ป.ป.ท.เขต 6 จับมือ สตง. ป.ป.ช.พิจิตรติดอาวุธทางปัญญาให้ท้องถิ่นร่วมต้านทุจริต

วันที่ 28 เมษายน 2565 นายสัญชาติ อุปนันชัย ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐเขต 5 รักษาการแทน ผอ.สนง.ป.ป.ท.เขต 6 มอบหมายให้ นายอริยวัตถ์ เที่ยงธรรมโม นักสืบสวนสอบสวนชำนาญการพิเศษ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงาน ป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ เขต 6 เป็นประธานเปิดการอบรมโครงการปลูกจิตสำนึกเจ้าหน้าที่ของรัฐตามหลักธรรมาภิบาลภายใต้หลักสูตรเสริมสร้างธรรมาภิบาลต่อต้านการทุจริต ที่ ห้องประชุม โรงแรมมีพรสวรรค์ อ.เมือง จ.พิจิตร โดยมีผู้เข้าร่วมในกิจกรรมครั้งนี้ 160 คน ซึ่งล้วนเป็นหัวหน้าหน่วยงาน-ข้าราชการ-พนักงานเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องกับการเงินการเลิกจ่ายของหน่วยงานและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภายในจังหวัดพิจิตร โดย นางกุลิสราพ์ บุญทับ ผู้ตรวจเงินแผ่นดิน (สตภ.11) และ นายอภิชาติ ปุณยธัญพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดพิจิตร ก็ได้ร่วมกัน เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้ถึงเรื่องระเบียบวินัยการเงินการคลังและการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการเบิกจ่ายให้เป็นไปตามนโยบายและกรอบยุทธศาสตร์ของ พ.ร.บ.ยุทธศาสตร์ชาติ รวมถึงบทบาทหน้าที่ของ สตง. ว่าหลังจากนี้จะทำหน้าที่ให้คำแนะนำ เป็นที่ปรึกษาให้ทำในสิ่งที่ถูกต้องมากกว่าจ้องจับผิด ดังนั้นต่อไปนี้ “ถ้าไม่รู้ ไม่เข้าใจ ไม่แน่ใจ ก่อนลงมือทำขอให้ถาม” จะด้วยวาจาหรือเป็นลายลักษณ์อักษรก็ได้ ซึ่งจะได้รับคำตอบภายใน 30 วัน ตามที่ระเบียบกำหนดอย่างแน่นอน

ในส่วนของ นายอภิชาติ ปุณยธัญพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดพิจิตร ก็เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้ทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องรวมถึงกรณีศึกษาของผู้ที่กระทำการทุจริตแล้วต้องรับโทษรวมถึงหากว่าเป็นผู้น้อย เป็นผู้ปฏิบัติแล้วถูกเจ้านายทั้งในระบบราชการและระบบการเมืองบังคับขู่เข็ญให้ร่วมกระทำการทุจริต แนะนำว่า 1.เมื่อได้รับคำสั่งแล้วไม่เห็นด้วย หรือสิ่งที่สั่งให้ทำไม่ชอบด้วยกฎหมายให้ทำหนังสือโต้แย้ง แต่ข้อนี้อาจทำให้เจ้านายไม่พอใจก็มีวิธีข้อที่ 2.คือให้รวบรวมข้อมูลแล้วแอบไปลงบันทึกประจำวันที่โรงพักไว้เป็นหลักฐานหากเกิดอะไรขึ้นก็ให้นำบันทึกประจำวันนี้มาแสดงถึงเจตนาว่าถูกบังคับให้ร่วมกระทำผิดได้ ซึ่งเป็นทางเลือกทางรอดอีกช่องทางหนึ่ง วิธีที่ 3.หากถูกผู้บังคับบัญชาหรือเจ้านายบังคับให้กระทำในสิ่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหากโต้แย้งไปอาจถูกกลั่นแกล้งหรือเป็นอันตรายแก่ตำแหน่งหน้าที่จึงต้องจำใจยอมทำไป จนความผิดสำเร็จเด็ดขาดและเบิกเงินเป็นการทุจริตไปแล้วก็ขอให้รีบมารายงานให้ ป.ป.ช.พิจิตร หรือทุกแห่งได้รับรู้รับทราบภายใน 30 วัน ทำเพียงแค่นี้ท่านก็จะรอดจากการตกเป็นผู้ต้องหาในคดีทุจริตผิดกฎหมายดังกล่าว

และในส่วนของ ดร.ทวุฒิ หลวงแก้ว นักวิชาการยุติธรรมชำนาญการ ป.ป.ท.เขต 6 เป็นวิทยากรให้ความรู้ในเรื่องการใช้ระเบียบราคากลางในการจัดซื้อจัดจ้าง-การดูวัสดุอุปกรณ์ ว่า สิ่งใดเป็นของแท้เป็นของเทียมที่เมื่อนำมาใช้ในการก่อสร้างแล้วจะก่อให้เกิดความเสียหายกับภาครัฐอันเป็นที่มาของผู้ตรวจรับงานที่ต้องถูกตกเป็นจำเลย รวมถึงบรรยายถึงเคสต่างๆที่นำพาไปสู่คดี ม.157 อีกด้วย

อื่นๆ

  • nppct
  • 12 เม.ย. 2568
  • 513

รองผู้ว่าฯพิจิตร นำทีมกอ.รมน.-ปกครอง-ตำรวจรื้อทุบแหล่งเสื่อมโทรมเกี่ยวข้องยาเสพติดภายในสนามกีฬาด้านหลังสถานศึกษา

วันที่ 11 เมษายน 2568 นางสาวธนียา นัยพินิจ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร มอบให้ นายกิตติพล เวชกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร, พ.อ.สัมฤทธิ์ ฉัตรวัฒนาสกุล รอง ผอ.รมน.จังหวัดพิจิตร , นายรณรงค์ สิทธิเขตกรณ์

อ่านต่อ...
พิจิตรพิษโควิด19คนจนนับพันเข้าแถวขอข้าววัดกินหลวงพ่อวอนเมตตาขอ15บาทช่วยคนให้มีข้าวกิน (16 เม.ย. 2563) พิจิตรมาตรการเข้มโควิด19ส่งผลเดินทางกลับบ้านสงกรานต์เงียบเหงาเอาจริงจับกุมฝ่าฝืนเคอร์ฟิว (13 เม.ย. 2563) ผู้ว่าฯ-สสจ.พิจิตรให้กักตัว64นศ.โดยถามความสมัครใจจะอยู่ต่อที่วิทยาลัยฯหรือจะขอกลับบ้าน (6 เม.ย. 2563) ผู้ว่าฯพิจิตรสั่งปิดสถานบันเทิงต่อไปจนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้นคุมเข้มประชาชนแห่ถือบัตรฯซื้อสินค้าหนาแน่น (1 เม.ย. 2563) ผู้ว่าฯพิจิตรพร้อมเปิดโรงพยาบาลสนามรองรับกรณีมีผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด19 (1 เม.ย. 2563) พิจิตรเหมืองทองอัคราฯมอบชุดPPEที่ใช้สวมใส่ในห้องหลอมทองคำให้บุคลากรทางการแพทย์ใช้สู้โควิด19 (1 เม.ย. 2563) ของมันต้องมี!พาณิชย์และกศน.พิจิตรจัดแคมเปญมีขายมีแจกหน้ากากอนามัยถึงมือชาวบ้านแล้ว (11 มี.ค. 2563) ปชส.พิจิตรปลุกพลังสื่อสร้างสรรค์พร้อมหนุน กกต. จัดเลือกตั้งท้องถิ่น (20 ก.พ. 2563) คุณพระช่วยของจริง!คณะสงฆ์พิจิตรมอบสิ่งของและรถเข็นวีลแชร์ให้ผุ้สูงอายุผู้พิการที่ลำบากยากไร้ (7 ก.พ. 2563) พิจิตรฉลองวันตรุษจีนระทมพายุฤดูร้อนถล่ม68หลังคาเรือนเสียหายหนักเดือดร้อนทั่วหน้า (25 ม.ค. 2563)