พิจิตรเกษตรกรผู้ทำสวนยางพาราเผยเรื่องเศร้าใช้เวลา13ปีปลูก5ไร่มีรายได้ไม่ถึงหมื่นตัดสินใจโค่นต้นยางทิ้งฝืนทำต่อไปอดตายแน่

25 มิ.ย. 2561 นายกิตติชาติ ชาติยานนท์ เกษตรจังหวัดพิจิตร ลงพื้นที่เพื่อติดตามความก้าวหน้าโครงการพัฒนาอาชีพสวนยางรายย่อยเพื่อความยั่งยืน โดยได้ไปพบกับ นาย ยลวัตร และนางประไพร นามโฮง สองสามีภรรยา ซึ่งเป็นเกษตรกรอยู่บ้านเลขที่ 409 หมู่ที่ 8 ตำบลแหลมรัง อำเภอบึงนาราง จังหวัดพิจิตร ที่ปลูกยางพาราในพื้นที่ 5 ไร่ ปลูกมาเป็นระยะเวลา 13 ปี โดยเกษตรกรรายนี้เล่าว่าช่วงก่อนหน้านั้นเห็นราคายางพารามีราคาสูงประกอบกับในช่วงนั้นมีการส่งเสริมให้ปลูกยางพารา 1 ล้านไร่ ใครเข้าโครงการก็จะได้รับการสนับสนุนและได้รับต้นกล้ายางฟรี!! ซึ่งตนเองและเพื่อนบ้านอีกหลายคนมองเห็นว่าจะมีอนาคตแจ่มใสจึงตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ ซึ่งเมื่อปลูกพางพาราได้ประมาณ 7 ปี ก็ลงมือกรีดยาง ปรากฏว่าราคายางพาราไม่เป็นเหมือนดั่งฝัน รายรับไม่พอรายจ่าย ไม่พอค่าคนงานกรีดยางด้วยซ้ำ ยืนยันว่าปลูกยาง 5 ไร่ ตลอดระยะเวลา 13 ปีที่ผ่านมา มีรายรับหรือมีรายได้จากสวนยางพาราแปลงนี้ไม่ถึง 1 หมื่นบาท หรือจะพูดได้ว่าขาดทุนย่อยยับก็คงไม่ผิดแปลกอะไร? ดังนั้นในปีนี้รัฐบาลมีโครงการว่า ต้องการลดพื้นที่การปลูกยางพาราใครที่เข้าโครงการโค่นต้นยางพาราทิ้งจะได้รับเงินสนับสนุนการปรับเปลี่ยนอาชีพไร่ละ 1 หมื่นบาท แต่ไม่เกิน 10 ไร่ ในส่วนของนายกิตติชาติ ชาติยานนท์ เกษตรจังหวัดพิจิตร กล่าวเพิ่มเติมว่า จังหวัดพิจิตรมีพื้นที่ปลูกยางพารา ทั้งหมด 4,579 ไร่ เป็นเกษตรกร 208 ราย แต่มีขึ้นทะเบียนกับทางราชการแค่เพียง 1,801 ไร่ เป็นเกษตรกร 132 ราย อีกทั้ง มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการพัฒนาอาชีพสวนยางรายย่อยเพื่อความยั่งยืนด้วยการจะโค่นต้นยางทิ้งแล้วปลูกพืชอย่างอื่นจำนวน 14 ราย จำนวน 119 ไร่ ซึ่งถ้าเกษตรกรเข้าร่วมโครงการก็จะได้รับเงินทุนอุดหนุน ไร่ละ 10,000 บาท แต่ไม่เกินรายละ 10 ไร่ โดย ต้นยางต้องมีอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป แต่ต่ำกว่า 25 ปี มีจำนวนต้นยางเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 25 ต้นต่อไร่ เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการโค่นต้นยางจะได้รับเงินสนับสนุนไร่ละ 1 หมื่นบาท แต่แบ่งการจ่ายเงินออกเป็น 2 งวดดังนี้ คือ งวดที่ 1 ไร่ละ 4,000 บาท หลังจากเกษตรกรโค่นต้นยางและจัดทำแผนพัฒนาอาชีพการเกษตรรายคนแล้วเสร็จ ทั้งนี้ การโค่นต้นยางมีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการโค่นเป็นผืน หรือโค่นบางส่วน เช่น โค่นแถวเว้นแถวแล้วปลูกพืชชนิดอื่นในแถวยางที่โค่นร่วมกับต้นยางที่เหลือ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มโอกาสให้แก่เกษตรกรชาวสวนยางในการเข้าร่วมโครงการนี้ จ่ายงวดที่ 2 ไร่ละ 6,000 บาท เมื่อเกษตรกรเข้ารับการอบรมตามแผนพัฒนาอาชีพและดำเนินการตามแผนพัฒนาอาชีพแล้วเสร็จ แล้วลงมือปลูกพืชทดแทน เช่นการปลูกพืชผักสวนครัว ปลูกไม้ดอกไม้ประดับ ปลูกไม้ผลไม้ยืนต้น และการทำการประมงปศุสัตว์เป็นต้น

ข่าวทั่วไป

  • nppct
  • 6 เม.ย. 2567
  • 124

โรงไฟฟ้าซุปเปอร์เอิร์ธเอนเนอร์ยี6ใส่ใจสิ่งแวดล้อมเป็นมิตรกับชุมชน

โรงไฟฟ้า ซุปเปอร์เอิร์ธ เอนเนอร์ยี 6 ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือตอนล่างจังหวัดพิจิตร ได้เปิดเผยถึงการทำกิจกรรม CSR ในพื้นที่ ตำบลหนองหลุม อำเภอวชิรบารมี ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงงานในช่วงเดือ

อ่านต่อ...
พิจิตรฝนตกต่อเนื่องน้ำเหนือไหลบ่าทำพื้นที่ลุ่มต่ำน้ำท่วม12อำเภอ46ตำบล (28 ก.ย. 2564) คุณพระช่วย!พระครูยังวัดสามง่ามยกสำนักปฏิบัติธรรมสถานที่สุดหรูให้เป็นโรงพยาบาลสนาม (9 ส.ค. 2564) ปปท.เขต6ติดอาวุธทางปัญญาสร้างเครือข่ายให้ความรู้ชาวเมืองชาละวันปราบโกงยุคโควิด (6 ส.ค. 2564) Happy Birthday นราพัฒน์ แก้วทอง มอบของขวัญวันเกิดให้ตัวเองด้วยการให้ (2 ส.ค. 2564) ด้วยความห่วงใย !ไพฑูรย์-นราพัฒน์ แก้วทองและกลุ่มเพื่อน วธอ.4 New Tokyo มอบเตียงสร้าง รพ.สนาม วชิรบารมี (30 ก.ค. 2564) แทนคุณแผ่นดินบ้านเกิด ไพฑูรย์ -นราพัฒน์ แก้วทอง ตระเวนมอบเงินช่วย รพ.สนาม ในพิจิตร (26 ก.ค. 2564) ชลประทานพิจิตรเตรียมสูบน้ำจากแม่น้ำยมส่งเข้าคลองบ้านไร่หลวงพ่อขวัญสามง่ามเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศ (22 ก.ค. 2564) พิจิตรเหตุฝนทิ้งช่วงนาข้าวหอมมะลิอำเภอทับคล้อนับหมื่นไร่จ่อแห้งตาย (11 มิ.ย. 2564) ชาวนาพิจิตรเปิดศึกแย่งน้ำชลประทานจับมือฝ่ายปกครองตั้งโต๊ะเจรจาจัดรอบเวรสลับกันสูบน้ำ (10 มิ.ย. 2564) พิจิตรนาข้าว 5 ตำบล 2 หมื่นไร่ วิกฤต ฝนทิ้งช่วงชลประทานจับมือ อบจ.เปิดทางส่งน้ำเร่งช่วย (3 มิ.ย. 2564)