พิจิตรเกษตรกรผู้ทำสวนยางพาราเผยเรื่องเศร้าใช้เวลา13ปีปลูก5ไร่มีรายได้ไม่ถึงหมื่นตัดสินใจโค่นต้นยางทิ้งฝืนทำต่อไปอดตายแน่

25 มิ.ย. 2561 นายกิตติชาติ ชาติยานนท์ เกษตรจังหวัดพิจิตร ลงพื้นที่เพื่อติดตามความก้าวหน้าโครงการพัฒนาอาชีพสวนยางรายย่อยเพื่อความยั่งยืน โดยได้ไปพบกับ นาย ยลวัตร และนางประไพร นามโฮง สองสามีภรรยา ซึ่งเป็นเกษตรกรอยู่บ้านเลขที่ 409 หมู่ที่ 8 ตำบลแหลมรัง อำเภอบึงนาราง จังหวัดพิจิตร ที่ปลูกยางพาราในพื้นที่ 5 ไร่ ปลูกมาเป็นระยะเวลา 13 ปี โดยเกษตรกรรายนี้เล่าว่าช่วงก่อนหน้านั้นเห็นราคายางพารามีราคาสูงประกอบกับในช่วงนั้นมีการส่งเสริมให้ปลูกยางพารา 1 ล้านไร่ ใครเข้าโครงการก็จะได้รับการสนับสนุนและได้รับต้นกล้ายางฟรี!! ซึ่งตนเองและเพื่อนบ้านอีกหลายคนมองเห็นว่าจะมีอนาคตแจ่มใสจึงตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ ซึ่งเมื่อปลูกพางพาราได้ประมาณ 7 ปี ก็ลงมือกรีดยาง ปรากฏว่าราคายางพาราไม่เป็นเหมือนดั่งฝัน รายรับไม่พอรายจ่าย ไม่พอค่าคนงานกรีดยางด้วยซ้ำ ยืนยันว่าปลูกยาง 5 ไร่ ตลอดระยะเวลา 13 ปีที่ผ่านมา มีรายรับหรือมีรายได้จากสวนยางพาราแปลงนี้ไม่ถึง 1 หมื่นบาท หรือจะพูดได้ว่าขาดทุนย่อยยับก็คงไม่ผิดแปลกอะไร? ดังนั้นในปีนี้รัฐบาลมีโครงการว่า ต้องการลดพื้นที่การปลูกยางพาราใครที่เข้าโครงการโค่นต้นยางพาราทิ้งจะได้รับเงินสนับสนุนการปรับเปลี่ยนอาชีพไร่ละ 1 หมื่นบาท แต่ไม่เกิน 10 ไร่ ในส่วนของนายกิตติชาติ ชาติยานนท์ เกษตรจังหวัดพิจิตร กล่าวเพิ่มเติมว่า จังหวัดพิจิตรมีพื้นที่ปลูกยางพารา ทั้งหมด 4,579 ไร่ เป็นเกษตรกร 208 ราย แต่มีขึ้นทะเบียนกับทางราชการแค่เพียง 1,801 ไร่ เป็นเกษตรกร 132 ราย อีกทั้ง มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการพัฒนาอาชีพสวนยางรายย่อยเพื่อความยั่งยืนด้วยการจะโค่นต้นยางทิ้งแล้วปลูกพืชอย่างอื่นจำนวน 14 ราย จำนวน 119 ไร่ ซึ่งถ้าเกษตรกรเข้าร่วมโครงการก็จะได้รับเงินทุนอุดหนุน ไร่ละ 10,000 บาท แต่ไม่เกินรายละ 10 ไร่ โดย ต้นยางต้องมีอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป แต่ต่ำกว่า 25 ปี มีจำนวนต้นยางเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 25 ต้นต่อไร่ เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการโค่นต้นยางจะได้รับเงินสนับสนุนไร่ละ 1 หมื่นบาท แต่แบ่งการจ่ายเงินออกเป็น 2 งวดดังนี้ คือ งวดที่ 1 ไร่ละ 4,000 บาท หลังจากเกษตรกรโค่นต้นยางและจัดทำแผนพัฒนาอาชีพการเกษตรรายคนแล้วเสร็จ ทั้งนี้ การโค่นต้นยางมีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการโค่นเป็นผืน หรือโค่นบางส่วน เช่น โค่นแถวเว้นแถวแล้วปลูกพืชชนิดอื่นในแถวยางที่โค่นร่วมกับต้นยางที่เหลือ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มโอกาสให้แก่เกษตรกรชาวสวนยางในการเข้าร่วมโครงการนี้ จ่ายงวดที่ 2 ไร่ละ 6,000 บาท เมื่อเกษตรกรเข้ารับการอบรมตามแผนพัฒนาอาชีพและดำเนินการตามแผนพัฒนาอาชีพแล้วเสร็จ แล้วลงมือปลูกพืชทดแทน เช่นการปลูกพืชผักสวนครัว ปลูกไม้ดอกไม้ประดับ ปลูกไม้ผลไม้ยืนต้น และการทำการประมงปศุสัตว์เป็นต้น

ข่าวทั่วไป

  • nppct
  • 20 ก.ค. 2566
  • 129

กรมชลประทานโชว์ผลงานงบ515ล้านก่อสร้างปตร.ท่านางงามส่งผลนาข้าว5หมื่นไร่ลุ่มน้ำยมอุดมสมบูรณ์

วันที่ 18 กรกฎาคม 2566 นายธนบดี รักสัตย์ ผู้อำนวยการสำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 3 กองพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลาง กรมชลประทาน มอบให้ นายธนาธิป แก้วมณี หัวหน้าฝ่ายก่อสร้างที่ 1 ให้ข้อมูลกับผู้สื่อ

อ่านต่อ...
ผู้ว่าฯพิจิตร จัดพบสื่อแถลงข่าววันนี้พบผู้ติดเชื้อโควิดแค่2รายยืนยันพร้อมหาวัคซีนเข็ม3เข็ม4ฉีดครูและประชาชน (19 ม.ค. 2565) ผู้ว่าฯพิจิตรพาปั่นจักรยานเยี่ยมราษฎรส่งเสริมกลุ่มชาวบ้านเป็นของขวัญของฝากปีใหม่ (16 ธ.ค. 2564) อบจ.พิจิตร จับมือชลประทานเร่งช่วยระบายน้ำให้ชาวนา 2 ตำบลได้เก็บเกี่ยวผลผลิต (3 พ.ย. 2564) ผู้ว่าฯ-นายก อบจ.พิจิตร ตักบาตรเทโวพระพายเรือบิณฑบาตรส่งเสริมการท่องเที่ยวหนุนนโยบายรัฐเปิดประเทศ (22 ต.ค. 2564) ผู้ว่าฯพิจิตร สั่ง เลือกตั้งท้องถิ่นข้าราชการให้วางตัวเป็นกลางคาดผู้ใช้สิทธิ80% (11 ต.ค. 2564) พิจิตรเกิดโรคคอบวมระบาดในโค-กระบือส่งผลล้มตายเกษตรกรวอนรัฐช่วย (10 ต.ค. 2564) ปลัดกระทรวงมหาดไทยอัญเชิญถุงยังชีพสมเด็จพระสังฆราชมอบให้ราษฎรลุ่มน้ำยมพิจิตร (9 ต.ค. 2564) พิจิตรระดับน้ำสูงขึ้นแม่น้ำยมล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรในพื้นที่ลุ่มต่ำริมตลิ่ง (7 ต.ค. 2564) สภ.โพทะเล จัดพิธีรอดซุ้มกระบี่ประกาศเกียรติคุณให้แก่ผู้ปลดเกษียณ (30 ก.ย. 2564) พิจิตรฝนตกต่อเนื่องน้ำเหนือไหลบ่าทำพื้นที่ลุ่มต่ำน้ำท่วม12อำเภอ46ตำบล (28 ก.ย. 2564)