ท่องเที่ยวตลาดนัดพระเครื่องเมืองพิจิตรแหล่งรวบรวมวัตถุมงคลและงานศิลปะ

พิจิตรได้ชื่อว่า เป็นเมืองเล็กแต่น่ารัก ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเมืองชาละวันเป็นไปอย่างเรียบง่าย เนื่องจากดินแดนแห่งนี้อุดมสมบูรณ์สมกับชื่อ งาม นามเดิม “เมืองสระหลวง” ซึ่งแปลว่าเมืองในท้องน้ำ ดังนั้นพื้นที่จังหวัดพิจิตรกว่า 80% จึงเป็นพื้นที่ปลูกข้าว ดังนั้นชีวิตและความเป็นอยู่จึงผูกติดอยู่กับธรรมชาติและศาสนา ในจังหวัดพิจิตรมีสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา 2 แห่ง ที่เอ่ยชื่อแล้วใครๆก็ต้องรู้จัก หลวงพ่อเพชร วัดท่าหลวง พระอารามหลวง และวัดหลวงพ่อเงินบางคลาน ที่นับได้ว่าเป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง ที่ใครๆก็ใฝ่หาอยากได้วัตถุมงคล “หลวงพ่อเงินวัดบางคลาน” มาเพื่อครอบครอง

ในทุกเช้าวันเสาร์ตั้งแต่เวลา 6 โมงเช้า ถึง เที่ยงวัน ที่บริเวณสถานีขนส่งผู้โดยสาร ( บขส.เก่า ) หรือตลาดใหม่สระหลวง ที่เป็นจุดนัดพบของผู้ที่ชอบพระเครื่องเมืองพิจิตร เนื่องจากบริเวณนี้จัดให้เป็นตลาดนัดพระเครื่อง ซึ่งมีทั้งเซียนพระมืออาชีพ และ ผู้ที่ชื่นชอบสะสมพระเครื่อง พระบูชาสมัครเล่น ต่างมารวมตัวกันในแต่ละวันมีนับร้อยคน ต่างคนต่างนำโต๊ะมาตั้งโชว์วัตถุมงคลที่ต้องการจำหน่าย โดยเสียค่าบริการสถานที่เพียงแค่ 20 บาท ต่อโต๊ะ 1 ตัว ซึ่งเดินนับดูแล้วมีไม่ต่ำกว่า 100 โต๊ะ แต่ละคนขมักเขม้นส่องดูพระควานหาพระแท้ ค้นหาพระที่ตัวเองชื่นชอบในงานศิลปะและรูปลักษณ์ของพระเครื่องในรูปแบบต่างๆ

นายธนพล ไม้สนธิ หรือ “คุณแก้วเซียนพระ” อายุ 62 ปี หรือ ซึ่งเป็นแฟนพันธุ์แท้นักสะสมพระเครื่องของเมืองพิจิตรที่ใช้ชีวิตยามเช้าวันเสาร์อยู่ที่ตลาดนัดพระเครื่อง ที่บริเวณสถานีขนส่งผู้โดยสาร ( บขส.เก่า ) หรือตลาดใหม่สระหลวง เล่าให้ฟังว่า ผู้คนที่มาส่วนใหญ่จะปรารถนาเสาะหาหลวงพ่อเงินของวัดบางคลาน ซึ่งก็ต้องบอกว่า “ตาดีได้ ตาร้ายเสีย” กล่าวคือ บางครั้งก็มีพระที่ชาวบ้านนำมาจำหน่ายเอง บางครั้งก็เจอพระก็อปปี้ที่ทำขึ้นมาใหม่คล้ายของจริง เราไม่เรียกว่าพระปลอม เพราะว่าผู้ที่จำหน่ายพระเครื่องที่สถานที่แห่งนี้ก็จะบอกกันตรงไปตรงมาว่าเป็นพระก็อปปี้ หรือบางทีก็เป็นพระแท้ใหม่ที่เป็นวัตถุมงคลของวัดต่างๆที่ทำขึ้น ตลาดนัดพระเครื่องแห่งนี้ถ้าใครมาอยากขายต้องได้ขาย อยากซื้อต้องได้ของดีกลับไป ในแต่ละวันมีเงินหมุนเวียนนับแสนบาท ราคาซื้อ-ขาย หรือ ราคาบูชาพระเครื่อง เริ่มต้นจากราคา 10 บาท ไปถึงหลักหมื่น หลักแสนบาท ทุกอย่างก็ขึ้นอยู่กับความพอใจ ดังนั้นสถานที่แห่งนี้จึงนับได้ว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของวงการพระเครื่องเมืองพิจิตรอีกด้วย เพราะนอกจากมีการซื้อขายแลกเปลี่ยนพระเครื่องแล้ว สิ่งของประเภทของเก่า ของโบราณ ก็มีการซื้อขายกันในสถานที่แห่งนี้อีกด้วย สำหรับตลาดนัดพระเครื่องเมืองพิจิตรวันเสาร์จัดที่ บริเวณสถานีขนส่งผู้โดยสาร ( บขส.เก่า ) หรือตลาดใหม่สระหลวง , วันจันทร์ จัดที่ ตลาดพอเพียง อ.วชิรบารมี ตั้งแต่เวลา 6 โมงเช้า ถึง เที่ยงวัน เป็นประจำ สำหรับท่านใดที่สนใจอยากมาท่องเที่ยว หรืออยากรู้ข้อมูลต่างๆ สามารถติดต่อได้ที่ นายธนพล ไม้สนธิ หรือ “คุณแก้วเซียนพระ” โทร 098-6359746

ข่าวทั่วไป

  • nppct
  • 20 ก.ค. 2566
  • 129

กรมชลประทานโชว์ผลงานงบ515ล้านก่อสร้างปตร.ท่านางงามส่งผลนาข้าว5หมื่นไร่ลุ่มน้ำยมอุดมสมบูรณ์

วันที่ 18 กรกฎาคม 2566 นายธนบดี รักสัตย์ ผู้อำนวยการสำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 3 กองพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลาง กรมชลประทาน มอบให้ นายธนาธิป แก้วมณี หัวหน้าฝ่ายก่อสร้างที่ 1 ให้ข้อมูลกับผู้สื่อ

อ่านต่อ...
คุณพระช่วย!พระครูยังวัดสามง่ามยกสำนักปฏิบัติธรรมสถานที่สุดหรูให้เป็นโรงพยาบาลสนาม (9 ส.ค. 2564) ปปท.เขต6ติดอาวุธทางปัญญาสร้างเครือข่ายให้ความรู้ชาวเมืองชาละวันปราบโกงยุคโควิด (6 ส.ค. 2564) Happy Birthday นราพัฒน์ แก้วทอง มอบของขวัญวันเกิดให้ตัวเองด้วยการให้ (2 ส.ค. 2564) ด้วยความห่วงใย !ไพฑูรย์-นราพัฒน์ แก้วทองและกลุ่มเพื่อน วธอ.4 New Tokyo มอบเตียงสร้าง รพ.สนาม วชิรบารมี (30 ก.ค. 2564) แทนคุณแผ่นดินบ้านเกิด ไพฑูรย์ -นราพัฒน์ แก้วทอง ตระเวนมอบเงินช่วย รพ.สนาม ในพิจิตร (26 ก.ค. 2564) ชลประทานพิจิตรเตรียมสูบน้ำจากแม่น้ำยมส่งเข้าคลองบ้านไร่หลวงพ่อขวัญสามง่ามเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศ (22 ก.ค. 2564) พิจิตรเหตุฝนทิ้งช่วงนาข้าวหอมมะลิอำเภอทับคล้อนับหมื่นไร่จ่อแห้งตาย (11 มิ.ย. 2564) ชาวนาพิจิตรเปิดศึกแย่งน้ำชลประทานจับมือฝ่ายปกครองตั้งโต๊ะเจรจาจัดรอบเวรสลับกันสูบน้ำ (10 มิ.ย. 2564) พิจิตรนาข้าว 5 ตำบล 2 หมื่นไร่ วิกฤต ฝนทิ้งช่วงชลประทานจับมือ อบจ.เปิดทางส่งน้ำเร่งช่วย (3 มิ.ย. 2564) กอ.รมน.พิจิตรร่วมรณรงค์ฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อโควิดล่าสุด6วันแล้วเมืองชาละวันไม่พบผู้ติดเชื้อ (3 มิ.ย. 2564)