อนในโรงเรือนขนาดกว้าง 6 X 36 เมตร ลงทุน 120,000 บาท ปลูกเมล่อนได้ 750 ต้นใช้เวลา 90วัน ก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตขายได้ในราคากิโลกรัมละ 70 บาท ใช้แรงงานคนในครอบครัวเพียงแค่ 3-4 คนเท่านั้น การปลูกเมล่อนในโรงเรือน 1 หลัง การลงทุนค่าเมล็ดพันธุ์เมล่อนบวกกับค่าปุ๋ย ค่ายา ก็ประมาณ 5,000 บาท ถ้าคิดค่าแรงของคนในครอบครัวใส่เข้าไปด้วยอีก 10,000 บาท ก็คิดเสียว่าลงทุนประมาณ 15,000 บาท เมล่อนในโรงเรือน 90 วันตัดขาย 1 ครั้ง ได้ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 700 ผล แต่ละผลน้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 2 กิโลกรัม ราคาขายส่งกิโลกรัมละ 70 บาท ( 700x2x70 = 98,000 บาท ) มีรายได้เกือบ 100,000 บาท ชัวร์ๆ “ลุงสมศักดิ์” เล่าต่ออีกว่า หลังจากมีประสบการณ์และมองเห็นช่องทางรายได้และตลาดที่มั่นคง จึงตัดสินใจเลิกทำนาอย่างเด็ดขาด นาที่มีก็ให้คนอื่นเค้าเช่าเหลือพื้นที่ไว้แค่เพียง 2 ไร่ กับบ่อน้ำขนาด 2 งาน อีก 1 บ่อเท่านั้น จากนั้นก็หาแหล่งเงินทุนแล้วสร้างขยายโรงเรือน ซึ่งทุกกวันนี้ปลูกเมล่อนในโรงเรือนรวมแล้ว 8 โรงเรือน ซึ่งทำให้สามารถสลับสับเปลี่ยนในการเก็บผลผลิตป้อนสู่ตลาดได้ทุกๆ 20 วัน ซึ่งในการเก็บผลผลิตขายแต่ละคราวก็จะได้เงินเกือบแสนบาท สำหรับตลาดที่ขายผลผลิตนั้นมี 3 ช่องทาง คือ ช่องทางที่ 1 ลูกสาวและลูกเขยที่อยู่ในกรุงเทพ ประสานงานติดต่อขายผ่านบริษัทตัวแทนที่รับซื้อผลผลิตป้อนเข้าห้างสรรพสินค้าดังๆหลายแห่งในกรุงเทพ ซึ่งมีการรับซื้ออย่างต่อเนื่องตลอด 3 ปีที่ผ่านมา การเงินมั่นคง แต่ผลผลิตต้องได้มาตรฐานตามที่ผู้ซื้อกำหนด การตลาดช่องทางที่ 2 นำผลผลิตมาขายด้วยตนเองที่บริเวณตลาดนัดเกษตรกรหน้าสำนักงานเกษตรจังหวัดพิจิตร ในทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี การตลาดช่องทางที่ 3 คือนำไปจำหน่ายที่ห้างท็อปส์พลาซ่าพิจิตร “ลุงสมศักดิ์”กล่าวทิ้งท้ายว่า ในอดีตทำนามีแต่หนี้สินทุกวันนี้ลืมตาอ้าปากได้ก็เพราะเลิกทำนาแล้วหันมาปลูกเมล่อน ดังนั้นจึงอยากเชิญชวนพี่น้องชาวนาพิจิตรและชาวนาไทยควรคิดวิธีการดำเนินชีวิตที่นอกเหนือจากการทำนา ซึ่งการปลูกเมล่อนก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่น่าสนใจ ซึ่งถ้าหากท่านใดต้องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ดูงานหรืออยากมาฝึกใช้ชีวิตจริงในการปลูกเมล่อน “ลุงสมศักดิ์” ยืนยันว่า ไม่หลวงวิชา สามารถมาเรียนรู้ด้วยกันได้ สนใจต้องการซื้อเมล่อนหรือจะมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้สามารถติดต่อได้ที่ “ลุงสมศักดิ์” 089-6415176 , คุณรามลูกเขย 081-2794242

อื่นๆ

  • nppct
  • 12 เม.ย. 2568
  • 508

รองผู้ว่าฯพิจิตร นำทีมกอ.รมน.-ปกครอง-ตำรวจรื้อทุบแหล่งเสื่อมโทรมเกี่ยวข้องยาเสพติดภายในสนามกีฬาด้านหลังสถานศึกษา

วันที่ 11 เมษายน 2568 นางสาวธนียา นัยพินิจ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร มอบให้ นายกิตติพล เวชกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร, พ.อ.สัมฤทธิ์ ฉัตรวัฒนาสกุล รอง ผอ.รมน.จังหวัดพิจิตร , นายรณรงค์ สิทธิเขตกรณ์

อ่านต่อ...
ผู้ว่าฯพิจิตรจัดตลาดนัดโรงสีพบชาวนาเปิดรับซื้อข้าวความชื้น15%ตันละ7,600บาท (9 เม.ย. 2568) เหมืองทองอัคราสนับสนุนทีมฟุตบอลพิจิตรยูไนเต็ดส่งเสริมเยาวชนเล่นกีฬาฟุตบอลเพื่อสุขภาพและต้านยาเสพติด (24 มี.ค. 2568) ชลประทานพิจิตรเข้าตรวจนับอุปกรณ์ประตูระบายน้ำท่าแหแม่น้ำยมเตรียมพร้อมรับโอนเพื่อบริหารจัดการ (24 มี.ค. 2568) ชาวนาเมืองชาละวันขายข้าวนานข้ามปีไม่ได้เงินส่อถูกโกงสภาเกษตรพาร้องทุกข์วอนอัยการสคช.พิจิตร ดำเนินคดี (18 มี.ค. 2568) AIS ร่วมจำหน่าย“วันอาทิตย์”บริการโซลาร์บ้านครบวงจร โดย กัลฟ์1 ที่ AIS Shop ทั่วประเทศ เติมเต็มไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม (17 มี.ค. 2568) AIS ชวนลูกค้ายืนยันตัวตนที่ AIS Shop และจุดบริการทั่วประเทศ เสริมความปลอดภัย อุ่นใจยิ่งกว่า พร้อมลุ้นทองคำกว่า 1.6 ล้านบาท (12 มี.ค. 2568) มีข่าวดีมาบอก! กรมชลประทานเดินหน้าเร่งทำแผนพัฒนาลุ่มน้ำยมตอนบนและตอนล่างครอบคลุมพื้นที่4จังหวัด (1 มี.ค. 2568) กรมชลประทานมั่นใจ ปตร.ท่าแห มีความพร้อมบริหารจัดการน้ำเพื่อช่วยแก้ปัญหาภัยแล้ง-น้ำท่วมให้กับเกษตรกรลุ่มน้ำยม (19 ก.ย. 2567) กรมชลประทานเร่งงานก่อสร้าง ปตร.โพธิ์ประทับช้างเป็นไปตามแผนงานที่วางไว้แล้ว (16 ก.ย. 2567) วินัย ส.ส.พิจิตรเขต2นำทีมแจกถุงยังชีพผู้ประสบภัย10อำเภอ3,084ชุด (15 ต.ค. 2566)