พิจิตรชาวบ้านรวมกลุ่มลดพื้นที่การทำนาหันปลูกพืชผักนานาชนิดมีรายได้เข้ากระเป๋าทุกวันถึงแม้ช่วงนี้ราคาผลผลิตตกต่ำก็เป็นไปตามฤดูกาล

นายธรรมนูญ แจ่มศรี เกษตรและสหกรณ์จังหวัดพิจิตร เปิดเผยถึงนโยบายของ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่มุ่งมั่นส่งเสริมให้เกษตรกรทำการเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง มีรายได้ มีความเป็นอยู่แบบพอกินพอใช้ ดำเนินชีวิตแบบเรียบง่าย มีสุขภาพกายและสุขภาพใจที่แข็งแรง ดังนั้นการทำการเกษตรให้มีความสุขกับอาชีพที่ทำอยู่จึงนับได้ว่าเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะที่ ต.ดงกลาง อ.เมืองพิจิตร ซึ่งเป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์มีคลองข้าวตอกที่ถือเป็นเส้นเลือดใหญ่ในการสร้างความชุ่มชื้น ให้กับพื้นที่ในการใช้น้ำเพื่อทำการเกษตร ซึ่งคนในหมู่บ้านนี้เลือกที่จะปลูกพืชผักสวนครัวและพืชผักนานาชนิดเพื่อส่งขายมีรายได้ทุกวันสมดั่งคำกล่าวที่ว่า “ไม่มีความยากจนในหมู่คนขยัน” จากการลงพื้นที่ของ นายธรรมนูญ แจ่มศรี เกษตรและสหกรณ์จังหวัดพิจิตร เพื่อตรวจเยี่ยมรับฟังปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาของเกษตรกรจึงได้ลงไปที่ บ้านของ นายอุทัย คะระนันท์ อายุ 48 ปี อยู่บ้านเลขที่ 41/3 หมู่ 7 ต.ดงกลาง อ.เมือง จ.พิจิตร ซึ่งเป็นจุดรับซื้อและรวบรวมผลผลิตของชาวบ้านตำบลดงกลางเพื่อส่งขายไปยังตลาดสี่มุมเมือง ซึ่ง นายอุทัย เล่าว่า ตนเองทำหน้าที่เป็นผู้รวบรวมหรือผู้รับซื้อพืชผักทุกชนิดของหมู่บ้าน อาทิ เช่น ชะอม ตำลึง มะเขือทุกประเภท ฝักเพกา ตระไคร้ ใบมะกรูด โหระพา กระเพรา ใบยอ พริกขี้หนู พริกอ่อน หัวปลี กล้วยน้ำว้า ฯลฯ ซึ่งในแต่ละวันจะมีชาวบ้านที่ปลูกพืชผักริมคลองข้าวตอกนำผลผลิตมาส่งให้ตนเพื่อรวบรวมรอพ่อค้าจากตลาดสี่มุมเมืองที่จะเอารถหกล้อมาบรรทุกสินค้าทุกวัน โดยในแต่ละวันจะมีชาวบ้าน 30 - 50 คน นำพืชผักเหล่านั้นมาขายให้ตน ซึ่งในแต่ละวันก็จะใช้เงินประมาณ 3,000 – 5,000 บาท ในการรับซื้อผลผลิต ซึ่งการทำหน้าของ นายอุทัย ที่เป็นผู้รวบรวมผลผลิตก็จะซื้อพืชผักในราคาตรงไปตรงมาตามที่พ่อค้าจากตลาดสี่มุมเมืองกำหนดราคามาในแต่ละวัน ขึ้นตามขึ้น ลงตามลง โดยตนเองในฐานะผู้รวบรวมผลผลิตก็จะได้ค่าบริหารจัดการ 10% จากยอดเงินที่ซื้อผลผลิต ซึ่งในพื้นที่ตำบลดงกลางแห่งนี้มีผู้ที่ทำหน้าที่รวบรวมผลผลิตแบบตนเอง 3-4 ราย ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์รวบรวมผลผลิตมาแล้ว 5 ปี โดยยึดคติที่ว่า “ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน” จึงทำให้มีขาประจำนำผลิตผลมาขายให้ดังกล่าว ในส่วนของ น.ส.วรฤทัย อินทะกะ “ใจ” อายุ 42 ปี อยู่บ้านเลขที่ 41/2 หมู่ 7 ต.ดงกลาง อ.เมือง จ.พิจิตร ซึ่งปลูกพืชผักหลากหลายชนิด ซึ่งวันนี้นำมะระขี้นก บรรทุกใส่รถกระบะจำนวนหลายร้อยกิโลกรัมเพื่อนำมาขายส่งให้กับศูนย์รวบรวมผลผลิตที่บ้านของ นายอุทัย แห่งนี้ เล่าว่า การปลูกพืชผักไม่ต้องลงทุนอะไรมากแต่ต้องมีความขยันก็จะทำให้มีรายได้ทุกวัน ส่วนราคาพืชผักทางการเกษตรยอมรับว่าเอาราคาแน่นอนไม่ได้ โดยราคารับซื้อมะระขี้นกในวันนี้อยู่ที่ กิโลกรัมละ 6 บาท ซึ่งราคารับซื้อขึ้นหรือลงอยู่ที่เทศกาลหรือถ้าเป็นฤดูฝนผลผลิตออกมากก็จะราคาถูก แต่ถ้าเป็นฤดูหนาวหรือหน้าแล้งราคาพืชผักก็จะขยับราคาสูงขึ้นจากเดิม 2- 3 เท่าตัว ยืนยันว่า ทุกวันนี้ชีวิตมีความสุขและมีรายได้ทุกวันถึงแม้จะไม่มากนักแต่ก็พออยู่พอกิน เช่นเดียวกับ นางเอิญ แย้มสัน อยู่บ้านเลขที่ 70/1 หมู่ 9 ต.ดงกลาง อ.เมือง จ.พิจิตร คุณยายวัย 68 ปี ที่เก็บตำลึงใส่ถุงมัดท้ายมอเตอร์ไซด์ นำมาขายให้ที่ศูนย์รวบรวมผลผลิตบ้านนายอุทัย เล่าว่าตนเองตื่นตั้งแต่เช้ามืดประมาณ 6 โมงเช้าถึง 9 โมงเช้า ก็จะใช้เวลาออกเดินเด็ดยอดตำลึงที่ขึ้นอยู่ในสวนกล้วยน้ำว้าของตนเองและของญาติพี่น้อง ตำลึงที่เด็ดมาขายเป็นตำลึงที่เลื้อยขึ้นเองตามธรรมชาติ ช่วงฤดูฝนก็จะแตกยอดอุดมสมบูรณ์เก็บขายได้ทุกวัน แต่ราคารับซื้อตำลึงวันนี้อยู่ที่กำละ 6 บาท ( น้ำหนักประมาณครึ่งกิโลกรัม ) เมื่อได้ผลผลิตมาแล้วก็จะนำมามัดเป็นกำน้ำหนักเฉลี่ยประมาณครึ่งกิโลกรัม ทุกวันก็จะมีรายได้ 100 -200 บาท จากการขายพืชผักดังกล่าว ที่ไม่ต้องลงทุนอะไรเลย ลงทุนแค่เพียงแรงกายเท่านั้น สำหรับราคาพืชผักในช่วงนี้เกษตรกรครวญว่า เนื่องจากเป็นช่วงหน้าฝนพืชผลต่างผลิดอกออกผลงอกงามและมีปริมาณมาก ทำให้ราคาทุกอย่างแทบไม่น่าเชื่อ อาทิเช่น มะระขี้นกราคาเหลือแค่ กก.ละ 6 บาท , หัวปลี กก.ละ 2 บาท , ชะอม กำละ 3 บาท แต่ถ้าเป็นช่วงหน้าหนาวหรือหน้าแล้งก็จะได้ราคาสูงถึงกำละ 10-15 บาท , ฝักเพกาวันนี้ราคา กก.ละ 8 บาท , ใบยอราคา กก.ละ 4-6 บาท , มะเขือกรอบราคา กก.ละ 7 บาท , ตำลึงราคากำละ 6 บาท ( น้ำหนักประมาณครึ่งกิโลกรัม ) ตำบลดงกลางนั้นเคยได้รับรางวัลจากหลายหน่วยงานว่าเป็นหมู่บ้านที่ส่งเสริมการทำการเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงและปลูกพืชผัก ไม้ผล แบบเกษตรอินทรีย์ ที่มีการรณรงค์ให้ ลด ละ เลิก การใช้สารเคมี อีกทั้งเป็นพื้นที่ ที่กล่าวได้ว่าเป็นดินแดนคลองสวยน้ำใส รวมถึงเป็นพื้นที่ Food Bank ที่เป็นแหล่งปลูกพืชผักเป็นอาหารของคนไทยทั้งประเทศที่น่ายกย่องให้เป็นต้นแบบอีกด้วย สำหรับท่านใดที่สนใจอยากจะซื้อพืชผักจากตำบลดงกลางแห่งนี้ หรือสนใจดูวิธีการบริหารจัดการการรวบรวมผลผลิตเพื่อส่งจำหน่ายสามารถแวะไปเยี่ยมชมได้ที่บ้าน นายอุทัย ต.ดงกลาง อ.เมืองพิจิตร โทร 084-8155101

อื่นๆ

  • nppct
  • 12 เม.ย. 2568
  • 508

รองผู้ว่าฯพิจิตร นำทีมกอ.รมน.-ปกครอง-ตำรวจรื้อทุบแหล่งเสื่อมโทรมเกี่ยวข้องยาเสพติดภายในสนามกีฬาด้านหลังสถานศึกษา

วันที่ 11 เมษายน 2568 นางสาวธนียา นัยพินิจ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร มอบให้ นายกิตติพล เวชกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร, พ.อ.สัมฤทธิ์ ฉัตรวัฒนาสกุล รอง ผอ.รมน.จังหวัดพิจิตร , นายรณรงค์ สิทธิเขตกรณ์

อ่านต่อ...
ผู้ว่าฯพิจิตรจัดตลาดนัดโรงสีพบชาวนาเปิดรับซื้อข้าวความชื้น15%ตันละ7,600บาท (9 เม.ย. 2568) เหมืองทองอัคราสนับสนุนทีมฟุตบอลพิจิตรยูไนเต็ดส่งเสริมเยาวชนเล่นกีฬาฟุตบอลเพื่อสุขภาพและต้านยาเสพติด (24 มี.ค. 2568) ชลประทานพิจิตรเข้าตรวจนับอุปกรณ์ประตูระบายน้ำท่าแหแม่น้ำยมเตรียมพร้อมรับโอนเพื่อบริหารจัดการ (24 มี.ค. 2568) ชาวนาเมืองชาละวันขายข้าวนานข้ามปีไม่ได้เงินส่อถูกโกงสภาเกษตรพาร้องทุกข์วอนอัยการสคช.พิจิตร ดำเนินคดี (18 มี.ค. 2568) AIS ร่วมจำหน่าย“วันอาทิตย์”บริการโซลาร์บ้านครบวงจร โดย กัลฟ์1 ที่ AIS Shop ทั่วประเทศ เติมเต็มไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม (17 มี.ค. 2568) AIS ชวนลูกค้ายืนยันตัวตนที่ AIS Shop และจุดบริการทั่วประเทศ เสริมความปลอดภัย อุ่นใจยิ่งกว่า พร้อมลุ้นทองคำกว่า 1.6 ล้านบาท (12 มี.ค. 2568) มีข่าวดีมาบอก! กรมชลประทานเดินหน้าเร่งทำแผนพัฒนาลุ่มน้ำยมตอนบนและตอนล่างครอบคลุมพื้นที่4จังหวัด (1 มี.ค. 2568) กรมชลประทานมั่นใจ ปตร.ท่าแห มีความพร้อมบริหารจัดการน้ำเพื่อช่วยแก้ปัญหาภัยแล้ง-น้ำท่วมให้กับเกษตรกรลุ่มน้ำยม (19 ก.ย. 2567) กรมชลประทานเร่งงานก่อสร้าง ปตร.โพธิ์ประทับช้างเป็นไปตามแผนงานที่วางไว้แล้ว (16 ก.ย. 2567) วินัย ส.ส.พิจิตรเขต2นำทีมแจกถุงยังชีพผู้ประสบภัย10อำเภอ3,084ชุด (15 ต.ค. 2566)