พิจิตรชาวบ้านรวมกลุ่มลดพื้นที่การทำนาหันปลูกพืชผักนานาชนิดมีรายได้เข้ากระเป๋าทุกวันถึงแม้ช่วงนี้ราคาผลผลิตตกต่ำก็เป็นไปตามฤดูกาล

นายธรรมนูญ แจ่มศรี เกษตรและสหกรณ์จังหวัดพิจิตร เปิดเผยถึงนโยบายของ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่มุ่งมั่นส่งเสริมให้เกษตรกรทำการเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง มีรายได้ มีความเป็นอยู่แบบพอกินพอใช้ ดำเนินชีวิตแบบเรียบง่าย มีสุขภาพกายและสุขภาพใจที่แข็งแรง ดังนั้นการทำการเกษตรให้มีความสุขกับอาชีพที่ทำอยู่จึงนับได้ว่าเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะที่ ต.ดงกลาง อ.เมืองพิจิตร ซึ่งเป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์มีคลองข้าวตอกที่ถือเป็นเส้นเลือดใหญ่ในการสร้างความชุ่มชื้น ให้กับพื้นที่ในการใช้น้ำเพื่อทำการเกษตร ซึ่งคนในหมู่บ้านนี้เลือกที่จะปลูกพืชผักสวนครัวและพืชผักนานาชนิดเพื่อส่งขายมีรายได้ทุกวันสมดั่งคำกล่าวที่ว่า “ไม่มีความยากจนในหมู่คนขยัน” จากการลงพื้นที่ของ นายธรรมนูญ แจ่มศรี เกษตรและสหกรณ์จังหวัดพิจิตร เพื่อตรวจเยี่ยมรับฟังปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาของเกษตรกรจึงได้ลงไปที่ บ้านของ นายอุทัย คะระนันท์ อายุ 48 ปี อยู่บ้านเลขที่ 41/3 หมู่ 7 ต.ดงกลาง อ.เมือง จ.พิจิตร ซึ่งเป็นจุดรับซื้อและรวบรวมผลผลิตของชาวบ้านตำบลดงกลางเพื่อส่งขายไปยังตลาดสี่มุมเมือง ซึ่ง นายอุทัย เล่าว่า ตนเองทำหน้าที่เป็นผู้รวบรวมหรือผู้รับซื้อพืชผักทุกชนิดของหมู่บ้าน อาทิ เช่น ชะอม ตำลึง มะเขือทุกประเภท ฝักเพกา ตระไคร้ ใบมะกรูด โหระพา กระเพรา ใบยอ พริกขี้หนู พริกอ่อน หัวปลี กล้วยน้ำว้า ฯลฯ ซึ่งในแต่ละวันจะมีชาวบ้านที่ปลูกพืชผักริมคลองข้าวตอกนำผลผลิตมาส่งให้ตนเพื่อรวบรวมรอพ่อค้าจากตลาดสี่มุมเมืองที่จะเอารถหกล้อมาบรรทุกสินค้าทุกวัน โดยในแต่ละวันจะมีชาวบ้าน 30 - 50 คน นำพืชผักเหล่านั้นมาขายให้ตน ซึ่งในแต่ละวันก็จะใช้เงินประมาณ 3,000 – 5,000 บาท ในการรับซื้อผลผลิต ซึ่งการทำหน้าของ นายอุทัย ที่เป็นผู้รวบรวมผลผลิตก็จะซื้อพืชผักในราคาตรงไปตรงมาตามที่พ่อค้าจากตลาดสี่มุมเมืองกำหนดราคามาในแต่ละวัน ขึ้นตามขึ้น ลงตามลง โดยตนเองในฐานะผู้รวบรวมผลผลิตก็จะได้ค่าบริหารจัดการ 10% จากยอดเงินที่ซื้อผลผลิต ซึ่งในพื้นที่ตำบลดงกลางแห่งนี้มีผู้ที่ทำหน้าที่รวบรวมผลผลิตแบบตนเอง 3-4 ราย ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์รวบรวมผลผลิตมาแล้ว 5 ปี โดยยึดคติที่ว่า “ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน” จึงทำให้มีขาประจำนำผลิตผลมาขายให้ดังกล่าว ในส่วนของ น.ส.วรฤทัย อินทะกะ “ใจ” อายุ 42 ปี อยู่บ้านเลขที่ 41/2 หมู่ 7 ต.ดงกลาง อ.เมือง จ.พิจิตร ซึ่งปลูกพืชผักหลากหลายชนิด ซึ่งวันนี้นำมะระขี้นก บรรทุกใส่รถกระบะจำนวนหลายร้อยกิโลกรัมเพื่อนำมาขายส่งให้กับศูนย์รวบรวมผลผลิตที่บ้านของ นายอุทัย แห่งนี้ เล่าว่า การปลูกพืชผักไม่ต้องลงทุนอะไรมากแต่ต้องมีความขยันก็จะทำให้มีรายได้ทุกวัน ส่วนราคาพืชผักทางการเกษตรยอมรับว่าเอาราคาแน่นอนไม่ได้ โดยราคารับซื้อมะระขี้นกในวันนี้อยู่ที่ กิโลกรัมละ 6 บาท ซึ่งราคารับซื้อขึ้นหรือลงอยู่ที่เทศกาลหรือถ้าเป็นฤดูฝนผลผลิตออกมากก็จะราคาถูก แต่ถ้าเป็นฤดูหนาวหรือหน้าแล้งราคาพืชผักก็จะขยับราคาสูงขึ้นจากเดิม 2- 3 เท่าตัว ยืนยันว่า ทุกวันนี้ชีวิตมีความสุขและมีรายได้ทุกวันถึงแม้จะไม่มากนักแต่ก็พออยู่พอกิน เช่นเดียวกับ นางเอิญ แย้มสัน อยู่บ้านเลขที่ 70/1 หมู่ 9 ต.ดงกลาง อ.เมือง จ.พิจิตร คุณยายวัย 68 ปี ที่เก็บตำลึงใส่ถุงมัดท้ายมอเตอร์ไซด์ นำมาขายให้ที่ศูนย์รวบรวมผลผลิตบ้านนายอุทัย เล่าว่าตนเองตื่นตั้งแต่เช้ามืดประมาณ 6 โมงเช้าถึง 9 โมงเช้า ก็จะใช้เวลาออกเดินเด็ดยอดตำลึงที่ขึ้นอยู่ในสวนกล้วยน้ำว้าของตนเองและของญาติพี่น้อง ตำลึงที่เด็ดมาขายเป็นตำลึงที่เลื้อยขึ้นเองตามธรรมชาติ ช่วงฤดูฝนก็จะแตกยอดอุดมสมบูรณ์เก็บขายได้ทุกวัน แต่ราคารับซื้อตำลึงวันนี้อยู่ที่กำละ 6 บาท ( น้ำหนักประมาณครึ่งกิโลกรัม ) เมื่อได้ผลผลิตมาแล้วก็จะนำมามัดเป็นกำน้ำหนักเฉลี่ยประมาณครึ่งกิโลกรัม ทุกวันก็จะมีรายได้ 100 -200 บาท จากการขายพืชผักดังกล่าว ที่ไม่ต้องลงทุนอะไรเลย ลงทุนแค่เพียงแรงกายเท่านั้น สำหรับราคาพืชผักในช่วงนี้เกษตรกรครวญว่า เนื่องจากเป็นช่วงหน้าฝนพืชผลต่างผลิดอกออกผลงอกงามและมีปริมาณมาก ทำให้ราคาทุกอย่างแทบไม่น่าเชื่อ อาทิเช่น มะระขี้นกราคาเหลือแค่ กก.ละ 6 บาท , หัวปลี กก.ละ 2 บาท , ชะอม กำละ 3 บาท แต่ถ้าเป็นช่วงหน้าหนาวหรือหน้าแล้งก็จะได้ราคาสูงถึงกำละ 10-15 บาท , ฝักเพกาวันนี้ราคา กก.ละ 8 บาท , ใบยอราคา กก.ละ 4-6 บาท , มะเขือกรอบราคา กก.ละ 7 บาท , ตำลึงราคากำละ 6 บาท ( น้ำหนักประมาณครึ่งกิโลกรัม ) ตำบลดงกลางนั้นเคยได้รับรางวัลจากหลายหน่วยงานว่าเป็นหมู่บ้านที่ส่งเสริมการทำการเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงและปลูกพืชผัก ไม้ผล แบบเกษตรอินทรีย์ ที่มีการรณรงค์ให้ ลด ละ เลิก การใช้สารเคมี อีกทั้งเป็นพื้นที่ ที่กล่าวได้ว่าเป็นดินแดนคลองสวยน้ำใส รวมถึงเป็นพื้นที่ Food Bank ที่เป็นแหล่งปลูกพืชผักเป็นอาหารของคนไทยทั้งประเทศที่น่ายกย่องให้เป็นต้นแบบอีกด้วย สำหรับท่านใดที่สนใจอยากจะซื้อพืชผักจากตำบลดงกลางแห่งนี้ หรือสนใจดูวิธีการบริหารจัดการการรวบรวมผลผลิตเพื่อส่งจำหน่ายสามารถแวะไปเยี่ยมชมได้ที่บ้าน นายอุทัย ต.ดงกลาง อ.เมืองพิจิตร โทร 084-8155101

อื่นๆ

  • nppct
  • 19 ก.ย. 2567
  • 307

กรมชลประทานมั่นใจ ปตร.ท่าแห มีความพร้อมบริหารจัดการน้ำเพื่อช่วยแก้ปัญหาภัยแล้ง-น้ำท่วมให้กับเกษตรกรลุ่มน้ำยม

วันที่ 18 กันยายน 2567 ความคืบหน้าการก่อสร้างประตูระบายน้ำท่าแห ของสำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 3 กองพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลาง กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ ต.กำแพงดิน อ.สามง่าม จ.พิจิตร

อ่านต่อ...
เหมืองทองอัครามอบอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้ 5โรงพยาบาลในพิจิตร เพชรบูรณ์ พิษณุโลก ใช้สู้โควิด (31 ก.ค. 2564) ไม่ลืมบ้านเกิด! ไพฑูรย์ แก้วทอง มอบเงินช่วย รพ.สนามในพิจิตร (20 ก.ค. 2564) จบป.ตรีเจอพิษโควิดบอกลาเมืองกรุงกลับพิจิตรยึดอาชีพทำซุ้มไม้ไผ่พ่อทำลูกขายออนไลน์รายได้ปัง (25 มิ.ย. 2564) ผู้ว่าฯพิจิตรร่วมกับ นราพัฒน์ ผช.รมต.เกษตรปล่อยพันธุ์ปลา8แสนตัวเฉลิมพระเกียรติ (22 มิ.ย. 2564) กรมชลประทานทุ่มงบ580ล้านบาทสร้างประตูระบายน้ำในแม่น้ำยมพื้นที่พิจิตร (14 มิ.ย. 2564) พิจิตรฝนทิ้งช่วงนาข้าวนับหมื่นไร่จ่อเข้าขั้นวิกฤตชาวนาวิงวอนชลประทานช่วยด่วน (8 มิ.ย. 2564) พิจิตรหนุ่ม ม.6ลูกชาวสวนปลูกแคคตัสไลฟ์สดขายได้เงินล้าน (1 มิ.ย. 2564) นายก อบต.โพธิ์ประทับช้าง ปลุกพลังชาวบ้านฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อป้องกันโควิด (31 พ.ค. 2564) อบจ.พิจิตรเล็งหนุนซ่อมคลองส่งน้ำตำบลเนินมะกอกช่วยชาวนา3พันไร่ (15 พ.ค. 2564) พิจิตรโควิดระบาดต้องปิดสำนักงาน3แห่งข้าราชการ-พนักงานเกือบร้อยส่งเข้ากักกัน14วัน (8 พ.ค. 2564)