พิจิตรเกษตรกรผู้ทำสวนยางพาราเผยเรื่องเศร้าใช้เวลา13ปีปลูก5ไร่มีรายได้ไม่ถึงหมื่นตัดสินใจโค่นต้นยางทิ้งฝืนทำต่อไปอดตายแน่

25 มิ.ย. 2561 นายกิตติชาติ ชาติยานนท์ เกษตรจังหวัดพิจิตร ลงพื้นที่เพื่อติดตามความก้าวหน้าโครงการพัฒนาอาชีพสวนยางรายย่อยเพื่อความยั่งยืน โดยได้ไปพบกับ นาย ยลวัตร และนางประไพร นามโฮง สองสามีภรรยา ซึ่งเป็นเกษตรกรอยู่บ้านเลขที่ 409 หมู่ที่ 8 ตำบลแหลมรัง อำเภอบึงนาราง จังหวัดพิจิตร ที่ปลูกยางพาราในพื้นที่ 5 ไร่ ปลูกมาเป็นระยะเวลา 13 ปี โดยเกษตรกรรายนี้เล่าว่าช่วงก่อนหน้านั้นเห็นราคายางพารามีราคาสูงประกอบกับในช่วงนั้นมีการส่งเสริมให้ปลูกยางพารา 1 ล้านไร่ ใครเข้าโครงการก็จะได้รับการสนับสนุนและได้รับต้นกล้ายางฟรี!! ซึ่งตนเองและเพื่อนบ้านอีกหลายคนมองเห็นว่าจะมีอนาคตแจ่มใสจึงตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ ซึ่งเมื่อปลูกพางพาราได้ประมาณ 7 ปี ก็ลงมือกรีดยาง ปรากฏว่าราคายางพาราไม่เป็นเหมือนดั่งฝัน รายรับไม่พอรายจ่าย ไม่พอค่าคนงานกรีดยางด้วยซ้ำ ยืนยันว่าปลูกยาง 5 ไร่ ตลอดระยะเวลา 13 ปีที่ผ่านมา มีรายรับหรือมีรายได้จากสวนยางพาราแปลงนี้ไม่ถึง 1 หมื่นบาท หรือจะพูดได้ว่าขาดทุนย่อยยับก็คงไม่ผิดแปลกอะไร? ดังนั้นในปีนี้รัฐบาลมีโครงการว่า ต้องการลดพื้นที่การปลูกยางพาราใครที่เข้าโครงการโค่นต้นยางพาราทิ้งจะได้รับเงินสนับสนุนการปรับเปลี่ยนอาชีพไร่ละ 1 หมื่นบาท แต่ไม่เกิน 10 ไร่ ในส่วนของนายกิตติชาติ ชาติยานนท์ เกษตรจังหวัดพิจิตร กล่าวเพิ่มเติมว่า จังหวัดพิจิตรมีพื้นที่ปลูกยางพารา ทั้งหมด 4,579 ไร่ เป็นเกษตรกร 208 ราย แต่มีขึ้นทะเบียนกับทางราชการแค่เพียง 1,801 ไร่ เป็นเกษตรกร 132 ราย อีกทั้ง มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการพัฒนาอาชีพสวนยางรายย่อยเพื่อความยั่งยืนด้วยการจะโค่นต้นยางทิ้งแล้วปลูกพืชอย่างอื่นจำนวน 14 ราย จำนวน 119 ไร่ ซึ่งถ้าเกษตรกรเข้าร่วมโครงการก็จะได้รับเงินทุนอุดหนุน ไร่ละ 10,000 บาท แต่ไม่เกินรายละ 10 ไร่ โดย ต้นยางต้องมีอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป แต่ต่ำกว่า 25 ปี มีจำนวนต้นยางเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 25 ต้นต่อไร่ เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการโค่นต้นยางจะได้รับเงินสนับสนุนไร่ละ 1 หมื่นบาท แต่แบ่งการจ่ายเงินออกเป็น 2 งวดดังนี้ คือ งวดที่ 1 ไร่ละ 4,000 บาท หลังจากเกษตรกรโค่นต้นยางและจัดทำแผนพัฒนาอาชีพการเกษตรรายคนแล้วเสร็จ ทั้งนี้ การโค่นต้นยางมีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการโค่นเป็นผืน หรือโค่นบางส่วน เช่น โค่นแถวเว้นแถวแล้วปลูกพืชชนิดอื่นในแถวยางที่โค่นร่วมกับต้นยางที่เหลือ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มโอกาสให้แก่เกษตรกรชาวสวนยางในการเข้าร่วมโครงการนี้ จ่ายงวดที่ 2 ไร่ละ 6,000 บาท เมื่อเกษตรกรเข้ารับการอบรมตามแผนพัฒนาอาชีพและดำเนินการตามแผนพัฒนาอาชีพแล้วเสร็จ แล้วลงมือปลูกพืชทดแทน เช่นการปลูกพืชผักสวนครัว ปลูกไม้ดอกไม้ประดับ ปลูกไม้ผลไม้ยืนต้น และการทำการประมงปศุสัตว์เป็นต้น

ข่าวทั่วไป

  • nppct
  • 11 เม.ย. 2568
  • 174

กอ.รมน.- ตำรวจ.-ปกครองพิจิตร ตรวจสถานบันเทิงยามราตรีต้อนรับเทศกาล สงกรานต์ท่องเที่ยวปลอดภัย

เมื่อคืนที่ผ่านมา พ.อ.สัมฤทธิ์ ฉัตรวัฒนาสกุล รอง ผอ.รมน.จังหวัด พ.จ.(ท.) มอบหมายให้ พ.ต.รณชัย ประจันสี หน.ชุด ชรต.307 กอ.รมน.จังหวัด พ.จ. พร้อมด้วยกำลังพล กอ.รมน.จังหวัด พ.จ. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยว

อ่านต่อ...
มูลนิธิพิจิตรสามัคคีร่วมกับพ่อค้า-คหบดีและผู้ใจบุญร่วมเลี้ยงอาหารกลางวันเด็กนักเรียนในพื้นที่ชนบท"น้องอิ่มท้องพี่อิ่มใจ" (24 ก.ย. 2561) พิจิตรวิกฤตโรงเรียนขนาดเล็กไม่มีครูจำนวนเด็กลดลงประกาศปิดอีก3โรงแถมส่อเค้าอนาคตอีก 13 โรงอาจไปไม่รอด (24 ก.ย. 2561) พิจิตรวิกฤตโรงสีข้าวทยอยปิดกิจการเหตุราคาข้าวมีแต่ทรงกับทรุดหลายแห่งประกาศหยุดรับซื้อข้าวจากชาวนาแล้ว (24 ก.ย. 2561) พิจิตรวิกฤตการศึกษาโรงเรียนเล็กในชนบทเหลือครูแค่คนเดียววอนรัฐเหลียวแล (10 ก.ย. 2561) สสส.จัดงบหนุนปลุกพลังชาวบ้านเสริมสร้างสุขภาพแก้8ปัญหาเมืองชาละวันชี้เรื่องขยะและผู้สูงอายุกำลังเป็นปัญหาใหญ่ในสังคม (14 ส.ค. 2561) พิจิตรชาวนาถือฤกษ์วันแม่เดือนสิงหาลงแขกดำนาปลูกพันธุ์ข้าวดั้งเดิมของท้องถิ่น (14 ส.ค. 2561) พิจิตรเจ้าคณะจังหวัดแจงถูกใส่ร้ายเก็บส่วยข่มขู่รีดไถเงินวัดหลวงพ่อเงินบางคลานวอนฟังความให้รอบด้านก่อนวิพากษ์วิจารณ์ (14 ส.ค. 2561) พิจิตรฝ่าวงล้อมยื้อชุดกระชากด่าทอเจ้าหน้าที่กลุ่มม็อบอดีตเจ้าอาวาสรูปเก่าวัดหลวงพ่อเงินระดมนักศึกษานับเงินตู้บริจาค19 ตู้ (14 ส.ค. 2561) ผู้ว่าฯพิจิตรจับมือห้างท็อปส์พลาซ่าจัดงานเกษตรแฟร์ยกระดับสินค้าเกษตรผู้ผลิตพบผู้บริโภค (31 ก.ค. 2561) กอ.รมน.พิจิตรทำโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันส่งผลน้องๆอิ่มท้องสมองดีตั้งใจเรียนไร้ปัญหาทุจริต (9 ก.ค. 2561)