กอ.รมน.พิจิตรหนุนโรงเรียนปลูกผักเลี้ยงปลาเป็นอาหารกลางวันให้นักเรียนได้กินอิ่มท้อง

วันที่ 16 ก.พ. 2564 นายรังสรรค์ ตันเจริญ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร ในฐานะ ผอ.กอ.รมน.พิจิตร อำนวยการให้ พ.อ.ศักดิ์สิทธิ์ นิลจันทร์ รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน จ.พิจิตร ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าของโครงการส่งเสริมความมั่นคงด้านอาหารที่ กอ.รมน.พิจิตรได้ดำเนินการสนับสนุนปัจจัยการผลิตให้กับโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ห่างไกลความเจริญ แต่มีความเข้มแข็งมุ่งมั่นที่จะทำโครงการเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อนำผลผลิตที่ได้มาทำเป็นอาหารกลางวันเลี้ยงเด็กนักเรียนและครูภายในโรงเรียนให้ได้กินอิ่มท้อง...โดยได้ลงพื้นที่ไปดูที่ โรงเรียนบ้านเนินพลวงวิทยา ซึ่งมี นายสาธิต สัญชัยชาติ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน และ ไปที่โรงเรียนบึงเฒ่าวิทยา ซึ่งมี สิบโทเกียรติศักดิ์ จันทร์ดี เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน รวมถึงได้ไปที่ โรงเรียนบึงบัวพิทยาคม โดยมี นายวิเชียร ศิริจันทร์ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน ซึ่งทั้ง 3 โรงเรียนนี้ จัดได้ว่าเป็นโรงเรียนระดับแกนนำที่ทำโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันเพื่อเด็กนักเรียนได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งมีทั้งการปลูกพืชและการเลี้ยงสัตว์ให้ความรู้ สร้างรายได้ ให้กับเด็กนักเรียนให้ได้ทำจริง ปฏิบัติจริง

จากนั้นได้ติดตามดูการเลี้ยงอาหารกลางวันของโรงเรียนบึงบัวพิทยาคม ที่มี นายวิเชียร ศิริจันทร์ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน ร.ร.แห่งนี้มีครู-นักการภารโรง-พนักงานอัตราจ้าง รวม 23 คน นักเรียนอนุบาล 49 คน นักเรียนประถม 194 คน นักเรียนมัธยม 84 คน รวมทั้งสิ้น 350 คน แต่ได้รับงบสนับสนุนการทำอาหารกลางวันจากรัฐบาลหัวละ 20 บาท เฉพาะแค่เพียง นักเรียนอนุบาล 49 คน นักเรียนประถม 194 คน รวม 243 คน ส่วนที่เหลืออีก 156 คน นั้น ไม่มีงบค่าอาหารกลางวันแต่ที่โรงเรียนแห่งนี้ สามารถทำอาหารกลางวันให้ได้กินอิ่มท้องครบทั้ง 350 คน

โดย นายวิเชียร ศิริจันทร์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบึงบัวพิทยาคม เล่าให้ฟังว่า ที่ทำได้ก็เพราะ ครู-นักเรียน ได้รับการสนับสนุนปัจจัยการผลิตมาจาก กอ.รมน.พิจิตร ให้ทำโรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่ – โรงเรือนเพาะเห็ด-โรงเรือนปลูกผักกลางมุ้ง และปัจจัยอื่นๆอีกหลายรายการ เพื่อการผลิตอาหารตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ทำเอง ปลูกเอง กินเอง มีมากเหลือกินก็นำไปขายเป็นรายได้และเป็นทุนในการซื้อกับข้าวมาทำเป็นอาหารกลางวันให้ทุกคนได้กินอิ่มท้อง นอกจากนี้คนในชุมชน ซึ่งส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรเมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ก็จะนำข้าวเปลือกมาให้ นำข้าวสารมาให้ โรงเรียนเพื่อนำไปหุงเป็นอาหารกลางวันให้กับเด็กนักเรียนและทุกคนในโรงเรียนได้กินอย่างอิ่มหมีพีมัน ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันว่า ทุกคนที่นี่มีอาหารกลางวันได้กินอิ่มท้อง ทำให้มีสมอง มีพลังในการศึกษาเล่าเรียน รวมถึงการเดินตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงทำให้เด็กๆ ได้ความรู้ ได้ประสบการณ์ในการพึ่งพาตนเองอีกด้วย

อื่นๆ

  • nppct
  • 15 ต.ค. 2566
  • 128

วินัย ส.ส.พิจิตรเขต2นำทีมแจกถุงยังชีพผู้ประสบภัย10อำเภอ3,084ชุด

วันเสาร์ที่ 14 ตุลาคม 2566 นายวินัย ภัทรประสิทธิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพิจิตร เขต 2 นายสิงหราช วงษ์เสงี่ยม รองผู้ว่าฯ พิจิตร รักษาราชการแทน ผู้ว่าฯ พิจิตร และ ปภ.พิจิตร , ส่วนราชการ ได้ร่วมกันนำถุงยังช

อ่านต่อ...
อบจ.พิจิตรร่วมกับ กรรมาธิการแก้จน ทำแผนแก้ภัยแล้งป้องกันน้ำท่วมแนะทำ2วิธีง่ายๆแต่ลงทุนน้อย (27 มี.ค. 2564) ผู้ว่าฯ-นายก อบจ.พิจิตร ยืนยันใส่ใจดูแลผู้พิการ 35,220 คน อย่างทั่วถึงเป็นธรรมอำนวยความสะดวกลงทะเบียนเราชนะ2,538ราย (5 มี.ค. 2564) ชาวนาพิจิตรหันปลูกพริกเหลืองอินโดเป็นอาชีพเสริมมั่นใจปลูกแล้วขายได้ราคาประกัน กก.ละ40 บาท (4 มี.ค. 2564) ป.ป.ท.เขต 6 คัดเลือกภาคประชาชนติดอาวุธทางปัญญาให้เป็นผู้ช่วยรณรงค์ปราบโกง (24 ก.พ. 2564) ผู้ว่าฯพิจิตรใช้หลักบริหาร“เราชนะกลุ่มไม่มีสมาร์ทโฟน”ลงพื้นที่และให้บริการถึงบ้านทำให้ธนาคารไม่แออัด (23 ก.พ. 2564) พิจิตรชาวบ้านแฮปปี้ร้านค้าปลื้มเงิน“เราชนะ”ถึงมือผู้บริโภคสู่ร้านค้าส่งผลเศรษฐกิจหมุนเวียนเกิดSpring Money (22 ก.พ. 2564) กอ.รมน.พิจิตรหนุนโรงเรียนปลูกผักเลี้ยงปลาเป็นอาหารกลางวันให้นักเรียนได้กินอิ่มท้อง (16 ก.พ. 2564) พิจิตรฉายหนังกลางแปลงให้ผีดูความบันเทิงเแบบขนพองสยองเกล้า (12 ก.พ. 2564) ผู้ว่าฯพิจิตรจ่อเชือดกำนัน-ผู้ใหญ่บ้านปล่อยให้มีบ่อนเล่นการพนันเหตุ7วันจับ2แห่ง (3 ก.พ. 2564) อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงานจัด20หลักสูตรด้วยระบบออนไลน์เพิ่มทักษะเสริมอาชีพสู้โควิด (30 ม.ค. 2564)