กอ.รมน.พิจิตรหนุนโรงเรียนปลูกผักเลี้ยงปลาเป็นอาหารกลางวันให้นักเรียนได้กินอิ่มท้อง

วันที่ 16 ก.พ. 2564 นายรังสรรค์ ตันเจริญ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร ในฐานะ ผอ.กอ.รมน.พิจิตร อำนวยการให้ พ.อ.ศักดิ์สิทธิ์ นิลจันทร์ รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน จ.พิจิตร ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าของโครงการส่งเสริมความมั่นคงด้านอาหารที่ กอ.รมน.พิจิตรได้ดำเนินการสนับสนุนปัจจัยการผลิตให้กับโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ห่างไกลความเจริญ แต่มีความเข้มแข็งมุ่งมั่นที่จะทำโครงการเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อนำผลผลิตที่ได้มาทำเป็นอาหารกลางวันเลี้ยงเด็กนักเรียนและครูภายในโรงเรียนให้ได้กินอิ่มท้อง...โดยได้ลงพื้นที่ไปดูที่ โรงเรียนบ้านเนินพลวงวิทยา ซึ่งมี นายสาธิต สัญชัยชาติ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน และ ไปที่โรงเรียนบึงเฒ่าวิทยา ซึ่งมี สิบโทเกียรติศักดิ์ จันทร์ดี เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน รวมถึงได้ไปที่ โรงเรียนบึงบัวพิทยาคม โดยมี นายวิเชียร ศิริจันทร์ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน ซึ่งทั้ง 3 โรงเรียนนี้ จัดได้ว่าเป็นโรงเรียนระดับแกนนำที่ทำโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันเพื่อเด็กนักเรียนได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งมีทั้งการปลูกพืชและการเลี้ยงสัตว์ให้ความรู้ สร้างรายได้ ให้กับเด็กนักเรียนให้ได้ทำจริง ปฏิบัติจริง

จากนั้นได้ติดตามดูการเลี้ยงอาหารกลางวันของโรงเรียนบึงบัวพิทยาคม ที่มี นายวิเชียร ศิริจันทร์ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน ร.ร.แห่งนี้มีครู-นักการภารโรง-พนักงานอัตราจ้าง รวม 23 คน นักเรียนอนุบาล 49 คน นักเรียนประถม 194 คน นักเรียนมัธยม 84 คน รวมทั้งสิ้น 350 คน แต่ได้รับงบสนับสนุนการทำอาหารกลางวันจากรัฐบาลหัวละ 20 บาท เฉพาะแค่เพียง นักเรียนอนุบาล 49 คน นักเรียนประถม 194 คน รวม 243 คน ส่วนที่เหลืออีก 156 คน นั้น ไม่มีงบค่าอาหารกลางวันแต่ที่โรงเรียนแห่งนี้ สามารถทำอาหารกลางวันให้ได้กินอิ่มท้องครบทั้ง 350 คน

โดย นายวิเชียร ศิริจันทร์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบึงบัวพิทยาคม เล่าให้ฟังว่า ที่ทำได้ก็เพราะ ครู-นักเรียน ได้รับการสนับสนุนปัจจัยการผลิตมาจาก กอ.รมน.พิจิตร ให้ทำโรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่ – โรงเรือนเพาะเห็ด-โรงเรือนปลูกผักกลางมุ้ง และปัจจัยอื่นๆอีกหลายรายการ เพื่อการผลิตอาหารตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ทำเอง ปลูกเอง กินเอง มีมากเหลือกินก็นำไปขายเป็นรายได้และเป็นทุนในการซื้อกับข้าวมาทำเป็นอาหารกลางวันให้ทุกคนได้กินอิ่มท้อง นอกจากนี้คนในชุมชน ซึ่งส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรเมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ก็จะนำข้าวเปลือกมาให้ นำข้าวสารมาให้ โรงเรียนเพื่อนำไปหุงเป็นอาหารกลางวันให้กับเด็กนักเรียนและทุกคนในโรงเรียนได้กินอย่างอิ่มหมีพีมัน ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันว่า ทุกคนที่นี่มีอาหารกลางวันได้กินอิ่มท้อง ทำให้มีสมอง มีพลังในการศึกษาเล่าเรียน รวมถึงการเดินตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงทำให้เด็กๆ ได้ความรู้ ได้ประสบการณ์ในการพึ่งพาตนเองอีกด้วย

อื่นๆ

  • nppct
  • 19 ก.ย. 2567
  • 310

กรมชลประทานมั่นใจ ปตร.ท่าแห มีความพร้อมบริหารจัดการน้ำเพื่อช่วยแก้ปัญหาภัยแล้ง-น้ำท่วมให้กับเกษตรกรลุ่มน้ำยม

วันที่ 18 กันยายน 2567 ความคืบหน้าการก่อสร้างประตูระบายน้ำท่าแห ของสำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 3 กองพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลาง กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ ต.กำแพงดิน อ.สามง่าม จ.พิจิตร

อ่านต่อ...
พิจิตรชลประทานพิจิตรส่งสัญญาณเตือนเกษตรกรลุ่มน้ำยมฤดูแล้งนี้ส่อเค้าวิกฤตแน่ (2 ธ.ค. 2564) ธ.ก.ส.พิจิตรโอนเงินชดเชยส่วนต่างราคาข้าว 897 ล้าน ถึงมือชาวนาเมืองชาละวันแล้ว (10 พ.ย. 2564) สสจ.พิจิตรตลุยฉีดวัคซีนปรับแผนรองรับกิจกรรมสนองนโยบายรัฐบาลเปิดประเทศ (19 ต.ค. 2564) ผู้ว่าฯ ควงคู่ นายก อบจ.พิจิตรแจงนโยบายชูการท่องเที่ยวตามคำขวัญเมือง (18 ต.ค. 2564) เหมืองทองอัคราฉีดวัคซีนให้กับพนักงานและครอบครัวเป็นนัยยะลุ้นข่าวดี (15 ต.ค. 2564) เจ้าเมืองชาละวันคนใหม่ประชุมแจงนโยบายหนุน อบจ.พิจิตร พัฒนาบึงสีไฟ เป็นแหล่งท่องเที่ยว (4 ต.ค. 2564) ชาวพิจิตรปลื้มร่วมต้อนรับ นายไพบูลย์ ณะบุตรจอม ผู้ว่าฯคนใหม่ลำดับที่58ของเมืองชาละวัน (1 ต.ค. 2564) นราพัฒน์ ผช.รมต.เกษตรฯหนุนชาวพิจิตรเร่งปลูกฟ้าทะลายโจรทำยารักษาโควิด (20 ส.ค. 2564) คิดถึง ห่วงใยบ้านเกิด!ไพฑูรย์-นราพัฒน์ แก้วทอง มอบสิ่งของสนับสนุนLQตำบลหนองปลาไหล (11 ส.ค. 2564) นายอำเภอวชิรบารมีเร่งช่วยแล้ว อสม.เข้าเวร รพ.สนามร้องทุกข์ขอน้ำขอข้าว (8 ส.ค. 2564)