พิจิตรลูกสาวชาวสวนจบปริญญาตรีหันหลังให้มนุษย์เงินเดือนมุ่งหน้ากลับบ้านเกิดนำความรู้ช่วยพ่อแม่แก้วิกฤตราคาผลผลิตตกต่ำ

น.ส.ฐิติมา มาใหญ่ “ก้อย” อายุ 25 ปี อยู่บ้านเลขที่ 78/1 หมู่ 1 ต.วังทับไทร อ.สากเหล็ก จ.พิจิตร สาขาคหกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม ลูกสาวชาวสวนมะม่วงเรียนจบการศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ เล่าให้ฟังว่า หลังจากเรียนจบมาไปเป็นมนุษย์เงินเดือนอยู่ได้แค่เพียง 6 เดือน ได้เงินเดือนแค่เพียง 8,000 บาท เท่านั้น จากนั้นก็หันหลังให้กับการเป็นมนุษย์เงินเดือนแล้วหันหน้ากลับบ้านเกิดมาช่วยพ่อแม่สืบทอดอาชีพเกษตรกรรม โดยนำความรู้ที่เรียนมาใช้ในการแปรรูปมะม่วงมหาชนก เป็นมะม่วงอบแห้ง “ก้อย” เล่าเพิ่มเติมว่า...ปัจจุบันนี้มะม่วงมหาชนกราคาเหลือแค่กิโลกรัมละ 6 บาท แต่ถ้าเป็นมะม่วงแก่สุกคาต้นที่ผิวมีตำหนิ ไม่สวย จากในสวนของตนเอง ซึ่งถ้านำไปขายก็จะได้แค่ กก.ละ 1-2 บาท ดังนั้นตนเองและครอบครัว จึงตัดสินใจนำมะม่วงที่แก่สุกคาต้นและมีตำหนิดังกล่าว มาปอกเปลือกและฝานเป็นชิ้นนำไปทำเป็นมะม่วงอบแห้ง ใช้เวลาอบในตู้อบ 15 ชั่วโมง โดยมะม่วง 10 กก. จะทำเป็นมะม่วงอบแห้งได้ 1.5 กก. ขายในกิโลกรัมละ 300 บาท และนำไปบรรจุใส่ซองที่มีรูปแบบสวยงามปริมาณ 50 กรัม ขายถุงละ 35 บาท บรรจุกระป๋องสูญญากาศปริมาณ 200 กรัม ขายกระป๋องละ 95 บาท เป็นของกินของฝากที่ทำให้ผลผลิตเพิ่มมูลค่า ซึ่งขณะนี้มีผู้สนใจสั่งซื้ออยู่เป็นประจำแต่วันหนึ่งๆสามารถผลิตได้แค่ 50-100 กิโลกรัม เท่านั้น เนื่องจากขาดแคลนแรงงานรวมถึงค่าแรงงานก็มีราคาสูงจึงทำเป็นอุตสาหกรรมครอบครัวในหมู่ญาติพี่น้องแต่ก็ถือได้ว่าเป็นการแก้ปัญหาวิกฤตราคาผลผลิตมะม่วงมหาชนกที่ตกต่ำ เปลี่ยนจากวิกฤตเป็นโอกาสด้วยการเติมภูมิปัญญาและองค์ความรู้ใส่เข้าไป ก็ทำให้มีรายได้เป็นกอบเป็นกำ ในส่วนของ นายกิตติชาติ ชาติยานนท์ เกษตรจังหวัดพิจิตร ลงพื้นที่รับฟังข้อมูลจาก นายนคร บัวผัน นายกอบต.วังทับไทร อ.สากเหล็ก จ.พิจิตร ซึ่งเป็นผู้นำเกษตรกรและเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงเพื่อการส่งออก ซึ่งในพื้นที่ของตำบลวังทับไทรมีการปลูกมะม่วงในพื้นที่มากถึง 2 หมื่นไร่ ที่ประกอบไปด้วย มะปราง มะยงชิด มะม่วง นานาชนิด ซึ่งส่วนใหญ่ผลิตเพื่อการส่งออกและขายภายในประเทศแต่ปรากฏว่าขณะนี้มะม่วงมหาชนก ซึ่งเป็นมะม่วงกินสุกที่ผ่านมามีตลาดส่งออกแหล่งใหญ่ คือ ประเทศมาเลเซียและขายส่งภายในประเทศเมื่อปีที่ผ่านมาได้ราคาประมาณ 10-12 บาท ต่อกิโลกรัม แต่ปรากฏว่าช่วงนี้มีผลผลิตออกมาเป็นจำนวนมาก อีกทั้งในช่วงนี้มะม่วงมหาชนกในเขตภาคเหนือตอนบนก็ออกผลผลิตมาชนกันทำให้มีปริมาณมากจนล้นตลาดแล้ว อีกทั้งมีผลไม้ชนิดอื่นๆ เช่น ทุเรียน เงาะ มังคุด ก็ออกสู่ตลาดด้วยเช่นกัน ทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกกินผลไม้อื่นๆจนเป็นเหตุให้มะม่วงมหาชนก ราคาตกเหลือแค่กิโลกรัมละ 6 บาท ซึ่งในเขตพื้นที่ตำบลวังทับไทรมีการปลูกมะม่วงมหาชนก บนพื้นที่เกือบ 300 ไร่ เกษตรกรต้องประสบกับปัญหาสภาวะขาดทุน ล่าสุด นายกิตติชาติ ชาติยานนท์ เกษตรจังหวัดพิจิตร ได้ร่วมหารือกับเกษตรกรเพื่อหาช่องทางตลาดรวมถึงให้คำแนะนำในการแปรรูปเพื่อเป็นช่องทางในการขายในอีกรูปแบบหนึ่ง สำหรับท่านใดที่สนใจสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ดูงาน หรือ สั่งซื้อมะม่วงอบแห้ง “ฐิติมา” ติดต่อได้ที่ 092-5212301 , 081-9536237 , 081-3794311 หรือสามารถเข้าไปดูได้ที่ เฟสบุ๊ค : ฐิติมาผลไม้แช่อิ่ม

อื่นๆ

  • nppct
  • 12 เม.ย. 2568
  • 513

รองผู้ว่าฯพิจิตร นำทีมกอ.รมน.-ปกครอง-ตำรวจรื้อทุบแหล่งเสื่อมโทรมเกี่ยวข้องยาเสพติดภายในสนามกีฬาด้านหลังสถานศึกษา

วันที่ 11 เมษายน 2568 นางสาวธนียา นัยพินิจ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร มอบให้ นายกิตติพล เวชกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร, พ.อ.สัมฤทธิ์ ฉัตรวัฒนาสกุล รอง ผอ.รมน.จังหวัดพิจิตร , นายรณรงค์ สิทธิเขตกรณ์

อ่านต่อ...
ผู้ว่าฯพิจิตร-ไพฑูรย์ อดีต รมต.แรงงาน วางศิลาฤกษ์ก่อสร้างเจดีย์บูรพาจารย์ (2 ต.ค. 2563) พิจิตรภัยแล้งกรมฝนหลวงยืนยันขึ้นบินโปรยสารเคมีทำฝนหลวงให้อย่างต่อเนื่องแต่ก็มีปัญหา (12 ก.ย. 2563) ชาวนาพิจิตรโดนภัยแล้งเล่นงานรวมตัวกว่า200คนเปิดเจรจาขอแบ่งปันน้ำกับชาวไร่อ้อยกำแพงเพชร (7 ก.ย. 2563) สส.สุรชาติ พปชร.พิจิตร เร่งช่วยชาวนาวังสำโรงบางมูลนากต้องสูบน้ำ20กม.ช่วยนาข้าว (5 ก.ย. 2563) พิจิตรกลุ่มแม่บ้านหนองพงรวมตัวทอผ้าไหมผ้าทอผ้าไทยสร้างรายได้เป็นอัตลักษณ์ชุมชน (4 ก.ย. 2563) พิจิตรกว่าจะได้เป็นช่างแอร์ในดวงใจต้องผ่านการทดสอบจากพัฒนาฝีมือแรงงาน (29 ส.ค. 2563) พิจิตรพาณิชย์ส่งเสริมพัฒนาคุณภาพส้มโอโกอินเตอร์ส่งขายจีนชาวสวนปลื้ม (28 ส.ค. 2563) ทรัพยากรน้ำภาค9เปิดประตูส่งน้ำจากแม่น้ำน่านเข้าสู่แม่น้ำพิจิตรเพื่อให้เป็นแก้มลิง (24 ส.ค. 2563) ป.ป.ช.พิจิตรลงพื้นที่เร่งงานก่อสร้างงบ197ล้านบาทเศษงานล่าช้าทำชาวบางมูลนากเดือดร้อน (21 ส.ค. 2563) เจ้าคณะจังหวัดพิจิตรนำสิ่งของและเงินบริจาคช่วยชาวบ้านที่ถูกไฟไหม้บ้าน (20 ส.ค. 2563)