พิจิตรเกษตรกรตัดสินใจเลิกทำนาใช้พื้นที่7ไร่ปลูกอินทผลัมใช้เวลา2ปีเศษแทบไม่น่าเชื่อมีผู้สั่งจองขอซื้อผลผลิตมั่นใจรายได้เป็นล้านชัวร์

4 กรกฎาคม 2561 นายกิตติชาติ ชาติยานนท์ เกษตรจังหวัดพิจิตร พร้อมด้วย นายสามารถ เดชบุญ หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต ลงพื้นที่เยี่ยมเกษตรกรหัวก้าวหน้าใฝ่หาความรู้ที่ตัดสินใจเลิกทำนาหันมาปลูกอินทผลัม โดยลงพื้นที่พบกับ นายชาตรี อ๊อดหมี “ตั๊ก” อายุ 58 ปี ซึ่งทำแปลงปลูกอินทผลัม อยู่ที่หมู่ 9 ตำบลสากเหล็ก อำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร บนพื้นที่ 7 ไร่ ซึ่งเคยเป็นพื้นที่ทำนาปลูกข้าว จากนั้นปรับเปลี่ยนมาปลูกอินทผลัม ทั้งหมดประมาณ 230 ต้น ปลูกระยะ 6 X 6 เมตร เป็นอินทผลัมสายพันธุ์ “บาร์ฮี” หรือ “บัรฮี” เป็นพันธุ์ที่เหมาะสำหรับการทานผลสดโดยเฉพาะ มีแหล่งกำเนิดในประเทศอิรัก ปัจจุบันมีการปลูกกันแพร่หลายในหลายประเทศ กล่าวกันว่า พันธุ์ Barhi เป็น "แอปเปิลแห่งตะวันออกกลาง" โดย นายชาตรี อ๊อดหมี “ตั๊ก” เล่าว่าได้ไปดูงานนิทรรศการที่ ม.แม่โจ้ เชียงใหม่ เกิดความสนใจจึงได้ลงทุนซื้อต้นพันธุ์อินทผลัมเพาะเนื้อเยื่อมาจำนวน 118 ต้น ๆ ละ 1,200 บาท อีก 112 ต้น เป็นพันธุ์ที่เพาะเมล็ด พันธุ์แม่โจ้ 36 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ไทย ราคาต้นละ 250 บาท พร้อมทั้งลงทุนขุดสระน้ำเอาดินมาถมพื้นที่นา 7 ไร่ ให้เป็นแปลงปลูกอินทผลัม ลงทุนครั้งแรกประมาณ 3-4 แสนบาทเศษ บริหารจัดการใช้ระบบการให้น้ำแบบปล่อยน้ำด้วยระบบท่อใส่ต้น ทุกต้น การให้ปุ๋ยพื้นที่ 7 ไร่ 2 ปี ที่ผ่านมาก็ใส่ปุ๋ยแค่ 10 กว่ากระสอบเท่านั้น เฝ้าระวังเรื่องโรคแมลงและหนูนาที่ชอบมากัดกินผลผลิต วิธีป้องกันก็จะห่อช่อของอินทผลัมด้วยผ้ารี่หรือผ้าตาข่ายพลาสติกแล้วห่อด้านนอกซ้ำด้วยกระดาษฟอยด์ ซึ่งจะห่อในช่วงที่อินทผลัมเริ่มออกช่อและผสมเกสรประมาณเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปีและต้องมีการตัดแต่งผลเพื่อให้ลูกโตได้ขนาดตามความต้องการ ขณะนี้ปลูกมาเป็นระยะเวลา 2 ปีเศษ ผลผลิตรุ่นแรกที่จะเก็บขายสร้างรายได้ก็คือในช่วงนี้ คือ ราวกลางเดือนกรกฎาคม 2561นี้ สำหรับเรื่องการตลาดขณะนี้มีผู้สนใจมาจับจองซื้อถึงหน้าสวนโดยจ่ายเงินล่วงหน้ามัดจำไว้แล้วก็มี ซึ่งก็เป็นพ่อค้าและแม่ค้าจาก จ.ปัตตานี จ.นครนายก จ.สระบุรี สำหรับราคาซื้อขายเปิดราคาอยู่ที่กิโลกรัมละ 500 บาท พื้นที่ 7 ไร่ ใช้เวลา 2 ปี ปลูกอินทผลัม 230 ต้น ต้นหนึ่งได้ผลผลิตประมาณ 20 กิโลกรัม ดังนั้นจึงคาดว่าจะได้เงินจากการขายผลผลิตอินทผลัมในรุ่นแรกนี้ไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาทเศษ อย่างแน่นอน ซึ่ง 1 ปีก็จะได้ 1 ครั้ง ดีกว่าการทำนาหลายเท่าตัว ในส่วนของ นายกิตติชาติ ชาติยานนท์ เกษตรจังหวัดพิจิตร กล่าวว่า เกษตรกรรายนี้ถือได้ว่าเป็นผู้มีแนวคิดและใฝ่รู้ศึกษาในการปรับเปลี่ยนจากการปลูกข้าวหันมาปลูกอินทผลัม ซึ่งถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่ชาวตะวันออกกลางหรือชาวมุสลิมนิยมบริโภค แต่ขอให้คำแนะนำกับเกษตรกรท่านอื่นๆ ที่สนใจหรือจะทำตามว่า ขอให้ศึกษาข้อมูลให้รอบด้าน ทั้งนี้เพื่อลดอัตราความเสี่ยง ซึ่งถ้าหากสนใจสำนักงานเกษตรจังหวัดพิจิตรก็พร้อมจะเป็นพี่เลี้ยงหรือที่ปรึกษาให้ในเรื่องการทำเกษตรที่ดีและเหมาะสม (GAP) สำหรับข้อมูลที่ควรรู้เกี่ยวกับอินทผลัม ก็คือ อินทผลัม เป็นผลไม้ที่ไม่มีครอเลสเตอรอลและไขมันต่ำ นอกจากนี้เป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ได้แก่ วิตามิน A, วิตามิน B1, วิตามิน B2, วิตามิน B6, วิตามิน K, แคลเซียม, ซัลเฟอร์, เหล็ก, โพแทสเซียม, ฟอสฟอรัส, แมงกานิส, แมกนีเซียม และน้ำมันโวลาไทล์ แถมยังอุดมไปด้วยไฟเบอร์ ซึ่งช่วยในการลดอาการท้องผูก ตามความเชื่อในคัมภีร์อัลกุรอานช่วยรักษาและบำบัดพิษต่าง ๆ ด้วยการรับประทานวันละ 7 เม็ด ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ เพราะในมีสารฟีลกูลีน ซึ่งช่วยบำรุงการหลั่งน้ำเชื้อของเพศชายได้ อุดมไปด้วย เบต้าแคโรทีน ลูติน และซีแซนทิน ซึ่งมีส่วนช่วยป้องกันมะเร็งในช่องท้อง ช่วยบำรุงร่างกาย แก้โรควิงเวียนศีรษะ แก้กระหาย ช่วยลดเสมหะภายในลำคอ หากรับประทานยามเช้าขณะท้องว่าง จะทำการฆ่าเชื้อโรค พยาธิ และสารพิษที่ตกค้างที่อยู่ในลำไส้ และระบบทางเดินอาหาร เพราะมีฤทธิ์ในการกำจัดสารพิษและช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคบางชนิดซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง และจากรายงานการวิจัยในประเทศซาอุดีอาระเบีย พบว่าสามารถช่วยทำให้กระเพาะอาหารแข็งแรง และช่วยป้องกันเยื่อบุในกระเพาะอาหาร ช่วยลดความรุนแรงของแผลในกระเพาะอาหาร นอกจากนี้สดนั้นยังมาคั้นเป็นน้ำเพื่อดื่มโดยก็มีประโยชน์ไม่แพ้ผลแห้งเลยแม้แต่น้อย สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต สำนักงานเกษตรจังหวัดพิจิตร 056-613423 ต่อ 103 และ นายชาตรี “ตั๊ก” เกษตรกรผู้ปลูกอินทผลัม โทร 081-9623524

อื่นๆ

  • nppct
  • 12 เม.ย. 2568
  • 513

รองผู้ว่าฯพิจิตร นำทีมกอ.รมน.-ปกครอง-ตำรวจรื้อทุบแหล่งเสื่อมโทรมเกี่ยวข้องยาเสพติดภายในสนามกีฬาด้านหลังสถานศึกษา

วันที่ 11 เมษายน 2568 นางสาวธนียา นัยพินิจ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร มอบให้ นายกิตติพล เวชกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร, พ.อ.สัมฤทธิ์ ฉัตรวัฒนาสกุล รอง ผอ.รมน.จังหวัดพิจิตร , นายรณรงค์ สิทธิเขตกรณ์

อ่านต่อ...
ผู้ว่าฯพิจิตร-ไพฑูรย์ อดีต รมต.แรงงาน วางศิลาฤกษ์ก่อสร้างเจดีย์บูรพาจารย์ (2 ต.ค. 2563) พิจิตรภัยแล้งกรมฝนหลวงยืนยันขึ้นบินโปรยสารเคมีทำฝนหลวงให้อย่างต่อเนื่องแต่ก็มีปัญหา (12 ก.ย. 2563) ชาวนาพิจิตรโดนภัยแล้งเล่นงานรวมตัวกว่า200คนเปิดเจรจาขอแบ่งปันน้ำกับชาวไร่อ้อยกำแพงเพชร (7 ก.ย. 2563) สส.สุรชาติ พปชร.พิจิตร เร่งช่วยชาวนาวังสำโรงบางมูลนากต้องสูบน้ำ20กม.ช่วยนาข้าว (5 ก.ย. 2563) พิจิตรกลุ่มแม่บ้านหนองพงรวมตัวทอผ้าไหมผ้าทอผ้าไทยสร้างรายได้เป็นอัตลักษณ์ชุมชน (4 ก.ย. 2563) พิจิตรกว่าจะได้เป็นช่างแอร์ในดวงใจต้องผ่านการทดสอบจากพัฒนาฝีมือแรงงาน (29 ส.ค. 2563) พิจิตรพาณิชย์ส่งเสริมพัฒนาคุณภาพส้มโอโกอินเตอร์ส่งขายจีนชาวสวนปลื้ม (28 ส.ค. 2563) ทรัพยากรน้ำภาค9เปิดประตูส่งน้ำจากแม่น้ำน่านเข้าสู่แม่น้ำพิจิตรเพื่อให้เป็นแก้มลิง (24 ส.ค. 2563) ป.ป.ช.พิจิตรลงพื้นที่เร่งงานก่อสร้างงบ197ล้านบาทเศษงานล่าช้าทำชาวบางมูลนากเดือดร้อน (21 ส.ค. 2563) เจ้าคณะจังหวัดพิจิตรนำสิ่งของและเงินบริจาคช่วยชาวบ้านที่ถูกไฟไหม้บ้าน (20 ส.ค. 2563)