กอ.รมน.พิจิตรหนุนโรงเรียนปลูกผักเลี้ยงปลาเป็นอาหารกลางวันให้นักเรียนได้กินอิ่มท้อง

วันที่ 16 ก.พ. 2564 นายรังสรรค์ ตันเจริญ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร ในฐานะ ผอ.กอ.รมน.พิจิตร อำนวยการให้ พ.อ.ศักดิ์สิทธิ์ นิลจันทร์ รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน จ.พิจิตร ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าของโครงการส่งเสริมความมั่นคงด้านอาหารที่ กอ.รมน.พิจิตรได้ดำเนินการสนับสนุนปัจจัยการผลิตให้กับโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ห่างไกลความเจริญ แต่มีความเข้มแข็งมุ่งมั่นที่จะทำโครงการเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อนำผลผลิตที่ได้มาทำเป็นอาหารกลางวันเลี้ยงเด็กนักเรียนและครูภายในโรงเรียนให้ได้กินอิ่มท้อง...โดยได้ลงพื้นที่ไปดูที่ โรงเรียนบ้านเนินพลวงวิทยา ซึ่งมี นายสาธิต สัญชัยชาติ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน และ ไปที่โรงเรียนบึงเฒ่าวิทยา ซึ่งมี สิบโทเกียรติศักดิ์ จันทร์ดี เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน รวมถึงได้ไปที่ โรงเรียนบึงบัวพิทยาคม โดยมี นายวิเชียร ศิริจันทร์ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน ซึ่งทั้ง 3 โรงเรียนนี้ จัดได้ว่าเป็นโรงเรียนระดับแกนนำที่ทำโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันเพื่อเด็กนักเรียนได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งมีทั้งการปลูกพืชและการเลี้ยงสัตว์ให้ความรู้ สร้างรายได้ ให้กับเด็กนักเรียนให้ได้ทำจริง ปฏิบัติจริง

จากนั้นได้ติดตามดูการเลี้ยงอาหารกลางวันของโรงเรียนบึงบัวพิทยาคม ที่มี นายวิเชียร ศิริจันทร์ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน ร.ร.แห่งนี้มีครู-นักการภารโรง-พนักงานอัตราจ้าง รวม 23 คน นักเรียนอนุบาล 49 คน นักเรียนประถม 194 คน นักเรียนมัธยม 84 คน รวมทั้งสิ้น 350 คน แต่ได้รับงบสนับสนุนการทำอาหารกลางวันจากรัฐบาลหัวละ 20 บาท เฉพาะแค่เพียง นักเรียนอนุบาล 49 คน นักเรียนประถม 194 คน รวม 243 คน ส่วนที่เหลืออีก 156 คน นั้น ไม่มีงบค่าอาหารกลางวันแต่ที่โรงเรียนแห่งนี้ สามารถทำอาหารกลางวันให้ได้กินอิ่มท้องครบทั้ง 350 คน

โดย นายวิเชียร ศิริจันทร์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบึงบัวพิทยาคม เล่าให้ฟังว่า ที่ทำได้ก็เพราะ ครู-นักเรียน ได้รับการสนับสนุนปัจจัยการผลิตมาจาก กอ.รมน.พิจิตร ให้ทำโรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่ – โรงเรือนเพาะเห็ด-โรงเรือนปลูกผักกลางมุ้ง และปัจจัยอื่นๆอีกหลายรายการ เพื่อการผลิตอาหารตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ทำเอง ปลูกเอง กินเอง มีมากเหลือกินก็นำไปขายเป็นรายได้และเป็นทุนในการซื้อกับข้าวมาทำเป็นอาหารกลางวันให้ทุกคนได้กินอิ่มท้อง นอกจากนี้คนในชุมชน ซึ่งส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรเมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ก็จะนำข้าวเปลือกมาให้ นำข้าวสารมาให้ โรงเรียนเพื่อนำไปหุงเป็นอาหารกลางวันให้กับเด็กนักเรียนและทุกคนในโรงเรียนได้กินอย่างอิ่มหมีพีมัน ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันว่า ทุกคนที่นี่มีอาหารกลางวันได้กินอิ่มท้อง ทำให้มีสมอง มีพลังในการศึกษาเล่าเรียน รวมถึงการเดินตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงทำให้เด็กๆ ได้ความรู้ ได้ประสบการณ์ในการพึ่งพาตนเองอีกด้วย

อื่นๆ

  • nppct
  • 12 เม.ย. 2568
  • 513

รองผู้ว่าฯพิจิตร นำทีมกอ.รมน.-ปกครอง-ตำรวจรื้อทุบแหล่งเสื่อมโทรมเกี่ยวข้องยาเสพติดภายในสนามกีฬาด้านหลังสถานศึกษา

วันที่ 11 เมษายน 2568 นางสาวธนียา นัยพินิจ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร มอบให้ นายกิตติพล เวชกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร, พ.อ.สัมฤทธิ์ ฉัตรวัฒนาสกุล รอง ผอ.รมน.จังหวัดพิจิตร , นายรณรงค์ สิทธิเขตกรณ์

อ่านต่อ...
ผู้ว่าฯพิจิตร-ไพฑูรย์ อดีต รมต.แรงงาน วางศิลาฤกษ์ก่อสร้างเจดีย์บูรพาจารย์ (2 ต.ค. 2563) พิจิตรภัยแล้งกรมฝนหลวงยืนยันขึ้นบินโปรยสารเคมีทำฝนหลวงให้อย่างต่อเนื่องแต่ก็มีปัญหา (12 ก.ย. 2563) ชาวนาพิจิตรโดนภัยแล้งเล่นงานรวมตัวกว่า200คนเปิดเจรจาขอแบ่งปันน้ำกับชาวไร่อ้อยกำแพงเพชร (7 ก.ย. 2563) สส.สุรชาติ พปชร.พิจิตร เร่งช่วยชาวนาวังสำโรงบางมูลนากต้องสูบน้ำ20กม.ช่วยนาข้าว (5 ก.ย. 2563) พิจิตรกลุ่มแม่บ้านหนองพงรวมตัวทอผ้าไหมผ้าทอผ้าไทยสร้างรายได้เป็นอัตลักษณ์ชุมชน (4 ก.ย. 2563) พิจิตรกว่าจะได้เป็นช่างแอร์ในดวงใจต้องผ่านการทดสอบจากพัฒนาฝีมือแรงงาน (29 ส.ค. 2563) พิจิตรพาณิชย์ส่งเสริมพัฒนาคุณภาพส้มโอโกอินเตอร์ส่งขายจีนชาวสวนปลื้ม (28 ส.ค. 2563) ทรัพยากรน้ำภาค9เปิดประตูส่งน้ำจากแม่น้ำน่านเข้าสู่แม่น้ำพิจิตรเพื่อให้เป็นแก้มลิง (24 ส.ค. 2563) ป.ป.ช.พิจิตรลงพื้นที่เร่งงานก่อสร้างงบ197ล้านบาทเศษงานล่าช้าทำชาวบางมูลนากเดือดร้อน (21 ส.ค. 2563) เจ้าคณะจังหวัดพิจิตรนำสิ่งของและเงินบริจาคช่วยชาวบ้านที่ถูกไฟไหม้บ้าน (20 ส.ค. 2563)