พิจิตรฝนทิ้งช่วงนาข้าวนับหมื่นไร่จ่อเข้าขั้นวิกฤตชาวนาวิงวอนชลประทานช่วยด่วน

วันที่ 8 มิ.ย. 2564 นายสุบิน ศรีบุศกร รองนายกอบจ.พิจิตร ได้รับมอบจาก พ.ต.อ. กฤษฎา ภัทรประสิทธิ์ นายก อบจ.พิจิตร ให้ลงพื้นที่เนื่องจากมีชาวนาในเขต ต.ดงป่าคำ อ.เมืองพิจิตร และในเขต ต.วังหว้า อ.ตะพานหิน ซึ่งเป็นเกษตรกรและนาข้าวในเขตส่งน้ำชลประทานที่รับน้ำจากคลอง C78 รวมนาข้าวนับหมื่นไร่ร้องทุกข์ว่า จากสถานการณ์ฝนทิ้งช่วงทำให้นาข้าวขาดน้ำส่อเค้าว่าจะได้รับความเสียหาย จึงลงพื้นที่และได้พบกับ นางเหลา บุญประเสริฐ อายุ 72 ปี เป็นชาวนาอยู่บ้านเลขที่ 78/3 หมู่ 3 ต.ดงกลาง อ.เมืองพิจิตร จ.พิจิตร เล่าว่า นาข้าวของตนจำนวนหลายสิบไร่ ขณะนี้กำลังประสบปัญหาภัยแล้ง เหตุจากฝนทิ้งช่วงนาข้าวส่อเค้าว่าจะแห้งตาย ตนจึงต้องไปกู้เงินมา 5 หมื่นบาท เพื่อเตรียมที่จะเจาะบ่อน้ำบาดาลเนื่องจากน้ำในคลองชลประทานที่เคยส่งมาให้ปีนี้เจ้าหน้าที่บอกว่าน้ำมีน้อยจึงไม่สามารถส่งน้ำมาช่วยชาวนาได้ ดังนั้นชาวนาจึงต้องพึ่งตนเอง

จากนั้น นายสุบิน ศรีบุศกร รองนายกอบจ.พิจิตร ได้ไปพบกับ นางสาวนงลักษณ์ วิบูลย์ญาณ รอง ปธ.อบจ.พิจิตร ซึ่งเป็น สจ.ในพื้นที่ ต.ดงป่าคำ ที่กำลังประชุมร่วมกับกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน และชาวนากลุ่มผู้ใช้น้ำจำนวนกว่าร้อยคน ซึ่งประชุมกันที่ ศาลาประชาคม หมู่ 8ตำบลดงป่าคำ อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตรโดยมี นายภะกิต ไม้ตะเภา หัวหน้าฝ่ายส่งน้ำที่ 1 ท่าบัว ดูแลน้ำและคลองชลประทานตอนบนในเขต อ.เมือง อ.โพธิ์ประทับช้าง อ.ตะพานหิน , นายจิรโรจน์ สมบัติใหม่ หัวหน้าฝ่ายส่งน้ำที่ 2 ท่าบัว ดูแลน้ำและคลองชลประทานตอนกลาง อ.ตะพานหิน อ.โพทะเล อ.บางมูลนาก , นายวิทยา วังวิเศษ หัวหน้าฝ่ายส่งน้ำที่ 3 ท่าบัว ดูแลน้ำและคลองตอนล่าง อ.โพทะเล อ.บางมูลนาก จ.พิจิตร และ อ.ชุมแสง จ.นคนสวรรค์ มาร่วมชี้แจงถึงสถานการณ์น้ำและนโยบายส่งน้ำ

สรุปได้ว่าจังหวัดพิจิตรรับน้ำมาจากโครงการส่งน้ำเขื่อนนเรศวรในปริมาตรน้ำ 15 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จากนั้นก็กระจายน้ำไปยังโครงการส่งน้ำพลายชุมพล 5 ลูกบาศก์เมตร โครงการส่งน้ำดงเศรษฐี 5 ลูกบาศก์เมตร โครงการส่งน้ำท่าบัว 5 ลูกบาศก์เมตร ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ทั้ง 3 โครงการ พื้นที่ประมาณ 5 แสนไร่ แต่เนื่องจากมวลน้ำมีอยู่แค่ก้อนเดียว เจ้าหน้าที่ชลประทานต้องใช้หลักการบริหารจัดการดูแลนาข้าวในพื้นที่รับน้ำเฉพาะโซนนี้คือคลอง C 1 C40 C78 จำนวนนับแสนไร่ จึงทำให้เกิดการแย่งน้ำกันทำนา ซึ่งขณะนี้ก็ได้ออกหลักเกณฑ์ให้ชาวนาสลับแบ่งรอบเวรกันสูบน้ำเข้านา สลับกันเป็นรอบกลางวันและรอบกลางคืน แต่ก็มีชาวนาบางคนไม่เคารพกฏกติกา จึงทำให้การบริหารจัดการน้ำเป็นไปด้วยความยุ่งยาก ส่วนที่ชาวนาร้องขอให้กรมชลประทานเพิ่มปริมาณการจ่ายน้ำให้มากขึ้นนั้นพวกตนซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติงานก็จะได้รายงานไปยังผู้บังคับบัญชาต่อไป..นายสุบิน ศรีบุศกร รองนายกอบจ.พิจิตรกล่าวชี้แจงกับชาวนากลุ่มนี้ว่า อบจ.พิจิตร พร้อมให้การสนับสนุนในทุกภารกิจที่จะทำให้ชาวนามีน้ำทำนาแต่ขอเพียงอยู่ในข้อที่กรอบระเบียบที่กฎหมายอนุญาตเท่านั้นและจะทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการบริการจัดการน้ำให้ทั่วถึงเป็นธรรมอีกด้วย

อื่นๆ

  • nppct
  • 19 ก.ย. 2567
  • 312

กรมชลประทานมั่นใจ ปตร.ท่าแห มีความพร้อมบริหารจัดการน้ำเพื่อช่วยแก้ปัญหาภัยแล้ง-น้ำท่วมให้กับเกษตรกรลุ่มน้ำยม

วันที่ 18 กันยายน 2567 ความคืบหน้าการก่อสร้างประตูระบายน้ำท่าแห ของสำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 3 กองพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลาง กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ ต.กำแพงดิน อ.สามง่าม จ.พิจิตร

อ่านต่อ...
ชาวอำเภอวชิรบารมีชื่อนี้นามพระราชทานรวมใจแสดงพลังน้อมรำลึกวันปิยมหาราช (23 ต.ค. 2563) สุรชาติ สส.พปชร.ประสาน นราพัฒน์ ผช.รมต.เกษตรจับมือชลประทานพิจิตรลงพื้นที่ช่วยชาวบ้าน (11 ต.ค. 2563) ผู้ว่าฯพิจิตร-ไพฑูรย์ อดีต รมต.แรงงาน วางศิลาฤกษ์ก่อสร้างเจดีย์บูรพาจารย์ (2 ต.ค. 2563) พิจิตรภัยแล้งกรมฝนหลวงยืนยันขึ้นบินโปรยสารเคมีทำฝนหลวงให้อย่างต่อเนื่องแต่ก็มีปัญหา (12 ก.ย. 2563) ชาวนาพิจิตรโดนภัยแล้งเล่นงานรวมตัวกว่า200คนเปิดเจรจาขอแบ่งปันน้ำกับชาวไร่อ้อยกำแพงเพชร (7 ก.ย. 2563) สส.สุรชาติ พปชร.พิจิตร เร่งช่วยชาวนาวังสำโรงบางมูลนากต้องสูบน้ำ20กม.ช่วยนาข้าว (5 ก.ย. 2563) พิจิตรกลุ่มแม่บ้านหนองพงรวมตัวทอผ้าไหมผ้าทอผ้าไทยสร้างรายได้เป็นอัตลักษณ์ชุมชน (4 ก.ย. 2563) พิจิตรกว่าจะได้เป็นช่างแอร์ในดวงใจต้องผ่านการทดสอบจากพัฒนาฝีมือแรงงาน (29 ส.ค. 2563) พิจิตรพาณิชย์ส่งเสริมพัฒนาคุณภาพส้มโอโกอินเตอร์ส่งขายจีนชาวสวนปลื้ม (28 ส.ค. 2563) ทรัพยากรน้ำภาค9เปิดประตูส่งน้ำจากแม่น้ำน่านเข้าสู่แม่น้ำพิจิตรเพื่อให้เป็นแก้มลิง (24 ส.ค. 2563)