พิจิตรเกษตรกรผู้ทำสวนยางพาราเผยเรื่องเศร้าใช้เวลา13ปีปลูก5ไร่มีรายได้ไม่ถึงหมื่นตัดสินใจโค่นต้นยางทิ้งฝืนทำต่อไปอดตายแน่

25 มิ.ย. 2561 นายกิตติชาติ ชาติยานนท์ เกษตรจังหวัดพิจิตร ลงพื้นที่เพื่อติดตามความก้าวหน้าโครงการพัฒนาอาชีพสวนยางรายย่อยเพื่อความยั่งยืน โดยได้ไปพบกับ นาย ยลวัตร และนางประไพร นามโฮง สองสามีภรรยา ซึ่งเป็นเกษตรกรอยู่บ้านเลขที่ 409 หมู่ที่ 8 ตำบลแหลมรัง อำเภอบึงนาราง จังหวัดพิจิตร ที่ปลูกยางพาราในพื้นที่ 5 ไร่ ปลูกมาเป็นระยะเวลา 13 ปี โดยเกษตรกรรายนี้เล่าว่าช่วงก่อนหน้านั้นเห็นราคายางพารามีราคาสูงประกอบกับในช่วงนั้นมีการส่งเสริมให้ปลูกยางพารา 1 ล้านไร่ ใครเข้าโครงการก็จะได้รับการสนับสนุนและได้รับต้นกล้ายางฟรี!! ซึ่งตนเองและเพื่อนบ้านอีกหลายคนมองเห็นว่าจะมีอนาคตแจ่มใสจึงตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ ซึ่งเมื่อปลูกพางพาราได้ประมาณ 7 ปี ก็ลงมือกรีดยาง ปรากฏว่าราคายางพาราไม่เป็นเหมือนดั่งฝัน รายรับไม่พอรายจ่าย ไม่พอค่าคนงานกรีดยางด้วยซ้ำ ยืนยันว่าปลูกยาง 5 ไร่ ตลอดระยะเวลา 13 ปีที่ผ่านมา มีรายรับหรือมีรายได้จากสวนยางพาราแปลงนี้ไม่ถึง 1 หมื่นบาท หรือจะพูดได้ว่าขาดทุนย่อยยับก็คงไม่ผิดแปลกอะไร? ดังนั้นในปีนี้รัฐบาลมีโครงการว่า ต้องการลดพื้นที่การปลูกยางพาราใครที่เข้าโครงการโค่นต้นยางพาราทิ้งจะได้รับเงินสนับสนุนการปรับเปลี่ยนอาชีพไร่ละ 1 หมื่นบาท แต่ไม่เกิน 10 ไร่ ในส่วนของนายกิตติชาติ ชาติยานนท์ เกษตรจังหวัดพิจิตร กล่าวเพิ่มเติมว่า จังหวัดพิจิตรมีพื้นที่ปลูกยางพารา ทั้งหมด 4,579 ไร่ เป็นเกษตรกร 208 ราย แต่มีขึ้นทะเบียนกับทางราชการแค่เพียง 1,801 ไร่ เป็นเกษตรกร 132 ราย อีกทั้ง มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการพัฒนาอาชีพสวนยางรายย่อยเพื่อความยั่งยืนด้วยการจะโค่นต้นยางทิ้งแล้วปลูกพืชอย่างอื่นจำนวน 14 ราย จำนวน 119 ไร่ ซึ่งถ้าเกษตรกรเข้าร่วมโครงการก็จะได้รับเงินทุนอุดหนุน ไร่ละ 10,000 บาท แต่ไม่เกินรายละ 10 ไร่ โดย ต้นยางต้องมีอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป แต่ต่ำกว่า 25 ปี มีจำนวนต้นยางเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 25 ต้นต่อไร่ เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการโค่นต้นยางจะได้รับเงินสนับสนุนไร่ละ 1 หมื่นบาท แต่แบ่งการจ่ายเงินออกเป็น 2 งวดดังนี้ คือ งวดที่ 1 ไร่ละ 4,000 บาท หลังจากเกษตรกรโค่นต้นยางและจัดทำแผนพัฒนาอาชีพการเกษตรรายคนแล้วเสร็จ ทั้งนี้ การโค่นต้นยางมีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการโค่นเป็นผืน หรือโค่นบางส่วน เช่น โค่นแถวเว้นแถวแล้วปลูกพืชชนิดอื่นในแถวยางที่โค่นร่วมกับต้นยางที่เหลือ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มโอกาสให้แก่เกษตรกรชาวสวนยางในการเข้าร่วมโครงการนี้ จ่ายงวดที่ 2 ไร่ละ 6,000 บาท เมื่อเกษตรกรเข้ารับการอบรมตามแผนพัฒนาอาชีพและดำเนินการตามแผนพัฒนาอาชีพแล้วเสร็จ แล้วลงมือปลูกพืชทดแทน เช่นการปลูกพืชผักสวนครัว ปลูกไม้ดอกไม้ประดับ ปลูกไม้ผลไม้ยืนต้น และการทำการประมงปศุสัตว์เป็นต้น

ข่าวทั่วไป

  • nppct
  • 6 เม.ย. 2567
  • 118

โรงไฟฟ้าซุปเปอร์เอิร์ธเอนเนอร์ยี6ใส่ใจสิ่งแวดล้อมเป็นมิตรกับชุมชน

โรงไฟฟ้า ซุปเปอร์เอิร์ธ เอนเนอร์ยี 6 ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือตอนล่างจังหวัดพิจิตร ได้เปิดเผยถึงการทำกิจกรรม CSR ในพื้นที่ ตำบลหนองหลุม อำเภอวชิรบารมี ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงงานในช่วงเดือ

อ่านต่อ...
ชลประทานกับชาวนาพิจิตรตั้งวงถกแก้วิกฤตแบ่งปันบริหารจัดการน้ำทั่วถึงเป็นธรรม (1 ส.ค. 2563) ชาวนาพิจิตรเร่งสูบน้ำทำนาไปทางไหนก็ได้ยินเสียงเครื่องสูบน้ำดังสนั่นลั่นทุ่ง (24 ก.ค. 2563) บิ๊กป้อมลงพื้นที่สั่งเร่งแก้ปัญหาบึงสีไฟและแม่น้ำพิจิตรหวังใช้ประโยชน์กักเก็บน้ำฤดูน้ำหลากปีนี้ (15 ก.ค. 2563) แม่น้ำยมแห้งขอดกลายเป็นสนามฟุตบอลเกษตรจังหวัดพิจิตรชี้นาข้าวกว่า1ล้านไร่ไม่มีน้ำทำนา (13 ก.ค. 2563) ชาวบ้านหัวดงเมืองชาละวันยกพวกแห่แจ้งความแน่นโรงพักทองคำราคาโปรโมชั่นสุดท้ายถูกหลอก (12 ก.ค. 2563) ผู้ว่าฯพิจิตรรับมอบปุ๋ย25ตันจากบริษัทยาราแจกชาวสวนมะม่วงปิ๊งไอเดียทำเกษตรเพื่อการท่องเที่ยว (28 มิ.ย. 2563) สส.พิจิตรลงพื้นที่ติดตามงบประมาณการขุดบ่อน้ำขนาดเล็ก1,260ลบ.ม.ในไร่นาเพื่อกักเก็บน้ำแก้ปัญหาภัยแล้ง (22 มิ.ย. 2563) พิจิตรกองทัพบกส่งทหารช่างพร้อมเครื่องจักรกลเร่งขุดลอกแหล่งน้ำ11แห่งแก้ปัญหาภัยแล้ง (15 มิ.ย. 2563) เจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราชฯ โปรดประทานถุงยังชีพช่วยเหลือชาวอำเภอดงเจริญพิจิตรบรรเทาทุกข์โควิด19 (14 มิ.ย. 2563) ภัยแล้งเป็นเหตุชาวนาพิจิตรกว่า200คนคัดค้านก่อสร้างประตูน้ำบึงสามัคคีกำแพงเพชรอ้างลำคลองต้องใช้น้ำร่วมกัน (6 มิ.ย. 2563)